บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

สรรพากรยึดทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมได้หรือไม่
สรรพากรยึดทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมได้หรือไม่
เมื่อผู้เสียภาษีอากรมีภาระต้องชำระภาษีซึ่งอาจเกิดจากการยื่นเสียภาษีตามแบบแสดงรายการประเภทภาษี เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเกิดจากการประเมินโดยเจ้าหน้าที่สรรพากร เนื่องจากการตรวจสอบภาษี แต่ผู้เสียภาษีชำระภาษีไม่ครบหรือไม่ชำระเมื่อแจ้งหรือเมื่อถึงกำหนดชำระ จึงเรียกว่าภาษีอากรค้างประมวลรัษฎากรมีมาตรการดำเนินการกับผู้เสียภาษีที่ค้างชำระภาษีโดยบัญญัติไว้ในมาตรา 12 ดังนี้ มาตรา 12 ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่ง ให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักรโดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง อำนาจดังกล่าวอธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรเขตก็ได้ ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมีอำนาจ เช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคสอง ภายในเขตท้องที่จังหวัดหรืออำเภอนั้น แต่สำหรับนายอำเภอนั้น จะใช้อำนาจสั่งขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด วิธีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนวิธีการอายัดให้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าว ให้หักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและการขายทอดตลาด และเงินภาษีอากรค้าง ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สินผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรตามวรรคสองให้หมายความรวมถึงผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลด้วย เมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติข้างต้น กฎหมายได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานสรรพากรเข้ายึดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีที่ค้างชำระภาษีแก่กรมสรรพากรโดยไม่ต้องขอให้ศาลออกหมายยึดทรัพย์สินได้และในกรณีที่ผู้ค้างชำระภาษีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้ที่ต้องรับผิดชอบในหนี้ภาษีค้างชำระให้รวมถึงหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ ดังนั้นหากมีการยึดทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เนื่องจากมีภาษีอากรค้าง หากทรัพย์สินไม่เพียงพอกับภาษีที่ค้างชำระ กรมสรรพากรก็สามารถยึดทรัพย์สินของหุ้นส่วนดังกล่าวได้ด้วย ในกรณีที่เป็นการยึดทรัพย์ของทรัพย์สินที่มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม เช่น บุคคลธรรมดาถือครองที่ดินร่วมกับบุคคลอื่น หากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ค้างชำระภาษีซึ่งกรมสรรพากรต้องยึดทรัพย์สินตามมาตรา 12 แล้ว คำถาม คือกรมสรรพากรสามารถจะยึดทรัพย์สินที่มีผู้อื่นที่ไม่ใช่เป็นผู้ค้างชำระภาษีถือกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วยได้หรือไม่ คำตอบคือ กรมสรรพากรมีอำนาจยึดทรัพย์สินนั้นได้และสามารถนำออกขายทอดตลาดได้ด้วย มีตัวอย่างกรณีนี้จากหนังสือตอบข้อหารือของกรมสรรพากร ที่ กค. 0706/4886 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2548 ดังนี้ นางสาว พ. ค้างชำระภาษีเป็นจำนวนเงิน 198,000 บาท (รวมเงินเพิ่มตามกฎหมาย) และจากการเร่งรัดภาษีอากรสรรพากรได้มีคำสั่งยึดกรรมสิทธิ์ในที่ดินของนางสาว พ. โฉนดเลขที่ .. หน้าสำรวจ .. พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยมีนาย ป.และนาง บ. ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ต่อมาผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมได้ยื่นคำร้องคัดค้านการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยแจ้งว่าการค้างชำระภาษีอากรของนางสาว พ. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมมิได้รู้เห็นและมีผลประโยชน์ส่วนร่วมแต่อย่างใด กรมสรรพากรได้วินิจฉัยว่า การยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบุคคลอื่น กรมสรรพากรสามารถยึดและขายทอดตลาดได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับข้อ 7 (1) (ก) ของระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการยึดทรัพย์สินตามความในมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2545 และข้อ 14(7) ของระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2545 ถึงแม้ว่า เมื่อมีการยึดทรัพย์สินและขายทอดตลาดไปแล้ว ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมจะได้รับคืนมูลค่าทรัพย์สิน ในส่วนที่ตนเองพึงมีสิทธิ์ก็ตาม แต่วิบากกรรมจากการถูกยึดทรัพย์สินและกระบวนการกว่าจะได้รับสิทธินั้นคืนก็อาจทำให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมได้รับผลกระทบและเกิดความทุกข์ระทมใจไปด้วย ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29-8-2548 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |