บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
ในการทำธุรกิจ เงินสดเปรียบเสมือนอ๊อกซิเจนที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้ และเจริญรุ่งเรืองขึ้น รวมทั้งยังใช้เป็นตัวชี้วัดในเบื้องต้นของความแข็งแกร่งทางธุรกิจ จนมีการกล่าวกันว่า ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในระยะสั้นถ้าขาดยอดขายและกำไร แต่จะอยู่ไม่ได้เลยถ้าขาดเงินสด เกร็ดความรู้ในครั้งนี้จะให้ข้อแนะนำการบริหารจัดการเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพทำอย่างไร รวมทั้งวิธีการจัดการกับผู้บริโภค ซัพพลายเออร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการไหลเวียนเงินสด ตลอดจน การแจกแจงปัญหาที่มักจะเกิดขึ้น และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ควรรู้ เทคนิคพื้นฐานที่ควรปฎิบัติ ประกอบด้วย การพยากรณ์มักจะทำเป็นรายไตรมาส หรือรายปีล่วงหน้า และแบ่งระยะเวลาออกเป็นสัปดาห์ หรือเดือน หรือรายวันในกรณีที่ธุรกิจอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ การทำพยากรณ์เป็นรายวันจะมีประโยชน์มากขึ้น แต่ระยะเวลาที่ดีที่สุดที่มีการแนะนำคือ ระยะเวลาที่ต้องมีการจ่ายค่าใช้จ่ายประจำ รายการที่จะพยากรณ์มักจะประกอบด้วย รายรับ รายจ่าย ส่วนต่างระหว่างรายรับและรายจ่าย ดุลบัญชีธนาคารทั้งช่วงเปิดและปิด ไม่มีวิธีการใดดีที่สุดสำหรับการพยากรณ์การไหลเวียนของเงินสด วิธีการพื้นฐานที่มักจะใช้กันคือ การแยกข้อมูลการเงินออกเป็น 2 กลุ่ม (1) ส่วนของการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ประกอบด้วย ยอดขายที่เป็นเงินสด รายรับจากการขายเป็นเงินเชื่อในช่วงก่อนหน้า ดอกเบี้ยที่ได้รับจากเงินออม รายจ่ายซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ การเช่าซื้อและการผ่อนชำระ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่า ค่าประกัน ค่าสาธารณูปการ ค่าโทรศัพท์ ค่าจ้าง ภาษีและค่าประกันสังคม และดอกเบี้ยจ่าย เป็นต้น (2) ส่วนที่นำมาใช้เป็นทุน ประกอบด้วย เงินกู้จากธนาคาร การเพิ่มสัดส่วนทุน เงินปันผลที่จ่าย และการจ่ายคืนเงินกู้ การแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่แบบนี้จะช่วยให้เห็นถึงระดับของการพึ่งตนเองของกิจการในแต่ละวันได้ กลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วคือ รายการค่าใช้จ่ายสุทธิ (รายจ่าย-รายรับ) ในส่วนของการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ซึ่งถ้าเป็นบวก แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ของการขาดแคลนเงินสดในเวลานั้น การใช้ซอฟท์แวร์ทางการบัญชีจะเป็นเครื่องมือที่ดีที่ช่วยให้การพยากรณ์มีความแม่นยำ และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามแนวโน้มตลาดหรือสถานการณ์ของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป การบริหารจัดการลูกค้า 1. ต้องกำหนดนโยบายการให้สินเชื่อที่ชัดเจน ทั้งระยะเวลาการชำระเงิน และจำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละงวด การชำระภาษี ธุรกิจมักจะมีการเสียภาษีหลายประเภท (เช่น ภาษีรายได้ ภาษีธุรกิจ และ VAT เป็นต้น) ซึ่งจำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลการชำระภาษีไว้เป็นอย่างดี เพื่อช่วยให้การบันทึกรายการหนี้สินและผลตอบแทนจากการทำธุรกิจมีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น ในกรณีที่ธุรกิจต้องเกี่ยวข้องกับ VAT การซื้อของรายการหลักที่สำคัญๆ ควรดำเนินการในช่วงท้ายๆ ของการจ่ายภาษีประเภทนี้ จะช่วยให้การไหลเวียนของเงินสดดีขึ้น เพราะธุรกิจสามารถหักกลบยอดเงิน VAT ของการซื้อ กับ VAT ที่ธุรกิจจะเรียกเก็บจากการขายได้ การบริหารจัดการทรัพย์สิน ถ้าเป็นไปได้ให้ลองใช้วิธีการเช่าซื้อทรัพย์สินถาวร อาทิ เครื่องมือเครื่องใข้ต่างๆ แทนการซื้อทีเดียวที่ทำให้ต้องจ่ายเงินสดไปมาก โดยเฉพาะกรณีของธุรกิจที่ตั้งใหม่
ที่มา : www.businesslink.gov.uk และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |