ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



สิทธิในหนี้หลังการชำระบัญชี

 

 

                                                                      สิทธิในหนี้หลังการชำระบัญชี

 

   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องเลิกกิจการด้วยเหตุผลทางการบริหารหรือธุรกิจ เช่น โดยการควบเข้าด้วยกันกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น ตามมาตรา 73 หรือ

   โอนกิจการระหว่างนิติบุคคลด้วยกันตามมาตรา 74 แนว แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งบัญญัติให้บริษัทหรือนิติบุคคลที่เข้าควบกันหรือโอนไปนั้น ต้องเลิกกิจการด้วยการจดทะเบียนเลิกกิจการ หรือรวมถึงในกรณีที่ บริษัทหรือนิติบุคคลที่ต้องการเลิกกิจการตามมาตรา 1236 หรือ ตามมาตรา 1237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ก็ต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนเลิกต่อกระทรวงพาณิชย์ภายใน 14 วันหลังจากที่มีมติประชุมผู้ถือหุ้นให้เลิกกิจการ และในขณะเดียวกัน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องแจ้งต่อเจ้าหนี้ เป็นลายลักษณ์อักษรให้มาดำเนินการเรียกร้องหนี้สินที่มีกับบริษัท  หากบริษัทเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเลิกเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรด้วยที่ตนเอง ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการไว้ภายใน 15 วัน นับแต่ได้เลิกกิจการด้วย

   การเลิกกิจการตามกรณีข้างต้น บริษัทต้องมีการชำระบัญชีภายในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการควบหรือโอนกิจการหรือเลิกกิจการที่ในระหว่างที่บริษัท ชำระบัญชียังไม่เสร็จสิ้นก็ยังคงถือว่าบริษัทนั้น ยังคงตั้งอยู่ (มาตรา 1249 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

   ในการชำระบัญชี บริษัทต้องแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ซึ่งตามกรณีเลิกนอกจากล้มละลาย ผู้ชำระบัญชีก็คือ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหรือกรรมการของบริษัท เว้นแต่ข้อสัญญาหรือข้อบังคับของบริษัท จะกำหนดเป็นอย่างอื่น (มาตรา 1251 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

              

   หน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1250  แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ บัญญัติว่าคือ "ชำระสะสางการงานของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้เสร็จสิ้นไป กับจัดการใช้หนี้เงิน และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น" จะเห็นได้ว่า หน้าที่ของผู้ชำระบัญชีหลังจากที่บริษัท ได้จดทะเบียนเลิกแล้วนั้น คือ เป็นธุระจัดการงานทุกเรื่องทุกอย่างของบริษัท รวมทั้งเรื่องหนี้สิน ทรัพย์สิน ให้เรียบร้อยก่อนเสร็จสิ้นการชำระบัญชี เมื่อได้มีการจัดการเรื่องหนี้สิน ทรัพย์สิน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว กระทรวงพาณิชย์จึงจะอนุมัติให้มีการจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชี และนั่นหมายความว่า สถานภาพความเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ยุติลงโดยสมบูรณ์แล้ว

   ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือ ในระหว่างดำเนินการชำระบัญชี หากบริษัทมีสถานะเป็นเจ้าหนี้โดยมีลูกหนี้ที่เกิดขึ้นก่อน การจดทะเบียนเลิกกิจการและลูกหนี้รายนั้นยังคงค้างชำระหนี้นั้นอยู่ เมื่อได้หากมีการจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีแล้ว คำถามคือ บริษัทจะยังคงมีสิทธิทวงถามหรือเรียกร้องในหนี้จำนวนนั้นได้อยู่หรือไม่ คำตอบ คือ ไม่ เนื่องจากเมื่อมีการเสร็จสิ้นการชำระบัญชีแล้วก็ถือว่า สิ้นสภาพของนิติบุคคลแล้ว บริษัทที่ชำระบัญชีแล้วนั้น จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในหนี้อีกต่อไป ขอให้พิจารณาตัวอย่าง ในหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค  0706/ พ/ 10214  ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2547

ข้อเท็จจริง

   บริษัท ก. ยื่นขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีพฤษภาคมและกันยายน 2544  แต่ยังไม่ได้รับคืนบริษัท ได้จดทะเบียนเลิกกิจการ เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2544  และเสร็จสิ้นการชำระบัญชี  เมื่อ 26 มีนาคม 2545 ต่อมากรมสรรพากรปฏิเสธ ได้แจ้งการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขอคืนไว้ให้แก่ บริษัทโดยบริษัทได้รับหนังสือแจ้ง เมื่อ 26 มกราคม 2546 (หลังจากเสร็จสิ้นชำระบัญชี 10 เดือน) ผู้ชำระบัญชีได้ยื่นขอรับเงินภาษีคืนแต่กรมสรรพากรปฏิเสธการคืนเงินภาษี จำนวนนั้น

แนววินิจฉัย

   จากการที่บริษัทได้เสร็จสิ้นการชำระบัญชี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2545 จึงถือได้ว่า บริษัทได้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลแล้ว นับตั้งแต่วันเสร็จสิ้นการชำระบัญชีดังกล่าว กรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ต้องชำระสะสาง การงานของบริษัทให้เสร็จสิ้นตามหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1250 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

   ในการได้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ แต่ผู้ชำระบัญชีไม่ได้กระทำการงานให้แล้วเสร็จก่อนชำระบัญชีจึงถือว่า ได้สละการใช้สิทธินั้น ดังนั้น เมื่อบริษัท ก. โดยผู้ชำระบัญชีได้ยื่นขอรับเงินคืน (จากการอนุมัติของกรมสรรพากร) จากสำนักงานสรรพากรหลังสิ้นสภาพนิติบุคคลแล้ว กรมสรรพากรจึงไม่อาจคืนเงินภาษี (ที่อนุมัติแล้ว) ให้แก่บริษัทได้

   เป็นที่น่าสังเกตว่า กรณีนี้ หากพิจารณาแล้ว การคืนเงินภาษีนั้น ขั้นตอนดำเนินการพิจารณาอำนาจการอนุมัติขึ้นอยู่กับกรมสรรพากร แม้ผู้ชำระบัญชีจะพยายามทำตามหน้าที่ตามมาตรา 1250 อย่างไร ก็ไม่มีอำนาจที่จะไปมีอิทธิพลหรือบีบบังคับให้กรมสรรพากรคืนเงินภายในเวลาที่ผู้ชำระบัญชีต้องการได้ เมื่อกรมสรรพากรได้รับรู้การชำระบัญชี แต่ไม่สามารถดำเนินการคืนให้แก่บริษัทก่อนการเสร็จสิ้นชำระบัญชีได้ และกรมสรรพากรก็ไม่ได้ระบุสาเหตุของการคืนเงินล่าช้าว่าเกิดจากสาเหตุใด ดังนั้น หากไม่ใช่เพราะบริษัทไม่ได้ให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่ในระหว่างการตรวจสอบเพื่อคืนเงินภาษีแล้ว (เช่นการมอบหลักฐานเอกสาร) หรือจากสาเหตุอื่นการที่กรมสรรพากรยกเอาความบกพร่องของหน้าที่ผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1250 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาเป็นเหตุจนไม่สามารถคืนเงินได้ เนื่องจากผลของการสิ้นสภาพนิติบุคคลก็อาจเป็นการไม่ยุติธรรมแก่ผู้เสียภาษีเพราะกรมสรรพากรอาจคำนึงถึงเฉพาะผลทางกฎหมายโดยไม่ได้นำองค์ประกอบของเหตุมาพิจารณาด้วยที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากบริษัทหรือไม่ดังนั้น ด้วยความเคารพจึงเห็นว่าอาจไม่เป็นธรรมกับผู้เสียภาษีที่สำคัญอาจเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อระบบของกรมสรรพากรเองด้วย

 

โดย : สุทธิพงศ์ ศรีสะอาด   ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  16 มิถุนายน 2548




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี