บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ทายาทต้องเสียภาษีให้รัฐแทนผู้ตายหรือไม่
ทายาทต้องเสียภาษีให้รัฐแทนผู้ตายหรือไม่
ภายหลังจากสามีถึงแก่กรรมลง ภริยาและลูกทั้งสองได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ไปเสียภาษาอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลจากเจ้าหน้าที่ประเมิน สาเหตุเพราะสามีได้สำแดงสินค้าที่สั่งนำเข้ามาในประเภทผิดจากข้อเท็จจริง กรณีนี้แม้ว่าจะไม่เต็มใจเสียภาษีให้รัฐตามที่เจ้าหน้าที่ได้แจ้งมานั้น จะปฏิเสธฐานะของทายาทผู้รับมรดกตกทอดในทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตกทอดแก่คนยังมีชีวิตอยู่และเป็นทายาทในทรัพย์มรดกได้อย่างไร นายสุนทร มีอาชีพสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายในประเทศไทยเป็นเวลาช้านาน แต่งงานมีครอบครัว ภรรยาชื่อนางมารศรี มีลูกด้วยกันสองคน กระทั่งล้มป่วยจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา หลังจากเสร็จสิ้นงานศพของสามี มารศรีผู้เป็นภรรยาของผู้ตายได้รับแจ้งการประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลจากเจ้าหน้าที่ประเมิน ในเวลาต่อมา มารศรีและลูกทั้งสองตกเป็นจำเลยในฐานะทายาทของสุนทรร่วมกันรับผิดชำระค่าภาษีอากรจำนวนเงิน 489,000 บาท ให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับแต่ละคน จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดี ขอให้ยกฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าอากรขาเข้า 236,056 แก่โจทก์แต่ต้องไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกของสุนทรที่ตกทอดให้แก่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของผู้ตาย โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสุนทรนำเข้าสินค้าผ้าจากฮ่องกง ประเทศผู้ผลิตคือสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามาในราชอาณาจักรไทยทางด่านศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ ต่อมาเจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจพบว่าสินค้านำเข้ามาดังกล่าวผิดจากข้อเท็จจริงที่ได้สำแดงไว้ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจากที่สำแดงไว้ มีผลให้สุนทรต้องชำระภาษีอากรค้างชำระเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มทุกประเภทรวมเป็นเงิน 489,000 บาท ปัญหาการวินิจฉัยจึงมีอยู่ว่าการที่โจทก์ทำการประเมินแจ้งไปยังทายาทของสุนทรโดยชอบแล้วหรือไม่ ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์จำเลยนำสืบมิได้นำสืบโต้แย้ง เพียงแต่ฟังได้ว่าภายหลังที่สุนทรถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2537 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาของสุนทรได้รับแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลจากเจ้าหน้าที่ประเมินเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2539 ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเห็นได้ว่า เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาและทายาทของสุนทรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 วรรคสองแล้วโดยมิได้ระบุชื่อจำเลยทั้งสามคนใดคนหนึ่งลงในแบบแจ้งการประเมิน แม้จะไม่ถูกต้อง แต่ก็ได้มีการแจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ผู้เป็นภรรยาและทายาทจึงถือได้ว่าทายาทของสุนทรทราบแล้ว ส่วนปัญหาที่ว่า จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดชำระค่าภาษีแก่โจทก์เพียงใดนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินค่าภาษีอากรจำนวน 489,000 บาท แก่โจทก์ แต่ให้รับผิดไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกของสุนทรที่ตกทอดแก่จำเลยทั้งสาม ข้อมูล : เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 1817/2541 ที่มา : คอลัมภ์ฏีกาชีวิต โดย รศ.พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช หนังสือพิมพ์มติชน |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |