ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ปัญหาภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าจ้างทำของ

 

                                                  ปัญหาภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับค่าจ้างทำของ

 

  ขอนำประเด็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นมาปุจฉา - วิสัชนา เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานทางด้านภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ปุจฉา กรณีบริษัทฯ ตกลงจ้างเหมาผู้รับจ้างรายหนึ่ง ให้สร้างประตูน้ำและประตูน้ำทิ้งบ่อเลี้ยงกุ้ง  โดยตกลงแยกเป็นสัญญาจ้างเหมาแรงงานชุดหนึ่ง และสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างอีกชุดหนึ่ง บริษัทฯ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร

              

วิสัชนา กรณีนี้กรมสรรพากรวินิจฉัยว่า สัญญาจ้างก่อสร้างดังกล่าว ถือเป็นสัญญาจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินได้ที่เป็นค่าจ้างแรงงานและค่าซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างรวมกัน  ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/5940 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2532)

ปุจฉา กรณีบริษัทฯ ได้ทำสัญญารับเหมาช่วงสร้างท่อเหล็กส่งน้ำ ตามสัญญารับเหมาช่วงดังกล่าวบริษัทฯ ได้รับเงินเงินล่วงหน้าในอัตราร้อยละ 15 ของค่าจ้าง ซึ่งบริษัทฯ ได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แล้ว  และเมื่อบริษัทส่งมอบงานในแต่ละงวด บริษัทผู้ว่าจ้างจะหักเงินล่วงหน้า และเงินยึดหน่วงตามอัตราที่กำหนดออกจากมูลค่าของงานที่ส่งมอบในแต่ละงวด มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร

วิสัชนา เนื่องจากเงินค่าจ้างล่วงหน้าที่บริษัทฯ ได้รับจากบริษัทผู้ว่าจ้างนั้น เป็นเงินที่ได้รับมาโดยมีเงื่อนไขที่จะต้องชำระคืนให้แก่บริษัทผู้ว่าจ้าง โดยการนำมาหักออกจากค่าจ้างในแต่ละงวด เงินค่าจ้างล่วง หน้าดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของบริษัทฯ เมื่อบริษัทฯ ได้รับ จึงไม่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

   สำหรับเงินยึดหน่วง (Retention) ที่บริษัทผู้ว่าจ้างหักออกจากค่าจ้างในแต่ละงวดนั้น  เป็นเพียงเงินที่บริษัทผู้ว่าจ้างหักไว้เป็นประกันตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น กรณีจึงยังถือว่าบริษัทฯ ได้รับค่าจ้างเต็มตามจำนวนมูลค่าของงานที่ส่งมอบในแต่ละงวด ดังนั้น เมื่อบริษัทผู้ว่าจ้างชำระค่าจ้างในแต่ละงวด โดยหักเงินค่าจ้างล่วงหน้าและเงินยึดหน่วงตามอัตราที่กำหนดในสัญญาออกก่อนก็ตาม กรณีดังกล่าวถือได้ว่าบริษัทฯ ได้รับค่าจ้างเต็มตามจำนวนมูลค่าของงานที่ส่งมอบ บริษัทฯ จึงต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ไว้จากยอดเต็มของมูลค่างานที่ส่งมอบ โดยต่อมาเมื่อบริษัทฯ ได้รับเงินยึดหน่วงคืนจากบริษัทผู้ว่าจ้าง บริษัทฯ จะไม่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย อีกแต่อย่างใด (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/258 ลงวันที่ 5 มกราคม 2531)

ปุจฉา ห้างฯ ประกอบกิจการค้าขายสินค้าสำเร็จรูป ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปในลักษณะเดิมอันเป็นการซื้อขายสินค้าในลักษณะซื้อมาขายไป และได้มีการรับจ้างทำแบบฟอร์มตามคำสั่งของลูกค้า โดยที่ห้างฯ ไปสั่งให้โรงพิมพ์จัดทำให้ตามที่ลูกค้าสั่ง มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร

วิสัชนา กรณีห้างฯ ประกอบกิจการค้าขายสินค้าสำเร็จรูป ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปในลักษณะเดิมอันเป็นการซื้อขายสินค้าในลักษณะซื้อมาขายไป จึงไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการรับจ้างทำแบบฟอร์มตามคำสั่งของลูกค้า โดยที่ห้างฯ ไปสั่งให้โรงพิมพ์จัดทำให้ตามที่ลูกค้าสั่ง แม้ว่าห้างฯ ไม่มีโรงพิมพ์ของตนเองก็ตาม  ถือว่าห้างฯ เป็นผู้ประกอบการรับจ้างทำของด้วย อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรในอัตราร้อยละ 3.0 (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/1426 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2531)

ปุจฉา กรณีบริษัทฯ มีตึกที่ทำการให้บริษัทต่างๆ เช่า โดยคิดค่าเช่าและค่าบริการจากผู้เช่าเป็นรายเดือน กรณีค่าบำรุงรักษา และค่าบริการการใช้ลิฟต์ และเครื่องทำความเย็น โดยบริษัทฯ มีเครื่องทำความเย็นรวมแล้วต่อท่อไปตามห้องต่างๆ คิดตามเนื้อที่ที่เช่าเป็นเกณฑ์ รวมทั้งค่าดูแลทำความสะอาดส่วนกลาง ค่ารักษาความปลอดภัย  ค่าสาธารณูปโภคส่วนกลาง ค่าจัดการจราจร เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเรียกเก็บค่าน้ำประปา และค่าไฟฟ้า เช่นนี้ มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร

วิสัชน ค่าบริการอื่นใดจากการให้เช่าอาคารสำนักงานที่มิใช่ค่าเช่าอาคาร เข้าลักษณะเป็นค่าจ้างทำของ ผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/16148 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2530)

   สำหรับค่าน้ำประปา และค่ากระแสไฟฟ้า เป็นการซื้อขายสินค้า เมื่อบริษัทฯ ไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 แต่อย่างใด (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/พ.7367 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2537)

ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับค่าจ้างแปลเอกสาร และค่าถ่ายเอกสาร

วิสัชนา โดยทั่วไปเงินได้จากการแปลเอกสารเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ผู้มีเงินได้ประกอบกิจการด้วยการจัดตั้งเป็นสำนักงานซึ่งต้องลงทุนจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน ค่าจ้างลูกจ้างหรือพนักงาน จึงเข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร  รวมทั้งค่าบริการถ่ายเอกสาร ก็ถือเป็นเงินได้ค่าจ้างทำของตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินได้ที่จ่าย (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/11951 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2532)

วีดีโอเรื่อง ภาษีหัก ณ ที่ จ่าย หักให้ครบลดปัญหา

วีดีโอนี้จากรายการบ้านสรรพากร เผยแพร่เมื่อ 27 สิงหาคม 2555

   ขอนำประเด็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าจ้างทำของมาปุจฉา - วิสัชนา เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานทางด้านภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีขายสินค้าพร้อมให้บริการอย่างไร

วิสัชนา กรณีการขายสินค้าพร้อมให้บริการอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้

   1. การขายสินค้าโดยรวมค่าบริการ เข้าไว้ในราคาสินค้า เนื่องจากในทางภาษีมูลค่าเพิ่มไม่สามารถแถมบริการได้ เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้แต่เพียงการแถมสินค้าตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) จึงต้องประยุกต์เป็นการขายสินค้าโดยรวมบริการที่จะพึงให้กันในอนาคต 

โดยเหตุที่ถือเป็นการขายสินค้าทั้งจำนวน เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้จ่ายชำระค่าสินค้าดังกล่าว จึงไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ลงวันที่ 26 กันยายน 2528 เช่น

    (1) บริษัทฯ ขายสินค้าโดยมีการให้บริการกับลูกค้าด้วย และบริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีใน ราคาสินค้าและค่าบริการเป็นราคาเดียวกันถือเป็นการขายสินค้า ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้าตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อผู้ซื้อชำระราคาค่าสินค้า บริษัทฯ  ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/พ.13499 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2536)

    (2) บริษัทฯ ทำสัญญาขายลิฟต์และบันไดเลื่อนพร้อมทั้งให้บริการประกอบติดตั้ง โดยมิได้แยกราคาค่าสินค้าและค่าบริการออกจากกัน ถือเป็นการขายสินค้า ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีส่งมอบสินค้าตามมาตรา 78 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ถือวันที่บริษัทฯ ผู้ขายส่งมอบลิฟต์หรือบันไดเลื่อนเป็นวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น บริษัทฯ ต้องออกใบกำกับภาษีในทันทีที่ความรับผิดเกิดขึ้นตามมาตรา 86 มิใช่วันที่บริษัทฯ ประกอบติดตั้งเสร็จและมีสิทธิได้รับชำระราคา และเนื่องจากถือเป็นการขายสินค้าเมื่อผู้ซื้อชำระราคาสินค้า บริษัทฯ ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งของกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 (หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค 0802/พ.23430 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2536)

    (3) บริษัทฯ ประกอบกิจการขายอุปกรณ์ระบบโทรศัพท์และโทรสาร  พร้อมทั้งบริการติดตั้งให้ลูกค้าด้วย โดยไม่แยกราคาค่าสินค้าและค่าบริการติดตั้งออกจากกัน เข้าลักษณะเป็นการขายตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่อยู่ในข่ายต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 (หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค 0802/พ.3058 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2537 และที่ กค 0802/พ.20419 ลงวันที่ 11 กันยายน 2538)

    (4) บริษัทฯ ขายสีทาบ้าน โดยทาสีให้กับลูกค้าด้วย บริษัทฯ คิดค่าตอบแทน โดยไม่แยกราคาค่าสินค้าและค่าบริการออกจากกัน

 

                 

 ถือเป็นการขายสินค้า เงินได้ดังกล่าวไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/พ.13499 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 และที่ กค 0802/3958 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2537) 

    2. การขายสินค้าโดยแยกค่าบริการต่างหากจากราคาสินค้า ในการออกใบกำกับภาษีได้แยกรายการค่าสินค้า และค่าบริการรับจ้างทำของออกจากกันโดยชัดแจ้ง ในส่วนของราคาสินค้าไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย คงคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 เฉพาะในส่วนของค่าบริการรับจ้างทำของ  ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ลงวันที่ 26 กันยายน 2528 เช่น

     (1) บริษัทฯ ขายเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง พร้อมกับให้บริการรับจ้างตอกเสาเข็ม โดยออกใบกำกับภาษี ราคาค่าเสาเข็มและค่าบริการตอกเสาเข็มรวมเป็นราคาเดียวกัน ให้ถือเป็นการขายสินค้า  ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร ถือวันที่บริษัทฯ ส่งมอบเสาเข็ม บริษัทฯ ต้องออกใบกำกับภาษีในทันที ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่ออกใบกำกับภาษี เมื่อตอกเสาเข็มเสร็จเรียบร้อย และเนื่องจากเป็นการขายสินค้า บริษัทฯ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

      ถ้าหากบริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีราคาค่าเสาเข็ม และค่าบริการรับจ้างตอกเสาเข็มแยก  ออกจากกัน  ค่าบริการรับจ้างตอกเสาเข็มอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/พ.23259 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2536 และที่ กค 0802/06327 ลงวันที่ 18 เมษายน 2538)

     (2) บริษัทฯ ประกอบกิจการนำเข้าเหล็กเพื่อทำชั้นวางสินค้าใช้ในโกดังขนาดใหญ่ โดยนำเข้าจากต่างประเทศเป็นชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปแล้วนำมาตัด เชื่อม หรือจ้างบริษัทอื่นทำ หรือหลังจากตัด เชื่อมแล้วส่งไปโรงงานเพื่อพ่นสีแล้วส่งไปยังสถานที่ติดตั้ง จากนั้นบริษัทฯ จะส่งช่างไปให้บริการประกอบและติดตั้งเป็นชั้นวางสินค้า เช่นนี้ กรณีบริษัทฯ ขายสินค้าพร้อมให้บริการ โดยคิดราคาค่าสินค้าและค่าบริการรวมกันถือเป็นการขายสินค้า เมื่อผู้ซื้อชำระราคาค่าสินค้า  บริษัทฯ ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 และกรณีบริษัทฯ แยกราคาสินค้าและค่าบริการออกจากกันในส่วนของค่าบริการอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/10992 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2537)

 

บทความโดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์ 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 และ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี