บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

20 กฎ ลดภาษีบุคคลธรรมดา
20 กฎ ลดภาษีบุคคลธรรมดา
ทุกๆ ปี ผู้เขียนมักจะไหว้วานให้ลูกน้องเป็นผู้สรุปยอดรายได้ค่าใช้จ่ายและกรอกแบบยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ตกมาในปีนี้ บังเอิญมีเพื่อนฝูงหลายท่านโทรมาขอปรึกษา (ฟรีจ้า)+ ขอคำแนะนำวิธียื่นแบบเสียภาษีให้ถูกๆ (ต่ำๆ) เพราะปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ใครๆ ก็ต้องพากันประหยัดทุกทาง เชื่อไหมครับ พอพลิกกลับไปดูข้อมูลในแบบภาษีของตนเอง ปรากฏว่าลูกน้องดันคิดพลาด / เข้าใจผิด และเสียภาษีสูงไปหลายสตางค์เลยทำให้ได้ข้อคิดว่า ต่อแต่นี้ ข้าฯ คงต้องดูเองทุกปีเสีย แล้วกระมัง ! 20กฎลดภาษีที่จะแนะนำแก่ท่านผู้อ่าน เป็นการต่อยอดข้อผิดพลาดของตนเองและจากคำแนะนำที่ให้แก่เพื่อน ๆ ซึ่งคงเป็นประโยชน์ต่อการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 ของทุกๆ ท่านได้ดีทีเดียวครับ กฎข้อที่ 1 สามี & ภรรยา ควรแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 แฮ่ๆ ผู้เขียนแนะนำให้สามี & ภรรยาแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีนะครับ มิได้แนะให้แยกทางหรือแยกบ้าน! ท่านผู้อ่านคงจำสูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันได้นะครับนั่นคือ เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรแบ่งเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท คือ เงินเดือนค่าจ้างฯ (ม.40(1)) เงินได้จากการรับทำงานให้ค่านายหน้า (ม.40(2)) ค่าสิทธิฯ (ม.40(3)) ด ดอกเบี้ยเงินปันผลฯ (ม.40 (4)) ค่าเช่าฯ (ม.40 (5)) เงินได้จากวิชาชีพอิสระฯ(ม.40(6)) เงินได้จากการรับเหมาก่อสร้างฯ (ม.40(7)) เงินได้อื่นที่ไม่เข้าลักษณะตาม 7 ประเภทแรก (ม.40(8)) เงินได้ตามมาตรา40(1)-(2) หักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตรา 40% แต่ไม่เกิน60,000บาท เงินได้ตามมาตรา 40 (3) - (4) หักค่าใช้จ่ายไม่ได้ เพราะมิได้เกิดจากน้ำพักน้ำแรง (unearned income) เงินได้ตามมาตรา 40(5)-(8) เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาก็ได้ หรือจะหักค่าใช้จ่ายตามที่เกิดจริงก็ได้ ค่าลดหย่อนที่กฎหมายยอมให้หักมีหลายชนิดคือ ค่าลดหย่อนส่วนตัวภรรยาและบุตร ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าลดหย่อนเพื่อการศึกษาของบุตร เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม เงินบริจาคเพื่อสาธารณกุศล เป็นต้น ตัวอย่างแรก ของเรา เป็นกรณีของสามีและภรรยาซึ่งอยู่กินกันมาหลายปีโดยต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทเงินเดือน (ม.40(1))ซึ่งกฎหมายยอมให้ภรรยานำเงินเดือนของตนไปแยกคำนวณ และยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ต่างหากจากเงินได้ของสามี การแยกยื่นดังกล่าว จะทำให้ภาระภาษีรวมต่ำลงกว่าการนำเงินได้ไปยื่นรวมกันและยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 เพียงฉบับเดียว ซึ่งพิสูจน์ได้จากตัวอย่าง เช่น นายกรกฎ และนางละอองดาว ทำงานเป็นพนักงานของ (Note : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยจัดเก็บในอัตราก้าวหน้า 10%-37% ตามแต่ละช่วง (bracket) ของเงินได้สุทธิที่สูงๆ ขึ้นไป) ต้องขอชมเชยผู้ยกร่างกฎหมายข้อนี้ ที่มีช่องออกให้สามีภรรยาสามารถประหยัดภาษีลงมาได้โดยไม่ต้องถึงกับยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนให้ภรรยา จากนั้นก็แกล้งจดทะเบียนหย่ากันหลอกๆ เหมือนที่นักการเมืองของประเทศสารขัณฑ์หลายๆ ท่านที่ชอบมุขนี้กันบ่อยๆ! ตัวอย่าง 2 นายภูชิชย์ และนางนริศรา (ภริยา ซึ่งสมรสกันก่อนปฏิรูป 19 ก.ย.49 (แฮ่ๆ)) ทำงานที่บริษัท แอสเซ็ท เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด ได้รับเงินเดือน 40,000 บาท และ 25,000 บาท ตามลำดับ (เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1)) ต่างฝ่ายหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 40% ไม่เกินคนละ 60,000 บาท) ตกเย็น นางนริศรามีรายได้จากการร้องเพลงที่โรงแรมห้าดาวแห่งหนึ่งอีก 50,000 บาทต่อเดือน (ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)นักแสดงสาธารณะ) หักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับ 300,000 บาทแรกในอัตรา 60% ส่วนที่เกินสามแสนหักเหมาได้อีก 40% แต่รวมแล้วจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี) กรณีที่นายภูชิชย์ นำเงิน เงินเดือนและค่าร้องเพลงของภริยามารวมกับตนแล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 รวมกันจะมีเงินได้พึงประเมินทั้งปีรวม แต่ถ้าวางแผนให้นางนริศรานำเงินเดือน 300,000 บาท ไปแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ภริยาจะเสียภาษีเพียง 11,000 บาท ขณะที่พระเอกหนุ่มจะเหลือเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.90 เป็นเงิน 480,000+600,000 = 1,080,000 บาท คิดเป็นเงินภาษีเพียง 78,000 บาท รวม 2 คน เป็นเงินภาษีที่ต้องชำระ 89,000 บาท จึงประหยัดกว่าวิธีแรกถึง 31,000 บาททีเดียว กฎที่ 2 เลือกเข้าสู่ประเภทเงินได้ที่มีสิทธิหักรายจ่ายสูงๆ ในเมืองไทย อาชีพนายแพทย์เป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีรายได้สูง คนส่วนใหญ่จึงใฝ่ฝันอยากสอบเอนทรานซ์เข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเปิดสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ หลายแห่งทั่วทุกภาค รวมทั้งมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นของเอกชนก็เปิดสอนวิชาแพทยศาสตร์มาหลายปีแล้ว (แม้แต่ น.ส.ไทยคนปัจจุบัน ลลนา ก้องธรณินทร์' ก็ยังสนใจเข้าเรียนแพทยศาสตร์ มหิดลเช่นกัน) เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) หรือ (6) ก็ได้ ตัวอย่าง 3 นายแพทย์พันธ์ศักดิ์ สูตินรีเวชมือหนึ่งแห่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับเงินเดือนๆ ละ 100,000 บาท (สมมติ) และมีเงินได้พิเศษจากการทำงานช่วงเย็น ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ตกเดือนละประมาณ 200,000 บาท แน่นอนว่าเงินเดือนประจำจากโรงพยาบาลรามาธิบดีถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) ส่วนเงินได้จากโรงพยาบาลเอกชน จะเป็นเงินได้ประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ว่าจ้างกันถ้าตกลงว่าจ้างกันในลักษณะเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง แม้จะมีเงินได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผลงานก็ยังคงถือเป็นเงินได้ประเภทเงินเดือนตามมาตรา 40(1) แต่ถ้าเป็นกรณีที่นายแพทย์เป็นผู้กำหนดค่ารักษาพยาบาลตามความยากง่ายของงานเป็นกรณี ๆ ไป ก็จะถือเป็น เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (ม.40(6))ดังนั้นรูปแบบของสัญญาจ้างจะมีผลต่อการเสียภาษีเงินได้ของนายแพทย์ ในกรณีข้างต้นถ้าเงินได้จากโรงพยาบาลเอกชนถือเป็นประเภท ม.40(1) ก็จะหักค่าใช้จ่ายไม่ได้อีก เพราะค่าใช้จ่ายเหมาจากโรงพยาบาลศิริราชเกิน 60,000 บาทแล้ว แต่ถ้าตีเป็นเงินได้ประเภท ม.40(6) ก็จะสามารถ หักค่าใช้จ่ายเหมาได้อีกถึง 60% ของเงินได้จากโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเป็นผลให้นายแพทย์ท่านนี้สามารถประหยัดภาษีลงมาได้ถึง 432,000 บาท เลยทีเดียว! อนึ่ง เงินได้แต่ละประเภทอาจถูกวินิจฉัยเข้าเป็นเงินได้ใด ๆ ได้มากกว่า 1 ประเภท ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น ลักษณะของสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงทาง ธุรกิจ จำนวนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่เข้าใจถึงหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของการจำแนกประเภทเงินได้ของแต่ละมาตรา จึงอาจวางแผนการเสียภาษีของตนให้ต่ำลงได้ ตัวอย่าง 4 แสดงตัวอย่างการจำแนกประเภทเงินได้ 4 กรณี ดังนี้ครับประเภทกิจการ ทางเลือกในการจำแนกประเภทเงินได้ (เพื่อวางแผนภาษี) 1. นายหน้าค้าที่ดิน เป็นเงินได้ประเภทนายหน้าตัวแทน ตามมาตรา 40(2) กรณีซื้อมาขายไปอสังหาริมทรัพย์ ก็จะถูกจัดเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)ซึ่งแม้จะ หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า แต่ก็มีภาระภาษีหลายประเภท เช่น ค่าธรรมเนียมโอน 2% ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% หรือค่าอากรแสตมป์ 0.5% เป็นต้น 2. เงินได้จากการให้เช่าอพาร์ตเมนต์ เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5)กรณีให้เช่าทรัพย์ตามมาตรา 537 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท กรณีเป็นกิจการทำนองเดียวกับโรงแรม เช่น บังกะโล เกสท์เฮ้าส์ จะถูกจำแนกเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร (เลือกหักเหมา 70% หรือหักรายจ่ายจริงก็ได้) 3. การประกอบโรคศิลปะ เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1)หากมีนิติสัมพันธ์ฉันนายจ้างกับลูกจ้างของโรงพยาบาล เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) เงินได้จากการรับทำงานให้ โดยรับค่าตอบแทนตามผลสำเร็จของงาน เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6) กรณีแพทย์เป็นผู้กำหนดค่ารักษาพยาบาลตามความยากง่ายของงานอย่างอิสระ + คนไข้เป็นลูกค้าของแพทย์ (มิใช่ของโรงพยาบาล)(หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 60% หรือหักรายจ่ายจริงก็ได้)เป็นเงินได้มาตรา 40(8)กรณีเปิดเป็นสถานพยาบาลโดยมีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (เลือกหักค่าใช้จ่ายเหมา 75% หรือหักรายจ่ายตามจริงก็ได้) 4. การรับเหมาก่อสร้าง กรณีรับจ้างเฉพาะค่าแรง โดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาวัสดุ จะถือเป็นเงินได้มาตรา 40(2) กรณีผู้รับจ้างรับเหมาทั้งนายแพทย์ส่วนใหญ่มักทำงานประจำโดยรับราชการในโรงพยาบาลของรัฐ และมีเงินได้พิเศษอีกหลายทาง เช่น เปิดคลินิกส่วนตัว หรือทำงานพิเศษตามโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น กรณีนี้จึงอาจเข้าลักษณะ ค่าแรง + วัสดุ + เครื่องมือก่อสร้าง จะถือเป็นเงินได้มาตรา 40 (7) ซึ่งมีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายจริง หรือเลือกหักเหมา 70% ก็ได้
ในอดีต ใครลองริเอ่ยคำว่า ประหยัดภาษี/วางแผนภาษี รับรองว่าท่านจะต้องถูกเหล่าวายุภักษ์ (สรรพากร) น้อยใหญ่รุมสกรัมแน่นอน ด้วยมองว่า เจ้าหมอนี่ กำลังคิดจะหนีภาษีแน่ๆ เลย! ครั้นล่วงมาถึงยุค คมช. (เอ๊ย)
ยุคโลกาภิวัตน์ ทัศนคติต่อการ วางแผนภาษี เริ่มกระเตื้องขึ้น และเป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกันกับในต่างประเทศ ข้อเขียนในวันนี้ จะขอนำท่านผู้อ่านเจาะลึกเข้าไปเรียนรู้ถึงกลยุทธ์/กลวิธีประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต่อจากฉบับก่อน กฎที่ 3 กระจายเงินได้เป็นหลายปีภาษี บุคคลธรรมดา ใช้เกณฑ์เงินสดในการเสียภาษี คำว่าเกณฑ์เงินสด (cash basis) เป็นศัพท์ทางการบัญชี ความหมายก็คือ หน่วยภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดา (ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง) จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินก็ต่อเมื่อได้รับชำระเงินแล้วเท่านั้น (คำว่าเงินได้ที่ได้รับจะครอบคลุมถึง เงินสด เช็ค ธนาณัติ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับ) ดังนั้น การกระจายจำนวนเงินสดรับออกเป็นหลายปีภาษี ย่อมลดภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มิให้เข้าสู่ช่วงเงินได้ในอัตราก้าวหน้าขั้นถัดๆ ไป(ปัจจุบัน personal income tax rate ของไทยอยู่ที่ 10 - 37%) ตัวอย่าง 1 หาญ บรรยง อาชีพรับเหมาก่อสร้าง ทำสัญญารับเหมาช่วงงานก่อสร้างถนนวงแหวนจากบริษัท กูมาไก กูขี้เกียจทำเอง จำกัด กำหนดเวลาก่อสร้าง 2 ปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 ถึง 30 ตุลาคม 2549 มูลค่างาน 200 ล้านบาท กำหนดแบ่งจ่ายเงินเป็น 5 งวด ดังนี้ ตัวอย่าง 2 ก๊วยเจ๋ง เซียนขายรถยนต์มือทองสมองเพชร ในปี 2549 ทำสถิติยอดขายรถยนต์นำเข้า สุดหรู เบนทรี ราคาคันละ 30 ล้านบาท 100 คัน จนเป้าทะลุและแตกกระจุย เป็นที่งุนงงแก่บริษัทผู้ผลิตในประเทศอังกฤษ จนไม่เชื่อสายตาว่า จริงหรือหว่า ที่เมืองไทยกำลังถูกพิษเศรษฐกิจจนบอบช้ำสาหัส ดั่งที่สื่อตะวันตกประโคมโหมข่าว(แฮ่ๆ) รางวัลความเก่งของ ก๊วยเจ๋ง คือ ปรับเงินเดือน 2 ปี 4 ขั้น + ถ้วยเกียรติยศรูป คทาเพชรชูหัวแม่โป้ง + โบนัส 10 เดือน (กำหนดจ่าย 31 ธ.ค. 2549) ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ปี 2549 ก๊วยเจ๋ง จะต้องนำเงินได้ทั้งหมดมารวมคำนวณยื่นแบบ คือ เงินเดือนๆ ละ 100,000 บาท รวม 1.2 ล้านบาท + ถ้วยรางวัล + โบนัส 1 ล้านบาท ลำพังการยื่น ภ.ง.ด.91 เฉพาะตัวเงินเดือนอย่างเดียว ก๊วยเจ๋ง ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประมาณ 173,000 บาท การนำโบนัส มารวมคำนวณภาษีในปี 2549 เข้าอีก ก็จะทำให้อัตราภาษีสำหรับโบนัส กรณีเช่นนี้ หาก ก๊วยเจ๋ง ขออนุญาตลาพักร้อนในช่วงปีใหม่แล้วกลับมารับเงินโบนัส 1 ล้านบาท ในเดือนมกราคม 2550 กรณีนี้ก็จะสามารถแยกเงินโบนัสไปถือเป็นเงินได้ของปีภาษี 2550 ได้ตามเกณฑ์เงินสดจ้า! กฎที่ 4 ตั้งตัวแทนเชิด หรือสงครามตัวแทนเมื่อคืนนี้ ผู้เขียนได้นั่งตรวจข้อสอบของนักศึกษา X-MBA รุ่น 20 ในวิชาการวางแผนภาษี (บธ.625) ซึ่งคำถามในข้อ 1 ถามถึงความหมายของคำว่า การวางแผนภาษี และขอให้นักศึกษายกตัวอย่างสัก 1 กรณี ปรากฏว่ามีลูกศิษย์หัวกะทิ 2 ท่าน ยกตัวอย่างดังนี้ครับ ตัวอย่าง 3 ในช่วงปีใหม่ 2550 ที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลได้จัดรายการฉลองครบรอบก่อตั้งมา 65 ปี Mid Night Sales ข้าพเจ้าได้ไปชอปปิ้งพร้อมกับ "ก๊วยเจ๋งเพื่อนซึ่งทำธุรกิจโรงงานส่งออกเสื้อผ้าซึ่งมียอดขายปีละกว่า 200 ล้านบาท ระหว่างที่พวกเราเข้าไปรับประทานอาหารเย็นที่ร้าน The Terrace ภรรยาของเพื่อนนาม อึ้งย้ง พร้อมลูกๆ 4 คน ได้ขอแยกตัวไปชอปปิ้งต่อจนหมดเงินไปร่วม 500,000 บาท และได้รับคูปองชิงโชคมา 1,000 ใบ โดยรางวัลใหญ่สุด คือ รถยนต์ Benz 500 SEL ราคา 15 ล้านบาท (ว้าว !) ข้าพเจ้าได้ใช้วิชาวางแผนภาษีซึ่งร่ำเรียนมากับอาจารย์จนได้รับเกรด A แนะนำให้ อึ้งย้ง เขียนชื่อของลูกชายและลูกสาวในคูปองชิงโชคจนก๊วยเจ๋งสงสัย ถามว่า เป็นเคล็ดลับจากสวรรค์หรืออย่างไรข้าพเจ้าจึงยืดอกตอบอย่างผึ่งผายไปว่า หากโชคดี เกิดถูกรางวัลที่ 1 แล้วไซร้ ผู้โชคดี (หรือโชคร้ายหว่า !) จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 5%(รางวัลในการประกวด แข่งขัน หรือชิงโชค) และสิ้นปีจะต้องนำมูลค่ารถยนต์ไปรวมยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 กับเงินได้อื่นด้วย (ถ้ามี) ซึ่งกรณีของก๊วยเจ๋งนั้นรายได้สูงปรี๊ดจนติดเพดานจนต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา 37% อยู่แล้วนอกจากนั้น ยังต้องถูกห้างเซ็นทรัล เรียกเก็บ VAT อีก 7% ของมูลค่ารถยนต์ 15 ล้านบาทอีกด้วย ดังนั้น การผลักเงินรางวัลไปสู่ลูก ย่อมประหยัดภาษีเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.90 ของตน เพราะลูกเป็นผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยเริ่มตั้งต้นเสีย ภาษีในอัตราก้าวหน้าจาก 10 - 37% ตามลำดับ ซึ่งประหยัดกว่าการถือรถยนต์เป็นเงินได้ของบิดา ตัวอย่าง 4 ข้าพเจ้า จิวแป๊ะทง เป็นพนักงานในระดับสุดยอดบริหารได้รับเงินเดือนประจำรวมประมาณ 5 ล้านบาทต่อปี และบังเอิญผลประกอบการของบริษัทในปีนี้ก็ดีมากๆ ซะด้วย จึงจ่ายโบนัสแก่ข้าพเจ้าอีก 2 ล้านบาท ข้าพเจ้าไตร่ตรองดูแล้ว พบว่าลำพังรายได้จากเงินเดือนก็โดนภาษีถึง อัตราเพดานสูงสุด คือ 37% แล้ว หากนำโบนัสมาถมเข้าไปอีกตัวโบนัส 2 ล้านบาท ก็ต้องโดนภาษี 37% จากเงินทั้งก้อน ซึ่งโหดร้ายเกินไป อย่ากระนั้นเลย ด้วยความเสียดาย ข้าพเจ้าจึงเข้าไปอ้อนวอนให้พี่สะใภ้ ซึ่งไม่ได้ทำงานอะไร ให้เป็นผู้มารับเงินก้อนดังกล่าวแทนโดยถือเป็นรายได้ค่าที่ปรึกษาในฐานะครูบาอาจารย์ ได้เน้นย้ำว่าในการตอบข้อสอบวิชาการวางแผนภาษี จะต้องตั้งบนหลักการของการหลีกบ่วงภาษี (tax avoidance) มิใช่การฉ้อฉลทางภาษี (tax evasion) ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายกรณีตามตัวอย่าง 3 ยังพอกล้อมแกล้มให้คะแนนไป แต่ในตัวอย่าง 4 ยังคิดไม่ตกว่าจะให้ศูนย์หรือให้คะแนนติดลบ! เพราะในทางปฏิบัติจะต้องโดนเหล่านายตรวจของสรรพากรเช็คบิลแน่ๆ เลย! ประเด็นการตั้งตัวแทนเชิดนั้น ในประวัติศาสตร์ของกรมสรรพากร ก็ได้เคยบันทึกรายชื่อผู้กล้าเหล่านั้น เป็นคดีความถึงชั้นศาล และมีคำพิพากษาฎีกาตัดสินเป็นบรรทัดฐานไว้หลายคดีว่า ให้เจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้ที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น ๐ คำพิพากษาฎีกาที่ 599/2533 กรมสรรพากรโจทก์ นายมนูญ เนาวคุณ จำเลย เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าโดยยึดตามหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ดิน ซึ่งในกรณีนี้จำเลยเป็นเพียงกระเป๋ารถเมล์ ซึ่งลงชื่อสั่งซื้อและสั่งขายที่ดินดังกล่าวภายในวันเดียวกันโดยปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้านายของตน ลักษณะของจำเลยจึงเป็นเพียงตัวแทน มิใช่ผู้มีเงินได้ที่แท้จริง กรณีนี้จึงไม่ต้องเสียภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานฯ ตามนัยมาตรา 61 แห่งประมวลรัษฎากร ๐ มารดาเป็นผู้ประกอบกิจการโรงแรม ได้ยกรายได้ทั้งหมดของโรงแรมแก่บุตร มารดาย่อมกระทำได้ ตามนัยมาตรา 521 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ภาระการเสียภาษี ยังคงตกอยู่แก่มารดาเพราะมิได้โอนชื่อในทะเบียนที่ดินและอาคารโรงแรมให้แก่บุตร(หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/13626 ลงวันที่ 4 กันยายน 2532) กฎที่ 5 คน(เคย)รวย ควรยื่นแบบอย่างไร? คน (เคย)รวย ในอดีตนั้น ในวันนี้ได้กลายเป็นเจ้าของกิจการขนาดย่อมๆ กันเกร่อไปหมด (จะเรียกเป็นพวกกิจการ SMEs ก็ย่อมได้) ธุรกิจท็อปฮิตคงเป็นร้านขายอาหาร รองๆ ลงไปได้แก่ ร้านขายน้ำดื่ม ซูเปอร์มาร์เก็ต ซื้อมาขายไป สินค้าชีวจิต เปิดท้ายรถขายเสื้อผ้า เป็นต้น กรณีเหล่านี้จึงจัดเป็นเงินได้ประเภท 40(8)แทบทั้งนั้น เงินได้ประเภทนี้ กฎหมายเปิดช่องให้เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ หักตามจ่ายจริง (ต้องมีบิลมาสำแดง)หรือจะเลือกหักเหมาประมาณ 70% (ร้านอาหาร) ถึง 80% (ซื้อมาขายไป) ก็ได้ ตัวอย่าง 5 คุณทราย ดารานำจากภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เกิดติดใจอาชีพเปิดท้ายรถเพื่อขายของ ซึ่งมีรายรับก่อนหักรายจ่าย 100,000 บาทต่อเดือนถ้ายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยเลือกขอหักค่าใช้จ่ายจริงอันได้แก่ต้นทุนซื้อของ ค่าเช่า ค่าน้ำมันรถ ฯลฯ รวมแล้วประมาณ 90% ของรายรับจะเหลือเงินได้สุทธิเพียง (100,000 x 12) - 90% = 120,000 บาท(หักลดหย่อน ส่วนตัวได้อีก 30,000 บาท) จึงไม่ต้องเสียภาษี (เงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรกได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) ต่อมาถ้าโชคไม่ดีเกิดโดนตรวจภาษีย้อนหลัง รายจ่ายที่กรอกไว้ 90% จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทันที เพราะไม่มีบิลมาสำแดง ทำให้เงินได้สุทธิจากการตรวจสอบจะกลายเป็น 1,170,000 บาท ต้องเสียภาษีถึง 191,000 บาท และโดนเบี้ยปรับอีก 1 เท่า พร้อมเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือน ไม่คุ้มเลย วิธีลดความเสี่ยงก็คือ ให้เลือกขอหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 80% แม้จะมีภาษีต้องเสียตามแบบ ภ.ง.ด.90 เป็นเงิน 110,000 บาท ซึ่งสูงกว่าวิธีแรก แต่ทางเลือกที่สองนี้ เป็นวิธียื่นแบบที่ปลอดภัยไร้กังวลชั่วนิรันดร์จ้า
20 กฎ ลดภาษีบุคคลธรรมดา (3) ข้อเขียนในวันนี้จะนำเสนอ กลยุทธ์ประหยัดภาษีบุคคลธรรมดา ตอนที่ 3 (สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการค้นข้อมูลของ 2 ตอนแรก กรุณาClick ไปได้ที่ www.tax-thai.com นะครับ กฎที่ 6 การแตกหน่วยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคลการตั้งคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นหลักการพื้นฐานที่สุด และได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดในหมู่ผู้เสียภาษีที่มีอันจะกินทั้งหลายเพราะมีรายได้แยะ จึงต้องการลดฐานภาษี มิให้ก้าวล่วงเข้าสู่ช่วงเงินได้ที่สูง ๆ ตาม มาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) อันสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น มาตรา 1013 แห่ง ปพพ. ได้แบ่งประเภทของห้างหุ้นส่วนออกเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด (ต้องจดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์) สำหรับ คณะบุคคล (การร่วมกันทำกิจการของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์แบ่งเป็นผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการที่กระทำร่วมกันดังกล่าว) นั้นไม่มีสถานภาพบุคคลตาม ปพพ. แต่ในบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร ถือให้เป็นหน่วยภาษีที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญ ตัวอย่างเช่น ๐ นาย ก. และ นาย ข. ได้ร่วมกันซื้อที่ดินโดยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกันและร่วมกันสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินเพื่อขาย ต่อมาได้ยื่นคำร้องต่อกรมที่ดินเพื่อขอแยกโฉนดเป็นแปลงย่อย 12 แปลง โดยแบ่งกันถือครองคนละ 6 แปลง สำหรับการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น บุคคลใดมีชื่อถือครองกรรมสิทธิ์ ก็จะเป็นผู้โอนแก่ลูกค้า กรมสรรพากรวินิจฉัยว่า กรณีถือเป็นการประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จดทะเบียน การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 จะต้องกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งกรมที่ดินได้รับชำระไว้ในนามบุคคลธรรมดาแต่ละคนยอมให้นำมาถือเป็นเครดิตภาษีของห้างหุ้นส่วนได้ (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/1287 ลงวันที่ 23มกราคม 2539) ๐ การฝากเงินโดยใช้ชื่อบัญชีเงินฝากว่า นาย ก. หรือ นาย ข. เข้าลักษณะเป็น คณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคล กรณีจึงต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ในนามของคณะบุคคล (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/7229 ลงวันที่ 18 เมษายน 2534) ข้อดีของการจัดตั้งหน่วยภาษี แบบคณะบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญมีชัดเจน 2 ประการ คือ (1) เป็นการแตกหน่วยภาษี เพื่อลดภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบ้านเราเป็นอัตราก้าวหน้า 10%-37% กล่าวคือ เงินได้ของบุคคลใดยิ่งสูง ก็จะยิ่งถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเหมือนขั้นบันได (2) ส่วนแบ่งกำไร ที่ได้รับจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งได้มีการชำระภาษีเงินได้มาแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วน ไม่ต้องนำมาเสียภาษี เงินได้ซ้ำซ้อนอีก (มาตรา 42 (14) แห่งประมวลรัษฎากร) ตัวอย่าง 1 โก๊ะตี๋ ทารกแคระ (แฮ่ ๆ อายุเลยวัยเบญจเพส + เกณฑ์ทหารแล้วด้วย แต่ยังแสดงเป็นเด็กอย่างน่าอิจฉา!) มีรายได้จากการเดินสายโชว์เดี่ยวตามคอฟฟี่ช้อปต่าง ๆ ประมาณ 200,000 บาท ต่อเดือน (สมมติ) หรือ ปีละ 2.4 ล้านบาทต่อปี ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40 (8) ประเภทนักแสดงสาธารณะ (ซึ่งหักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ได้ร้อยละ 60 ในงานฉลองตรุษจีนปี 2550 ที่เยาวราช (สมมติว่า) โก๊ะตี๋ + เอ็ดดี้ ผีน่ารัก (สมมติว่าทั้งคู่ยังดูดดื่มกันอยู่) ได้ร่วมกันตั้งคณะบุคคล เพื่อรับงานแสดง 3 คืน 1 ล้านบาทถ้วน กรณีเช่นนี้ หากนำเงินได้ไปรวมกับฐานรายได้เดิมของโก๊ะตี๋ เงินได้ก้อนใหม่ 1 ล้านบาทนี้ ก็จะต้องถูกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถึง 30% เป็นเงิน 300,000 บาท แต่การแยกเงินได้ออกมารับงานในนามคณะบุคคล การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของหน่วยภาษีใหม่จะเริ่มนับหนึ่งใหม่ โดยคำนวณตามสูตร เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน กรณีจึงเสียภาษีในนามคณะบุคคลเพียง 38,000 บาท ประหยัดภาษีลง ตัวอย่าง 2 กรกฎ พระเอกหนุ่ม (ใหญ่) ในภาพยนตร์โทรทัศน์ ละอองดาวได้นั่งฟังตัวอย่างการประหยัดภาษีของโก๊ะตี๋ เกิดติดอกติดใจอยากจะประหยัดภาษีเงินได้ของตนเช่นกัน เพราะรายได้ของตัวเองก็ป๊อปปูล่าร์ไม่แพ้ใครในสยามประเทศ อาทิเช่น นายแบบโฆษณา นักร้อง นักแสดง และพรีเซ็นเตอร์สินค้าหลายยี่ห้อ ฯ ล ฯ ครั้น กรกฎ จะหันไปจัดตั้งคณะบุคคลร่วมกับนางเอกดังๆ ก็เกรงจะตกเป็นข่าว อย่ากระนั้นเลย จึงหันไปคว้าเอาชื่อลูกสาววัย 3 ขวบ ของพี่สาวนาม แองเจิล มาร่วมตั้ง คณะบุคคล กรกฎ - แองเจิล เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ เพื่อแตกฐานรายได้ของตนลงมาดีกว่า แฮ่ๆ กรณีของ กรกฎ มีช่องโหว่ และพิรุธให้สรรพากรโจมตีได้แยะเพราะไม่สมเหตุสมผลที่ทารกวัย 3 ขวบจะมาร่วมธุรกิจกันจริง จึงมองได้เป็น นิติกรรมอำพราง เช่นเดียวกันกับกรณีการถ่ายโอนหุ้นแก่คนขับรถและคนรับใช้ของใครบางคนนั่นแหละ! นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า ในโลกของความเป็นจริงนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างมิได้ง่ายดายดังเช่นบทแสดงในโลกมายา ดอกนะ กฎที่ 7 เลือกวิธีเสียภาษี ณ ที่จ่าย เป็น Final tax หลักการพื้นฐานอย่างหนึ่งของการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็คือ เรื่องของประเภทเงินได้ที่กฎหมายเปิดช่องให้ผู้เสียภาษีมีสิทธิเลือกแยกคำนวณต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่นๆ อันได้แก่ (1) ภริยานำเงินเดือน (มาตรา 40 (1)) ของตนแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ต่างหากจากสามี (2) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ซึ่งผู้เสียภาษีเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (3)เงินปันผล (มาตรา 40(4)(ข)) ซึ่งเลือกวิธีเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ (4) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก / จากการให้โดยเสน่หา หรือที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร อาจเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพียงไม่เกิน 20% ของเงินได้ (5) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่วันได้มาซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบและภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (พ.ร.ฏ. # 247 พ.ศ. 2534) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 รวมกับเงินได้ประเภทอื่น (6) ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และยอมให้ผู้จ่ายเงินหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในอัตรา 10% ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณในการ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ตอนปลายปี (7) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้หรือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ (capital gain) ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ซึ่งผู้มีเงินได้เลือกเสียภาษีในอัตรา 15% โดยไม่ต้องนำมารวมกับเงินได้อื่นก็ได้ (8) เงินได้ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานและได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ผู้เสียภาษีอาจเลือกวิธีเสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องนำมารวมในการยื่นแบบตอนปลายปี แต่ต้องแสดงรายการในใบแนบพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ตัวอย่าง 3 ปี 2544 คณะบุคคล ขวัญ - เรียม เปิดบัญชีเงินฝากประจำ 12 เดือน วงเงิน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2.5% (ถูกเป็นบ้า !) ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ 15% ของยอดดอกเบี้ย 25,000 บาท =3,750 บาท สิ้นปี 2549 หากคณะบุคคล ดังกล่าวไม่มีเงินได้ประเภทอื่น กรณีก็จะไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพราะมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด คือ 30,000 บาท (มาตรา 56) หมายเหตุ แฮ่ๆ Case นี้ทำท่าจะ happy ending แต่บังเอิญ กรมสรรพากรไม่ยอมรับคณะบุคคลระหว่างสามี + ภริยา กรณีจึงจบลงด้วยความเศร้า เคล้าน้ำตาคล้ายดั่งละคร แผลเก่า + เพลง แสนแสบ เพราะต้องนำรายได้ดอกเบี้ยดังกล่าวไปรวมยื่นแบบในนามของเจ้าขวัญ (สามี) ! อย่างไรก็ตาม กรณีของคนรวยซึ่งมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้น การตัดสินใจเลือกเสียภาษีวิธีใดให้พิจารณาว่าภาระภาษีจากการเลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ว่าจะสูงกว่า / ต่ำกว่า ภาระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายซึ่งเก็บคงที่ในอัตรา 15% (ดูตาราง) ทางเลือก ดอกเบี้ยรับ (บาท) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 15% ภาษีจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 การตัดสินใจ ดอกเบี้ยรับ (บาท) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 15% 1. 50,000 7,500 - เลือกยื่น ภ.ง.ด.90 ซึ่งมีสิทธิขอคืนภาษี ณ ที่จ่ายได้ทั้งหมด
บทความโดย: อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ amornsak@tax-thai.com ที่มา : www.tax-thai.com |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |