ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว

 

 

                                                                          กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว

 

    การประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ประกอบการควรมี ความรู้ในด้านกฎหมายบ้างพอสมควร หากตนเองไม่มีความรู้ด้านกฎหมายก็ควรหาผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายมาให้คำแนะนำ เพราะการเริ่มต้นประกอบธุรกิจในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งในรูปแบบของบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือแม้แต่เป็นเจ้าของกิจการคนเดียวก็ล้วนแล้วแต่จะต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายทั้งสิ้น

    ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักละเลยไม่ให้ความสำคัญในเรื่องของกฎหมาย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือมักจะมองข้ามไป หากไม่เกิดปัญหาหรือข้อพิพาทขึ้นก็มักจะไม่คิดถึงเรื่องกฎหมาย ทั้งๆที่จริงแล้วการประกอบกิจการไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตามล้วนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายทั้งสิ้น การที่ผู้ประกอบกิจการประเภทใดก็ตามทำให้ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่เริ่มและยึดหลักกฎหมายในการดำเนินกิจการเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เพราะหากเกิดข้อพิพาททางกฎหมายขึ้นไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกก็มักจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการดำเนินการเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการจึงควรคำนึงถึงหลักการประกอบการตามสุภาษิตไทยที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้”

    หากจะประกอบกิจการโดยก่อตั้งเป็นบริษัทในการเริ่มดำเนินการล้วนแต่มีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ในเริ่มต้นจะต้องมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยมีผู้ร่วมกิจการ 7 คน ซึ่งเป็นข้อบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย เมื่อก่อตั้งเป็นบริษัทขึ้นมาแล้ว บริษัทจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีความรับผิดเป็นของตนเองแยกออกจากบุคคลผู้เป็นเจ้าของกิจการ (ผู้ถือหุ้น) บริษัทจะอยู่ภายใต้การบริหารของกรรมการ ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งหรือถอดถอนได้จากผู้ถือหุ้น ความรับผิดของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัดเพียงเงินที่ยังมิได้ชำระค่าหุ้นเท่านั้น หากผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนไปแล้วก็ไม่ต้องรับผิดในส่วนนอกเหนือจากนั้นอีก แต่ผู้ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เช่น จะต้องทำงบดุลของบริษัทส่งกรมสรรพากร ซึ่งหากกรรมการของบริษัทไม่ดำเนินการก็จะมีความผิด การไม่ส่งงบดุลของบริษัทนั้นนอกจากบริษัทจะต้องเสียค่าปรับแล้ว ตัวกรรมการยังมีโทษทางอาญาอีกด้วย

                     

    หรือแม้แต่การประกอบกิจการที่ผู้ดำเนินการเป็นเจ้าของคนเดียว ประกอบธุรกิจขายสังหาริมทรัพย์ เช่น เครื่องประดับ รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ฯลฯ หากสินค้าที่จำหน่ายมีราคาเกินกว่า 20,000 บาท ในการขายจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือว่ามีการตกลงซื้อขายสินค้ากัน มีการวางมัดจำหรือชำระราคาสินค้าบางส่วน เพราะหากไม่มีหลักฐานตามข้างต้นเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นก็จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ดังนั้นในการซื้อขายสินค้าต่างๆ ในขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้าจะต้องมีการทำใบสั่งซื้อสินค้า หรือจะต้องมีการให้เครดิตเงินที่ต้องชำระโดยทำหลักฐานเป็นหนังสือ การส่งมอบสินค้าจะต้องทำใบส่งสินค้าโดยมีรายละเอียดของใบส่งสินค้า ดังนี้ รายการสินค้า ราคาสินค้า ชื่อผู้ส่งสินค้า และผู้รับสินค้า นอกจากนี้ยังจะต้องให้ผู้ซื้อสินค้าหรือตัวแทนเซ็นชื่อรับมอบสินค้าเวลาที่ไปจัดส่งสินค้าอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักฐานว่ามีการซื้อขายสินค้ากันจริง เพราะหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นก็จะนำมาฟ้องคดีกันได้หรือหากต้องการเช่าตึกเพื่อใช้เป็นสำนักงาน การทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย และระยะเวลาเช่าไม่เกิน 3 ปี หากต้องการเช่าเป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 ปี ก็จะต้องนำสัญญาเช่าไปจดทะเบียนการเช่าที่กรมที่ดิน เพราะการเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี กฎหมายกำหนดให้ไปจดทะเบียนการเช่าที่กรมที่ดิน สัญญาเช่าที่มิได้จดทะเบียนที่กรมที่ดินถึงแม้ในสัญญาจะระบุระยะเวลาเช่ากันไว้เกินกว่า 3 ปี ก็จะมีผลบังคับใช้เพียง 3 ปี

    เมื่อประกอบธุรกิจแล้วมีการซื้อขายสินค้า มีการทำสัญญาเช่าก็จะต้องมีการชำระค่าสินค้าหรือค่าเช่า บางครั้งอาจชำระเป็นเช็ค ซึ่งเช็คตามกฎหมายถือเป็นตราสารชนิดหนึ่งเพื่อประโยชน์ในทางการเงิน การสั่งจ่ายเช็คโดยที่ไม่มีเงินในบัญชี หรือมีเงินในบัญชีไม่พอเมื่อครบกำหนดตามเช็ค อาจมีโทษทางอาญาทั้งจำหรือปรั หากผู้ประกอบการขาดความเข้าใจในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับเช็ค ผลสุดท้ายอาจทำให้ผู้ประกอบการต้องรับโทษทางอาญาโดยที่ผู้ประกอบการไม่มีเจตนาจะไม่ชำระเงินตามเช็ค แต่อาจเกิดจากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยก็เป็นได้

    ในการประกอบกิจการหากต้องมีการทำสัญญากับบุคคลภายนอก ถ้อยคำในสัญญา บางครั้งเป็นภาษากฎหมาย ผู้ประกอบการอาจไม่เข้าใจกับภาษากฎหมาย เมื่อผู้ประกอบการลงนามในสัญญานั้นไปแล้วก็เท่ากับผูกพันตนไปกับสัญญานั้น ทั้งที่ยังไม่เข้าใจข้อสัญญาอย่างถ่องแท้ ซึ่งส่งผลให้อาจเสียเปรียบกับคู่สัญญาได้

    ปัญหาและข้อพิพาทต่างๆของผู้ประกอบการในการทำธุรกิจก็มักเกิดจากความไม่เข้าใจหรือขาดความรู้ทางด้านกฎหมายของตัวผู้ประกอบการ รวมถึงไม่ให้ความสำคัญในเรื่องกฎหมายอันจะนำมาซึ่งความเสียหายในอนาคต

    ดังนั้น ก่อนที่จะประกอบธุรกิจรูปแบบใดก็ตาม นอกจากจะศึกษาหาความรู้ในเรื่องตัวสินค้า กระบวนการผลิต วิธีการหาตลาด ฯลฯ ผู้ประกอบการควรศึกษาหาความรู้ในด้านกฎหมายควบคู่ไปด้วย อาจไม่ต้องศึกษาจนเชี่ยวชาญเท่ากับนักกฎหมาย แต่ก็ควรศึกษาจนถึงขั้นเข้าใจจนไม่ให้ใครมาเอาเปรียบได้ หากไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกฎหมาย

            ตัวอย่างของการไม่ให้ความสำคัญในเรื่องกฎหมายจนเกิดความเสียหาย เช่น

    ตัวอย่างที่ 1 นายดำ ประกอบธุรกิจขายคอมพิวเตอร์ ได้ตกลงขายคอมพิวเตอร์ให้กับนายแดง จำนวน 10 เครื่อง คิดเป็นเงิน สองแสนบาท แต่ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือเพียงแต่ตกลงซื้อขายกันด้วยวาจา เมื่อถึงกำหนดส่งสินค้าและชำระเงินค่าสินค้า หากนายแดง ซึ่งเป็นผู้ซื้อปฏิเสธไม่รับสินค้าที่นายดำ จัดส่งไปให้ นายดำ ก็ไม่สามารถบังคับให้นายแดง รับสินค้าและชำระเงินค่าสินค้าได้ เนื่องจากการขายสินค้าดังกล่าวเป็นการขายสินค้าซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์มีมูลค่ารวมเกินกว่า สองหมื่นบาท กฎหมายกำหนดให้ต้องมีหลักฐานการซื้อขายเป็นหนังสือ หรือมีการวางมัดจำชำระหนี้บางส่วน หากไม่ดำเนินการดังกล่าว ก็ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ส่งผลให้นายดำ ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่ซื้อคอมพิวเตอร์นั้นเอง รวมถึงค่าขนส่งด้วย แต่หากนาย ดำ ได้เรียกมัดจำไว้จากนายแดง โดยทำเป็นใบเสร็จว่าได้รับค่ามัดจำแล้ว และให้นายแดง ลงลายมือชื่อเป็นผู้จ่ายเงินมัดจำไว้ ผลในทางกฎหมายนายดำ สามารถนำใบเสร็จรับเงินมัดจำมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องต่อศาล เพื่อบังคับให้นายแดง รับสินค้า และชำระเงินค่าสินค้านั้นได้

    ตัวอย่างที่ 2 นาย ก. เปิดบริษัทเพื่อค้าขายอุปกรณ์การเกษตร  และมีตนเองเป็นกรรมการของบริษัท โดยวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทได้จดทะเบียนไว้เฉพาะการค้าขายอุปกรณ์ทางการเกษตรเท่านั้น หากนาย ก. นำบริษัทดังกล่าวไปดำเนินกิจการขายบ้านจัดสรร อันเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของบริษัท ผลทางกฎหมายการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ผูกพันบริษัท หากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากการขายอสังหาริมทรัพย์ นาย ก. ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวไม่ผูกพันบริษัท ดังนั้น หากท่านไปทำสัญญาซื้อบ้านจัดสรรดังกล่าวแล้วเกิดปัญหาขึ้น ท่านจะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับบริษัทดังกล่าวได้ จะฟ้องร้องได้ก็เฉพาะตัวนาย ก. เท่านั้น

กรณีตามตัวอย่างทั้งสองจะเห็นได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดจากความไม่รู้ในเรื่องของกฎหมาย อีกทั้งยังละเลยไม่เห็นความสำคัญของกฎหมาย ผู้ประกอบการจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ในด้านกฎหมายตั้งแต่ก่อนเริ่มก่อตั้งกิจการ หากตนเองไม่มีความรู้ด้านกฎหมายก็ควรปรึกษาที่ปรึกษาทางกฎหมาย อย่าคิดว่าที่ปรึกษากฎหมายไม่มีความจำเป็น และเป็นค่าใช้จ่ายที่แพงเกินควร ในปัจจุบันหลายหน่วยงานให้คำปรึกษาทางกฎหมาย โดยมีที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายที่มีประสบการณ์มาให้คำปรึกษาและวางแผนในเรื่องกฎหมายให้กับผู้ประกอบการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เช่น สภาทนายความ ศาลยุติธรรม มหาวิทยาลัยต่างๆที่เปิดสอนทางด้านกฎหมาย ฯลฯ 

                  

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลที่ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย และนอกจากนี้ยังให้คำปรึกษาด้านต่างๆที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจร ซึ่งหากผู้ประกอบการมารับคำปรึกษาที่ สสว. ก็จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะเทคนิคการบริหารงานของผู้ประกอบการที่เป็น SMEs อย่างครบถ้วนในทุกๆด้านโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

 

บทความโดย : ศุรวีร์ รัตนไชย  ที่ปรึกษาSMEs ด้านกฏหมายธุรกิจ

          ฝ่ายประสานและบริการSMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)




รวมบทความกฎหมายน่ารู้

การทวงหนี้
กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่
ไม้ตายจัดการเจ้าหนี้นอกระบบ
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์
ลิขสิทธิ์ Copyright Law
หมิ่นประมาท เหยียดหยาม
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายแรงงาน
มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย
หมิ่นประมาท
กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้
ทำอย่างไร..เมื่อได้รับ "หมายศาล"
ความยินยอมของคู่สมรส
เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร
ผู้ต้องหามีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน
อายุความบัตรเครดิต 2 ปี หมายความว่าอย่างไร
เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 2)
หลักประกันตัวในคดีอาญา
ผู้ให้และผู้รับ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 1)
ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง