ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



5 ร : เมื่อถูกสรรพากร ตรวจสอบประเมินภาษี

 

                                              5 ร : เมื่อถูกสรรพากร ตรวจสอบประเมินภาษี
 

   ท่านควรรู้ว่าจะทำอย่างไรเมื่อท่านถูกกล่าวหาว่าเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือถูกประเมินภาษี

ผู้เขียนได้กล่าวถึงบัญญัติ 10 ประการเกี่ยวกับเมื่อถูกประเมินภาษีว่า ผู้เสียภาษีควรจะทำเช่นไร ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมการ การชี้แจง รวมทั้งการอุทธรณ์และการประเมินภาษีต่างๆ ของกรมสรรพากร

สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่าในการเตรียมตัวเมื่อถูกประเมินภาษีนั้น ผู้เสียภาษีหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องมี 5 ร ที่ต้องรู้อยู่ 5 ร ด้วยกันเพื่อที่พร้อมรับหรือชี้แจงหรือต่อสู้เมื่อมีการประเมินภาษีอากรนั้นได้อย่างดี

“ร” ที่ 1 คือ รู้กฎหมาย คำวินิจฉัยของกรมสรรพากรและคำพิพากษาในประเด็นภาษีดังกล่าว ผู้ที่ถูกประเมินภาษีจะต้องมีความรู้ ประเด็นกฎหมายว่าตามกฎหมายท่านมีข้อต่อสู้ทางกฎหมายหรือไม่ และเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายในการประเมิน

การรู้ประเด็นข้อกฎหมายตลอดจนคำวินิจฉัยของกรมสรรพากรและคำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยที่เกี่ยวกับประเด็นที่ถูกประเมินนั้น จะทำให้ท่านสามารถต่อสู้หรือเจรจากับเจ้าพนักงานประเมินได้หรือไม่

เป็นที่ยอมรับกันว่า การประเมินภาษีในบางครั้ง แม้ผู้เสียภาษีจะมีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินเป็นประโยชน์ เจ้าหน้าที่ประเมินภาษีก็อาจจะไม่ยอมรับหรือปฏิบัติตามคำพิพากษาได้เพราะอาจจะอ้างว่าเหตุและข้อเท็จจริงอาจจะไม่ตรงกัน และอาจจะให้ผู้เสียภาษีต้องให้นำเรื่องดังกล่าวไปสู่ศาลได้อีก

แต่ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ประเมินอาจจะยอมรับฟังคำวินิจฉัยของกรมสรรพากร ซึ่งได้ตอบไว้ในประเด็นดังกล่าว อาจจะเป็นคำวินิจฉัยโดยเฉพาะหรือคำวินิจฉัยทั่วไป หรือหนังสือเวียนของกรมสรรพากร

ดังนั้น ผู้ที่ถูกประเมินจำเป็นจะต้องมีความรู้และความเข้าใจคำวินิจฉัยของกรมสรรพากรและคำพิพากษาตลอดจนกฎหมายนั้นเป็นอย่างดี ปัจจุบันผู้ถูกประเมินภาษีสามารถค้นคว้าคำวินิจฉัยนั้นได้จาก website กรมสรรพากร หรือ website ของศาลภาษีอากรกลางที่มีคำพิพากษาฎีการวบรวมไว้

การรู้กฎหมาย คำวินิจฉัย คำพิพากษานั้น จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการประเมินโอกาสของผู้เสียภาษีและอธิบายชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ได้

“ร” ที่ 2 คือ รู้สิทธิตามกฎหมาย ก็คือ หลังจากรู้กฎหมายแล้ว ต้องรู้ว่าผู้เสียภาษีมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไร เช่น การรู้สิทธิตามกฎหมายต้องตรวจสอบดูว่า การประเมินต้องชอบด้วยกฎหมาย จึงต้องพิจารณาว่าการประเมินของเจ้าหน้าที่ประเมินนั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ สิทธิของผู้เสียภาษีในการขอลดเบี้ยปรับได้ แม้ว่าจะขอลดเงินเพิ่มไม่ได้ แต่ว่าจะมีการลดเงินเพิ่มในบางกรณีเมื่อมีการขยายระยะเวลาการชำระภาษี สิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยการประเมินของเจ้าพนักงานต่อพนักงานอุทธรณ์ และฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง

การใช้สิทธิมีกำหนดเวลาและเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ ผู้ถูกประเมินจึงต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการใช้สิทธิตามกฎหมาย

“ร” ที่ 3 คือ รู้แนวทางการประเมินของกรมสรรพากรว่า จะประเมินเรื่องอะไร ในทางปฏิบัติกรมสรรพากรเน้นหนักเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่ายถูกต้องหรือไม่ จึงต้องดำเนินการให้ผู้จ่ายหักให้ครบ รายจ่ายที่ต้องห้ามตามกฎหมาย

“ร” ที่ 4 คือ รู้เขา รู้เรา ข้อนี้สำคัญมาก เพราะว่าเมื่อมีการประเมิน ผู้เสียภาษีอย่าตกใจหรือกลัวเกินไปกว่าเหตุ หรือแสดงความโกรธหรือไม่พอใจต่อเจ้าพนักงานประเมิน เพราะความจริงแล้วเจ้าหน้าที่สรรพากรก็เป็นข้าราชการซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่ เราก็ต้องรู้ว่าท่านต้องปฏิบัติตามหน้าที่ โดยควรเข้าใจและทำความรู้จักว่าท่านเป็นคนแบบใด และมีแนวคิดหรือเหตุผลอย่างไร และผู้ถูกประเมินควรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เป็นมิตรกับกรมสรรพากร ชี้แจงอย่างมีเหตุมีผล อย่าคิดว่าเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม เพราะโดยหลักการแล้ว กรมสรรพากรก็เห็นว่าผู้เสียภาษีเป็นลูกค้ารายหนึ่ง การพูดคุยอย่างมีเหตุมีผล โปร่งใส ชัดเจน ก็จะทำให้สามารถตกลงกันได้ง่ายขึ้น ข้อสำคัญคือ อย่าใช้ประเด็นกฎหมายเพียงอย่างเดียว ต้องรู้จักประเมินสถานการณ์ว่า การถูกประเมินนั้นเป็นการผิดพลาดทางเทคนิค หรือเป็นการผิดพลาดโดยจงใจของผู้เสียภาษี เพราะถ้าหากเป็นการผิดพลาดทางเทคนิค หรือผิดพลาดโดยไม่จงใจแล้ว ก็สามารถเจรจาต่อรองให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรลดหย่อนได้เช่นกัน แต่ถ้าผู้เสียภาษีปฏิบัติถูกต้องก็ควรค่อยๆ อธิบายอย่างสมเหตุสมผล และที่สำคัญคือ ต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ด้วย

                  

ต้องยอมรับว่าผู้เสียภาษีต้องอยู่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สรรพากรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การรู้เขารู้เราที่ต้องอยู่อย่างเป็นมิตร รู้ว่าเจ้าหน้าที่แต่ละท่านมีทัศนคติอย่างไร และมีใครบ้างที่พอจะรู้จักฝากฝังเพื่อการพูดคุย ตลอดจนเจรจาต่อรองจะสามารถทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม

และ “ร” ข้อ 5 คือ รู้ วิธีการเตรียมการ เมื่อถูกประเมินแล้ว ก็จะต้องมีการเตรียมเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เตรียมคำให้การ แนวทางกฎหมาย คำวินิจฉัย คำพิพากษาของศาลเพื่อสนับสนุนการตีความ ตรวจสอบว่าเงื่อนไขที่จะขอยกเว้นนั้นจะครบถ้วนหรือไม่ โดยต้องปรึกษานักกฎหมายภาษีที่มีความรู้ความสามารถในการเตรียมการ

5 ร ที่ผู้เขียนแนะนำให้กับท่านผู้เสียภาษีนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เสียภาษีสามารถนำไปใช้ได้ และสามารถใช้ประโยชน์เมื่อมีการถูกประเมินภาษีจากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้ ผู้เขียนเชื่อว่าการเตรียมการให้พร้อม การศึกษาหาความรู้ในเรื่องภาษีอากรของผู้เสียภาษีนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เสียภาษีต้องมี 5 ร โดยทำงานร่วมกับนักกฎหมายภาษีนั้นอย่างใกล้ชิด ถ้าหากท่านผู้อ่านสามารถปฏิบัติตามบทความและแนวทางที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้นี้แล้ว การประเมินภาษีก็ไม่ใช่เรื่องที่จะกวนใจท่านอีกต่อไป แต่หากจะหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการถูกประเมินภาษีได้ก็จะดีที่สุด โดยพยายามปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายให้มากที่สุด

     ข้อควรปฎิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษี

     กลยุทธ์ 10 ประการ เมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษี

     ถ้าวันนี้ ‘สรรพากร’ เข้าตรวจภาษีท่านจะรับมืออย่างไร

 

ที่มา : โพสต์ทูเดย์  วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 และ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี