บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

กิจการของบุคคลธรรมดา ที่ไม่จด Vat ทำบัญชีอย่างไร
กิจการของบุคคลธรรมดา ที่ไม่จด Vat ทำบัญชีอย่างไร
เมื่อปลายปี 2549 อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2549 โดยให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 1) เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าที่ต้องเสียภาษีการค้าหรือแม้ไม่ต้องเสียภาษีการค้า แต่ต้องเสียภาษีเงินได้ ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีรายรับเป็นประจำวันและกำหนดแบบบัญชีคุมสินค้า ลงวันที่ 31 มกราคม 2505 และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2549 เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ 1. ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายเป็นประจำวัน หรือรายงานเงินสดรับ - จ่าย ได้แก่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6) (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร 2. บัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายเป็ นประจำวัน โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด 3. บัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจำวัน ให้จัดทำเป็นภาษาไทย ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ และให้ลงรายการในบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย 4. ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(6)(7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร จึงควรจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายเป็นประจำวัน หรือรายงานเงินสดรับ - จ่าย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่กฎหมายกำหนด เพราะนอกจากเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งอาจต้องรับโทษปรับถ้ามีการฝ่าฝืนแล้ว การจัดทำบัญชีดังกล่าวยังเป็นเครื่องพิสูจน์ความถูกต้องในการเสียภาษีอากร ตามหลักการวางแผนภาษีอากรที่ดีอีกด้วย 5. รูปแบบของรายงานเงินสดรับ - จ่าย มีดังนี้ (Download ตาม Link ด้านล่าง) คำอธิบาย รายงานเงินสดรับ-จ่าย 1. ช่อง วัน/เดือน/ปี ใช้บันทึกวันที่ เดือน และ ปี พ.ศ. ที่มีรายการรับเงินและจ่ายเงิน 2. ช่อง รายการ ใช้บันทึกรายละเอียดของรายการรับเงิน และจ่ายเงิน เช่น การขายสินค้า ค่าซื้อสินค้า ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงินเดือน เป็นต้น 3. ช่อง รายรับ ใช้บันทึก จำนวนเงินที่ได้รับเข้ามาตามรายละเอียดในช่องรายการ 4. ช่อง รายจ่าย เป็นการซื้อสินค้า ใช้บันทึก จำนวนเงิน ที่ได้รับเข้ามาตามรายละเอียดในช่องรายการ 5. ช่อง รายจ่าย เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ใช้บันทึก จำนวนเงิน เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ 6. กรณีขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ หรือซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกในวันที่ได้รับชำระหรือวันที่จ่ายค่าสินค้านั้น โดยอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 10 ตุลาคม 2550 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |