ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ฎีกาภาษี รายจ่ายในการผลิตโทรทัศน์ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือไม่

 

                                                                                            ฎีกาภาษี

รายจ่ายในการผลิตโทรทัศน์ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน(Capital Expenditure)หรือไม่

 

                                                                      คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2549

  บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) โจทก์

  กรมสรรพากร กับพวก จำเลย

ข้อเท็จจริง

เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 และรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2544 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2539 พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็น เงิน 135,072,436 บาท กับมีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิรอบระยะเวลา บัญชีปี 2540 จากที่โจทก์แสดงผลขาดทุนสุทธิ ตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ไว้จำนวน 142,422,941.95 บาท เป็นกำไรสุทธิจำนวน 6,769,182.89 บาท

โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัย ให้ลดภาษีตามการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2539 คงเหลือเรียกเก็บภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็นเงิน 35,711,419.93 บาท กับวินิจฉัยให้ปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 ของโจทก์เป็นขาดทุนสุทธิ 77,478,273.69 บาท โดยให้เหตุผลว่ารายจ่ายที่ใช้ผลิตรายการโทรทัศน์ของโจทก์เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร จึงปรับปรุงค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาให้

โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงยื่นฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง ขอให้เพิกถอนการประเมินและการแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของเจ้าพนักงานประเมินกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้แก้ไขการประเมินและการแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิ

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

คำวินิจฉัยศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่เพียงประเด็นเดียวว่า ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์ของโจทก์ เช่น รายการบ้าน เลขที่ 5 รายการเกมโชว์ และรายการวาไรตี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 จำนวน 255,947,850.67 บาท และสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 จำนวน 302,588,706.02 บาท เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) หรือไม่

ที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่า เทปรายการโทรทัศน์ที่โจทก์ผลิต เช่น รายการบ้านเลขที่ 5 รายการวาไรตี้ และรายการเกมโชว์ เมื่อโจทก์ นำออกอากาศไปแล้วเทปรายการดังกล่าวยัง เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์มีสิทธินำไปหาประโยชน์ก่อให้เกิดรายได้อีก ถือได้ว่าค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) นั้น เห็นว่า นายโฆษิต สุวินิจจิต กรรมการของโจทก์เบิกความว่า แม้เทปรายการโทรทัศน์ดังกล่าวเมื่อได้ออกอากาศไปแล้วยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ก็ตาม แต่โจทก์ไม่เคยนำมาออกอากาศซ้ำอีก เพราะไม่ได้รับอนุญาตจากทางสถานีโทรทัศน์ที่โจทก์เช่าเวลาออกอากาศไว้ และไม่เคยนำเทปรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศไปแล้วไปขายต่อให้ผู้ใด โจทก์จะเก็บม้วนเทปรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศไปแล้วไว้ไม่เกิน 6 เดือน เพื่อเป็นหลักฐานในการเก็บค่าโฆษณาจากลูกค้า หลังจากนั้นจะนำไปอัดรายการอื่นๆ ซ้ำลงไป รายการเดิมจึงหมดไป ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์แต่ละรายการทั้งหมดจึงเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการเพื่อหากำไรในรอบระยะเวลาบัญชีเดียว ไม่เป็นค่าใช้จ่ายอันมีผลก่อให้เกิดรายได้เป็นการถาวรต่อธุรกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในปีต่อไป จึงมิใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน

ส่วนจำเลยมีนายกรวีร์ อินทวงศ์ เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ส่วนตรวจสอบภาษีอากร 2 ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ เบิกความว่า พยานไม่ได้ตรวจสอบรายการโทรทัศน์ที่โจทก์นำออกอากาศแล้วว่าได้นำไปออกอากาศซ้ำหรือไม่ แต่ได้ตรวจสอบว่าเทปรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศแล้วโจทก์ได้นำไปขายหรือไม่ ผลการตรวจสอบไม่พบว่าโจทก์ได้ขายเทปดังกล่าวไป ส่วนที่โจทก์อ้างว่าได้นำเทปรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศแล้วไปอัดซ้ำนั้น จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ ไม่ได้ตรวจสอบ คำเบิกความของนายกรวีร์ดังกล่าวจึงไม่ยืนยันว่าเทปรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศไปแล้วโจทก์ยังคงเก็บไว้ใช้ประโยชน์เป็นทุนรอนของโจทก์ต่อไปได้อีก

นอกจากนี้ยังปรากฏจากบันทึกรายงานของเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 คือ นายช. นันท์ เพ็ชญไพศิษฐ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารภาษี ธุรกิจขนาดใหญ่ ได้สรุปความเห็นเรื่องนี้ไว้ตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 336 ถึง 338 กับนางทัศนีย์ เหลืองเรืองรอง เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 8 ว. ทำความเห็นไว้ตามเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 197 ถึง 218 สรุปความทำนองเดียวกันว่า รายการโทรทัศน์ เช่น รายการบ้านเลขที่ 5 รายการวาไรตี้ รายการทอล์คโชว์ บางรายการเป็นรายการออกอากาศสด บางรายการบันทึกเทปไว้แล้วจึงนำไปออกอากาศ ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการดังกล่าวเป็นรายจ่ายเพื่อการออกอากาศเพียงครั้งเดียว เทปบันทึกรายการโทรทัศน์มิได้เก็บเอาไว้ทำประโยชน์ต่อไป เนื่อง จากขายไม่ได้และนำไปออกอากาศซ้ำอีกไม่ได้ และรายได้ก็รับจากสปอนเซอร์เพียงครั้งแรกที่ออกอากาศเท่านั้น ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์จึงไม่ใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน บันทึกของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทั้งสองคนดังกล่าวจึงสนับสนุนให้เห็นได้ว่า เทปรายการโทรทัศน์ที่โจทก์ผลิตเองและออกอากาศไปแล้วนั้น โจทก์ไม่ได้เก็บรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในการหารายได้อันจะถือเป็นทรัพย์สินที่ก่อมูลค่าแก่กิจการอีกต่อไป ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์แต่ละครั้งจึงมิใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามา ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

ข้อคิดเห็น

  เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2735/2532 (บริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด โจทก์ กรมสรรพากร กับพวก จำเลย) วินิจฉัยว่า

                      

"โจทก์เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ ซื้อภาพยนตร์ จาก ต่างประเทศ และเป็นผู้จัดพิมพ์ฟิล์มภาพยนตร์ ดังกล่าวขึ้นมาใหม่เป็นหลายชุด ภาพยนตร์หรือฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวย่อมเป็นทรัพย์สินของโจทก์ หาใช่เป็นสินค้าที่มีลักษณะเป็นการขายภาพแต่อย่างใดไม่ ดังนั้นรายจ่ายของโจทก์ในการสร้างภาพยนตร์ ซื้อภาพยนตร์มาจากต่างประเทศและพิมพ์ฟิล์มภาพยนตร์จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือเป็นรายจ่ายในการขยายออกซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ ต้องห้าม มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)                  

  นอกจากนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2534 ประชุมใหญ่ (บริษัท โคลีเซี่ยมโปรดักชั่น จำกัด โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย) วินิจฉัยว่า "เมื่อบริษัทโจทก์สร้างภาพยนตร์เสร็จแล้ว โจทก์ก็สามารถนำภาพยนตร์ดังกล่าวไปฉายหาผลประโยชน์ได้ทั่วประเทศ แม้ฟิล์มภาพยนตร์ที่โจทก์ฉายหารายได้แล้วครั้งแรกหรือที่เรียกว่ากากหนัง จะมีค่าหรือราคาลดน้อยลงไป แต่ภาพยนตร์หรือฟิล์มภาพยนตร์นั้นยังคงเป็น ทรัพย์สินและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ เพราะโจทก์ยังสามารถนำออกฉายหาผลประโยชน์ให้โจทก์หรือขายขาดให้บุคคลอื่นต่อไปได้อีกหาได้เสื่อมค่าหมดไปดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ โจทก์จะนำภาพยนตร์หรือฟิล์มภาพยนตร์ของโจทก์ไปเปรียบเทียบกับการผลิตสินค้าทั่วไปและถือว่าภาพยนตร์หรือฟิล์มภาพยนตร์ของโจทก์เป็นสินค้าของโจทก์ด้วยไม่ได้

             

เพราะวัตถุประสงค์ที่โจทก์สร้างภาพยนตร์ขึ้นมาก็เพื่อนำออกฉายหารายได้จากผู้เข้าชมซึ่งมาหาความบันเทิง ผู้ชมภาพยนตร์เพียงแต่ได้ชมภาพและฟังเสียงของภาพยนตร์ชั่วระยะเวลาอันสั้น โดยเสียเงินค่าตอบแทน หาได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในภาพยนตร์ นั้นแต่ประการใด โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในภาพยนตร์หรือฟิล์มภาพยนตร์นั้นอยู่เช่นเดิมกิจการของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะซื้อขายสินค้า ฉะนั้น รายจ่ายต่างๆ ที่โจทก์เสียไปเนื่องจากการสร้างภาพยนตร์ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5)"

คำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับวินิจฉัยเหมือนกันว่ารายจ่ายในการสร้างภาพยนตร์เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) แต่คดีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ารายจ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์ มิใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ไม่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) เหตุที่ศาลฎีกาวินิจฉัยเช่นนี้เนื่องจากคดีนี้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเทปรายการโทรทัศน์ที่โจทก์ผลิตขึ้นเองนั้นเมื่อออกอากาศไปแล้ว โจทก์ไม่ได้เก็บรักษาไว้เพื่อที่จะนำออกฉายหารายได้อีก เพราะขายไม่ได้และนำไปออกอากาศซ้ำอีกไม่ได้ และรายได้ก็ได้รับจากสปอนเซอร์เพียงครั้งเดียว ต่างกับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าวที่ฟิล์มภาพยนตร์ที่เกิดจากการสร้างภาพยนตร์ของโจทก์ โจทก์จะนำออกจ่ายหารายได้หรือให้เช่ากี่ครั้งกี่รอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ และจะขายให้ผู้อื่นก็ได้ รายจ่ายในการสร้างภาพยนตร์จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ฉะนั้น คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้จึงมิได้เป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยกลับคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับแต่อย่างใด

หลักในการพิจารณาว่ารายจ่ายใดเป็น รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน (Capital Expenditure) มี 3 หลักคือ หลักกรรมสิทธิ์ (Ownership Principle) หลักประโยชน์ (Benefit Principle) และหลักสาระสำคัญหรือหลักความมีนัยสำคัญ (Materiality Principle)

หลักกรรมสิทธิ์ คือ หลักที่ว่ารายจ่ายใดทำให้กิจการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน รายจ่ายนั้นถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2509, 168/2521, 3381/2524, 760/2534) ไม่ว่าอายุการใช้งานนั้นจะเกิน 1 ปีหรือไม่ก็ตาม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2537)

ส่วนหลักประโยชน์ คือ หลักที่ว่ารายจ่ายใดทำให้กิจการได้รับประโยชน์เกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี รายจ่ายนั้นถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2537, 4498/2543)

สำหรับหลักสาระสำคัญหรือหลักความมีนัยสำคัญ คือ หลักที่มาจากข้อสมมุติฐานขั้นพื้นฐานทางบัญชี (Basic Accounting Concept) ที่ว่า ในการพิจารณาว่าควรจะเปิดเผยข้อมูลอะไรบ้างนั้น ควรที่จะพิจารณาเปิดเผยเฉพาะ ข้อมูลสำคัญๆ ที่จะมีผลกระทบจากการตัดสินใจเท่านั้น ข้อมูลที่ไม่มีความสำคัญไม่ควรจะเปิดเผย เพราะจะทำให้สาระสำคัญมีความชัดเจนน้อยลง เช่น กิจการซื้อไม้แขวนเสื้อ 100 บาท จะไม่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน แม้จ่ายเงินไปแล้วจะทำให้กิจการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ใน ไม้แขวนเสื้อหรือไม้แขวนเสื้อนั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการเกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีก็ตาม แต่ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไร (Revenue Expenditure) เพราะเงินที่จ่ายไปนั้นมีจำนวนเล็กน้อย ซึ่งบางกิจการหากต่ำกว่า 500 บาท ไม่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน แต่ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไร

คดีนี้ไม่อาจนำหลักสาระสำคัญหรือหลักความมีนัยสำคัญมาพิจารณา เพราะรายจ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์มิใช่เงินจำนวนเล็กน้อย คงเหลือแต่หลักกรรมสิทธิ์และหลักประโยชน์ที่จะนำมาพิจารณา

หากนำหลักกรรมสิทธิ์มาพิจารณา รายจ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์ย่อมถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน เพราะทำให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในเทปรายการโทรทัศน์เหมือนกับฟิล์มภาพยนตร์ตามคำพิพากษาทั้งสองฉบับดังกล่าว

แต่ถ้านำหลักประโยชน์มาพิจารณา รายจ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์จะไม่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน แต่จะถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไร เพราะเทปรายการโทรทัศน์ที่เกิดจากการผลิตรายการนั้นใช้ประโยชน์ได้เพียงครั้งเดียว มิได้ก่อให้เกิดประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

เมื่อนำหลักกรรมสิทธิ์และหลักประโยชน์มาพิจารณา ผลลัพธ์แตกต่างกัน กรณีนี้ก็ควรจะใช้หลักประโยชน์มากกว่า เพราะหากนำหลักกรรมสิทธิ์มาใช้จะเป็นผลร้ายแก่โจทก์ซึ่งเป็น ผู้เสียภาษี เนื่องจากโจทก์จะนำรายจ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์มาหักเป็นรายจ่ายทั้งหมดในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายจ่ายไม่ได้ จะต้องทยอยหักในรูปของค่าเสื่อมราคาของเทปรายการโทรทัศน์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (2) ประกอบพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2537 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว

แต่ถ้า นำหลักประโยชน์มาใช้จะเป็นผลดีแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียภาษี เนื่องจากโจทก์มีสิทธินำรายจ่ายในการผลิตรายการโทรทัศน์ทั้งหมดมาหักเป็น รายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายจ่ายได้ เมื่อปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากรซึ่งมีหลักอยู่ว่าหากมีข้อสงสัยในการตีความหรือใช้บังคับก็ต้องตีความหรือใช้บังคับ ไปในทางที่เป็นผลดีแก่ผู้เสียภาษียิ่งกว่าเป็น ผลร้าย ฉะนั้น ผู้เขียนจึงเห็นด้วยกับคำพิพากษา

โดย : ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม และ ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม

ที่มา : สรรพากรสาส์น ฉบับเดือนกันยายน 2551




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี