ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ความรู้เกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

 

                  ความรู้เกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

 

             

 

ข้อ 1. คำถาม :  สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ตามมาตรา 40(5)(6)(7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร สามีหรือภริยาที่มีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

     คำตอบ :  สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับเงินได้ของตน

 

ข้อ 2. คำถาม :  สามีมีเงินได้จากเงินเดือนและภริยามีเงินได้จากการค้าขาย สามีหรือภริยามีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

     คำตอบ :  ตามมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ ถ้าสามีภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี แต่ขณะยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามีภริยายังมิได้อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี สามีจึงไม่มีหน้าที่ยื่นแบบดังกล่าว เฉพาะภริยาเท่านั้นที่จะมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับเงินได้จากการค้าขายของตน เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการประจำปี และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้สามีมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยนำเงินได้จากการค้าขายของภริยามารวมคำนวณด้วย

 

ข้อ 3. คำถาม :  อายุเกิน 65 ปี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถใช้สิทธิยกเว้นเงินได้ 190,000 บาท ได้หรือไม่

     คำตอบ :  หากผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปในปีภาษี และเป็นผู้อยู่ในไทย สามารถใช้สิทธิยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาท ตามกฎกระทรวง  ฉบับที่ 257 (พ.ศ.2549) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150) โดยต้องกรอกในใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปด้วย

 

ข้อ 4. คำถาม :  บุคคลธรรมดาได้รับผลประโยชน์จากการขายหน่วยลงทุน RMF/LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไข ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องนำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หรือไม่

     คำตอบ :  ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการขายหน่วยลงทุน RMF/LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไข ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2(65) และ (67) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ให้นำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ด้วย เนื่องจากเป็นการยกเว้นแบบมีเงื่อนไข โดยแสดงในส่วน ก รายการเงินได้พึงประเมิน ที่ข้อ 5. หรือข้อ 6. เลือก ยกเว้น

 

ข้อ 5. คำถาม :  นาย ก. มีเงินได้จากการขายของจะยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 โดยหักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 80 เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 จะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ได้หรือไม่

     คำตอบ :  กรณีผู้มีเงินได้จากการขายของโดยมิได้เป็นผู้ผลิต สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 โดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ หากมีหลักฐานและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าค่าใช้จ่ายเหมาตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502

 

ข้อ 6. คำถาม :  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนผู้มีเงินได้เต็มจำนวน 30,000 บาท หรือไม่

     คำตอบ :  บุคคลธรรมดาที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนผู้มีเงินได้ ได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือ 15,000 บาท สำหรับกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หักลดหย่อนผู้มีเงินได้ ได้เพียงกึ่งหนึ่ง ตามจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลที่อยู่ในไทย ดังนี้

     1. กรณีเป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลอยู่ในไทยเพียงคนเดียว ให้หักลดหย่อนผู้มีเงินได้เพียงคนเดียว  เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท

     2. กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลอยู่ในไทยตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ให้หักลดหย่อนผู้มีเงินได้ ทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท

 

ข้อ 7. คำถาม :  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนคู่สมรสได้เต็มจำนวน 30,000 บาท หรือไม่

     คำตอบ : ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือ 15,000 บาท

      1. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนคู่สมรสได้ไม่ว่าคู่สมรสจะอยู่ในไทยหรือไม่

      2. กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ไม่ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะคู่สมรสที่เป็นผู้อยู่ในไทยเท่านั้น

 

ข้อ 8. คำถาม :  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนบุตรได้จำนวนเท่าใด

     คำตอบ :  ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนบุตรได้เพียงกึ่งหนึ่ง  ดังนี้

      1. บุตรที่ไม่ได้ศึกษาหรือศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ให้หักลดหย่อนได้คนละ 7,500 บาท

      2. บุตรที่ศึกษาอยู่ในประเทศ ให้หักลดหย่อนได้คนละ 8,500 บาท

      3. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนบุตรทั้งที่อยู่ในไทยและอยู่ต่างประเทศ

      4. กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ไม่ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนเฉพาะบุตรที่อยู่ในไทยเท่านั้น

         โดยให้หักลดหย่อนได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

 

ข้อ 9. คำถาม :  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้เท่าไร

     คำตอบ : ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สำหรับส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท หักได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 56 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้ได้รับยกเว้นอีก ไม่เกิน 90,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ตามข้อ 5 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ.2551) แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย

     สำหรับคู่สมรสไม่มีเงินได้ แต่ทำประกันชีวิตไว้  ผู้มีเงินได้ไม่สามารถนำเบี้ยประกันของคู่สมรสมาหักลดหย่อน เนื่องจากความเป็นสามีภริยามิได้อยู่ตลอดปีภาษี เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี  จึงจะนำเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้มาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

 

ข้อ 10. คำถาม :  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิยกเว้นเงินได้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาได้หรือไม่

      คำตอบ : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้ที่จ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพให้บิดามารดาของตน และบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท เช่นเดียวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90  ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

 

ข้อ 11. คำถาม :  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94  ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนบิดามารดาได้เต็มจำนวนคนละ 30,000 บาท หรือไม่

      คำตอบ : ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้หรือบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือคนละ 15,000 บาท ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

 

ข้อ 12. คำถาม :  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 บุตรจะใช้สิทธิหักลดหย่อนบิดามารดาได้หรือไม่ กรณีบิดามารดาถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี (เช่น ตายในเดือนมิถุนายน)

      คำตอบ :  กรณีบิดามารดาตายในระหว่างปีภาษี ให้บุตรเพียงคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ โดยแนบ แบบ ล.ย.03 และสำเนาใบมรณบัตร พร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

 

ข้อ 13. คำถาม :  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94  ผู้มีเงินได้จะนำค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)  มาหักลดหย่อนได้หรือไม่

      คำตอบ :  ได้  ในจำนวนไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ตามข้อ 4 และข้อ 6 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ.2551) ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

 

ข้อ 14. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94  ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เท่าไร

      คำตอบ : การลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ให้หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายไปจริงในระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน ดังนี้

      1. ส่วนที่จ่ายไปไม่เกิน 10,000 บาท หักลดหย่อนได้เพียงกึ่งหนึ่งคือ   5,000 บาท

      2. สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้หักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 90,000 บาท

         ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 264 (พ.ศ.2550) ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 165) (ฉบับที่ 166) และ (ฉบับที่ 167)

 

ข้อ 15. คำถาม :  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94  ผู้มีเงินได้มีเงินบริจาค ต้องคำนวณเพียงกึ่งหนึ่งหรือไม่

      คำตอบ : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้บริจาคมีสิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาค และยกเว้นเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับจำนวนเงินกึ่งหนึ่งที่ได้บริจาคจริงในเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปีภาษีนั้นๆ ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่รวมกันต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช่จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว (ก่อนหักเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา)

 

ข้อ 16. คำถาม :  บุคคลธรรมดามีเงินได้จากการขายที่ดินหักค่าใช้จ่ายเหมาตามจำนวนปีที่ถือครอง คงเหลือเงินได้สุทธิคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ จะได้รับยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บาท แรกหรือไม่

      คำตอบ :  ไม่ได้รับยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก เนื่องจากเป็นการคำนวณภาษีตามมาตรา 48(4) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่การคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร

 

ข้อ 17. คำถาม : การคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 กรณีใช้สิทธิยกเว้นสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป คำนวณจากเงินได้พึงประเมินก่อนหรือหักเงินที่ได้รับยกเว้น 190,000 บาทแล้ว

      คำตอบ : การคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีใช้สิทธิยกเว้นสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป ให้คำนวณจากเงินได้พึงประเมินหลังจากหัก 190,000 บาท แล้ว

 

ข้อ 18. คำถาม : มีเงินได้สุทธิ จำนวนเงิน 750,000 บาท คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้เป็นเงินภาษีที่ต้องชำระเท่าไร

      คำตอบ :  ภาษีที่คำนวณได้    เท่ากับ           85,000 บาท

      วิธีการคำนวณ

           0  - 150,000  บาท       ยกเว้น

      50,001 -  500,000  บาท  อัตราร้อยละ 10   เท่ากับ    35,000 บาท

     500,001 -  750,000 บาท   อัตราร้อยละ 20   เท่ากับ    50,000 บาท

       รวมภาษีที่คำนวณ                                 85,000 บาท

 

ข้อ 19. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่อนชำระได้หรือไม่

      คำตอบ : หากเป็นแบบที่ยื่นภายในกำหนดเวลา ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นชำระภาษีผ่านธนาคาร ยกเว้นธนาคารกรุงไทย และมีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถผ่อนชำระได้ไม่เกิน 3 งวด เท่าๆ กัน  ดังนี้

       งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบภายในวันที่ 30 กันยายน

       งวดที่ 2 ชำระภายในวันที่ 31 ตุลาคม

       งวดที่ 3 ชำระภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน

       กรณีมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ  ทั้งนี้ การยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถผ่อนชำระได้

 

ข้อ 20. คำถาม :  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนดจะเสียค่าปรับและเงินเพิ่มอย่างไร

      คำตอบ : 1. เสียค่าปรับอาญา ดังนี้

      กรณียื่นเกินกำหนดไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 100 บาท

      กรณียื่นเกินกำหนด เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 200 บาท

      2. เสียเงินเพิ่ม (ถ้ามีเงินภาษีที่ต้องชำระ) อัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนคิดเป็นหนึ่งเดือน

 

      Download แบบ ภ.ง.ด.94 ปี 2551 (pdf)

   คำอธิบายวิธีกรอกแบบภาษี ภ.ง.ด.94 ปี 2551(pdf)

   ข้อสังเกต ภ.ง.ด. 94

 

ที่มา : กรมสรรพากร




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี