บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
1. ค่าขึ้นศาล คดีที่มีทุนทรัพย์ ได้แก่ คดีที่โจทก์เรียกร้องโดยมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เช่น คดีที่มีคำขอเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินซึ่งยังมิได้เป็นของตนจากผู้อื่นมาเป็นของตน โดยจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องนั้นถือเป็นทุนทรัพย์ สำหรับค่าขึ้นศาลในคดีที่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียอัตราร้อยละ 2.50 บาท ของจำนวนทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท คดีไม่มีทุนทรัพย์ คือ คดีที่โจทก์มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เช่น ขอให้บังคับจำเลยให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้อ้างหรือเรียกร้องเป็นจำนวนเงินหรือทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง สำหรับค่าขึ้นศาลในคดีไม่มีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียเรื่องละ 200 บาท ในกรณีเป็นคดีมีทุนทรัพย์กับไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันให้คิดค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 2.50 บาท ของจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องโดยเป็นเงินอย่างต่ำ 200 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท คำฟ้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คิดค่าขึ้นศาลอัตราร้อยละ 1 บาท ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อนุญาโตตุลาการกำหนดไว้ในคำชี้ขาดแต่ไม่เกิน 80,000 บาท คำฟ้องขอให้บังคับจำนองหรือบังคับเอาทรัพย์สินจำนองหลุด คิดค่าขึ้นศาลตามจำนวนหนี้ที่เรียกร้องในอัตราร้อยละ 1 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 หรือ 228 เสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท ค่าขึ้นศาลในอนาคต (เกี่ยวกับค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าเสียหาย ) เช่นถ้าไม่ได้ขอดอกเบี้ยก่อนฟ้อง แต่ขอดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันชำระเสร็จ ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคตอีก 100 บาท
ค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้น ตามปกติศาลจะคำนวณค่าขึ้นศาลเมื่อโจทก์ยื่นฟ้อง แต่ถ้าต่อมามีการแก้ไขคำฟ้องหรือมีเหตุประการอื่นอันทำให้จำนวนทุนทรัพย์เพิ่มขึ้นโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เพิ่มนั้น
วิธีคำนวณค่าขึ้นศาล ในการคำนวณค่าขึ้นศาลถ้าทุนทรัพย์ไม่ถึง 100 บาท ให้นับเป็น 100 เศษของ 100 บาท ถ้าถึง 50 บาท ให้นับเป็น 100 ถ้าต่ำกว่า 50 บาท ให้ปัดทิ้ง การคำนวณมีวิธีการง่ายๆ คือ ให้นำทุนทรัพย์ตั้งแล้ว หารด้วย 40 เช่น ทุนทรัพย์ = 21,050 บาท 2. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในคดีแพ่ง การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล กรณีที่โจทก์หรือจำเลยเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล โจทก์หรือจำเลยอาจยื่นคำร้องขออนุญาตยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้ เรียกว่าการฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถา ซึ่งขอได้ทุกระดับชั้นศาล ผู้ขอจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลพร้อมกับคำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา หรือคำให้การ และสาบานตัวต่อเจ้าหน้าที่ศาลว่า ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งเจ้าหน้าที่ศาลจะบันทึกถ้อยคำสาบานเอาไว้ศาลจะฟังคู่ความทุกฝ่ายโดยไต่สวนก่อนพิจารณาสั่ง ถ้าศาลอนุญาตให้ฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาทั้งหมด ผู้นั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ซึ่งรวมถึงเงินวางศาล อันได้แก่เงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่ฝ่ายชนะคดีในศาลล่างสำหรับการยื่นฟ้องอุทธรณ์ หรือฎีกา แต่ถ้าศาลอนุญาตให้ฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาเพียงบางส่วนผู้นั้นจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะส่วนที่ศาลสั่งยกเว้นให้ 3. ค่าใช้จ่ายอื่น ในการดำเนินคดีแพ่ง คู่ความอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก เช่น ค่าส่งหมาย ค่าทำแผนที่พิพาท ค่าป่วยการและค่าพาหนะพยาน ค่าตรวจเอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น ที่มา : ห้องสมุดอิเล็กโทรนิกส์ศาลยุติธรรม |
การทวงหนี้ กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่ ไม้ตายจัดการเจ้าหนี้นอกระบบ สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์ ลิขสิทธิ์ Copyright Law หมิ่นประมาท เหยียดหยาม กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ กฎหมายประกันสังคม กฎหมายแรงงาน มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย หมิ่นประมาท กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้ ทำอย่างไร..เมื่อได้รับ "หมายศาล" ความยินยอมของคู่สมรส เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้ ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร ผู้ต้องหามีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน อายุความบัตรเครดิต 2 ปี หมายความว่าอย่างไร เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 2) หลักประกันตัวในคดีอาญา ผู้ให้และผู้รับ ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 1) ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง |