บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net
การตรวจสอบและรับรองบัญชี
การตรวจสอบและรับรองบัญชี
การตรวจสอบและรับรองบัญชีเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรนั้น ได้กำหนดให้มีขึ้นตั้งแต่ปี 2496 เป็นต้นมา โดยได้มีการเพิ่มบทบัญญัติมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ---------------------------------------------------------------- สำหรับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยขนาดเล็ก ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ได้รับยกเว้น ไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธ.ค. 45 เป็นต้นมา ซึ่งมีเหตุผลสำคัญ คือ ในประเทศไทยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่เพียงพอที่จะให้บริการ และห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนขนาดเล็กดังกล่าวมีงบการเงินยังไม่มีนัยสำคัญหรือมีจำนวนเงินที่มากเพียงพอแก่การที่ต้องตรวจสอบและรับรองบัญชี คงปล่อยให้เป็นภาระความรับผิดชอบของผู้จัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ที่ต้องรับรองว่างบการเงินของห้างฯ เป็นไปตามมาตรฐาน หรือเข้า แกป (GAAP) สำนวน ทำอะไรไม่เข้าแกป จึงหมายถึงการไม่มีมาตรฐาน หรือไม่ได้ตามมาตรฐาน เพราะ แกป หมายถึง หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หรือมาตรฐานการบัญชี เมื่อกฎหมายว่าด้วยการบัญชีมีผลใช้บังคับในวันที่ 10 ส.ค.43 ก่อให้เกิดความกระเพื่อมไหวหรือมีผลกระทบต่อการบริหาร จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลของกรมสรรพากร ที่อาศัยพื้นฐานการตรวจสอบและรับรองบัญชี งบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ซีพีเอ) มาตั้งแต่ปี 23 จนชินว่า ต้องมีผู้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินมาชั้นหนึ่งก่อนที่จะยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากร ดังเป็นที่ทราบกันว่า แม้จะแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจอนุญาตให้มีบุคคลทำการตรวจสอบและรับรองบัญชี เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตั้งแต่ปี 2496 แล้วก็ตาม กรมสรรพากรก็มิได้ดำเนินการอะไร หากแต่มีข้อสมมุติว่า ถ้าผู้ต้องเสียภาษีจัดทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ก็จะนำไปสู่การเสียภาษีอากรที่ถูกต้องครบถ้วนได้ จึงได้กำหนดให้ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการสอบบัญชี เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนทางภาษีอากรอีกชั้นหนึ่ง เมื่อทางบัญชีมาละทิ้งห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนขนาดเล็ก ว่าไม่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองบัญชีเสียแล้ว กรมสรรพากรจึงต้องลุกขึ้นมาดำเนินการอะไรกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนขนาดเล็กดังกล่าว และแล้ว คำว่า ผู้สอบบัญชีภาษีอากร หรือ ทีเอ (Tax Auditor) ก็บังเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 44 เป็นต้นมา ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor) บทความโดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ที่มา : คอลัมภ์มุมภาษี นสพ.เดลินิวส์ วันที่ 20 ตุลาคม 2551 และ 27 ตุลาคม 2551 |
จ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชี หรือทำบัญชีเองดี นักบัญชี กับความนิยมเรียน "เอ็มบีเอ" ลดภาระ เพิ่มประสิทธิภาพงาน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี กรมสรรพากรเตือน ขอให้ผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน ทันสมัยในงานบัญชี !!! ทัศนคติของ SMEs ที่มีต่อสำนักงานบัญชี ปัญหาและทางออก กรณีนักบัญชี เปลี่ยนงานบ่อย นักบัญชีมืออาชีพ (Professional Accountant) รายรับ-รายจ่าย ของธุรกิจ ต้องผ่านธนาคาร สถานะทางการเงิน 10 ประการของธุรกิจ ทำไมต้องรู้เรื่องบัญชี ทำบัญชีรับจ่ายช่วยให้ครอบครัวเป็นสุข สัญญาณเตือนภัยในงบการเงิน Tax Knowledge : ขายสินค้าต่ำกว่าทุน ข้อมูลบัญชีจำเป็นต่อเจ้าของกิจการอย่างไร นักบัญชี..เพื่อนซี้..ยันป้าย อาชีพอิสระนักบัญชี มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน รายจ่ายในการดำเนินกิจการ การวางแผนภาษี เงินประกันและเงินมัดจำ สำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้าง เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ สภาวิชาชีพบัญชีค้านกฎหมายหุ้น ให้ผู้สอบบัญชีจับผิดผู้บริหารขี้โกง ดันมาตรฐานบัญชีไทยเทียบสากล สร้างหน้าตาตลาดทุนไทยไม่ขี้เหร่ อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆจากการส่งเสริมการขาย จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี มาเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันเถอะ หลักการของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 การเรียนสาขาบัญชีในไทยเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด |