บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

Vat การให้เช่าซื้อ
Vat การให้เช่าซื้อ
การขายสินค้าหรือการให้บริการที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าหากกิจการมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือรอบ ระยะเวลาบัญชี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่เป็นกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 แห่งประมวลรั ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าอาจจะขายสินค้าเป็นเงินสด หรือ ขายเป็นเงินเชื่อ โดยได้ส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าไปก่อน หรือให้เช่าซื้อสินค้าโดยให้ลูกค้าชำระค่าสินค้าเป็นรายงวด การรับชำระค่าสินค้าอาจชำระเป็นเงินสด หรือใช้บัตรเครดิตชำระก็ได้ หรือในบางกรณีมีการชำระค่าสินค้าโดยการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือให้บริการกัน สำหรับการให้บริการ ทุกวันนี้มีการใช้บริการก่อน ผ่อนจ่ายค่าบริการทีหลัง ก็มีให้เห็นมากขึ้นทุกวัน ความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงมีทั้งที่เหมือนและแตกต่างกัน ปกติผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขายสินค้าโดย ทั่วไป ความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้าให้แก่ ผู้ซื้อสินค้า ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระค่าสินค้าก็ตาม แต่ถ้าหากได้รับชำระค่าสินค้าก่อนส่งมอบสินค้า ความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มก็เกิดขึ้นแล้วในขณะที่รับชำระเงิน ในบางครั้งผู้ประกอบการได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนส่งมอบสินค้าหรือก่อนรับชำระค่าสินค้า ความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะเกิดขึ้นในวันที่ออกใบกำกับภาษีนั้น วันนี้จะกล่าวถึงความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการขายสินค้าลักษณะให้เช่าซื้อ ซึ่งกรรมสิทธิ์ในสินค้าจะโอนไปยังผู้ซื้อสินค้าก็ ต่อเมื่อผู้ซื้อได้ชำระค่างวดงวดสุดท้ายเสร็จสิ้น ผู้ประกอบการต้อง ทำอย่างไรจึงจะปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย กรมสรรพากรออกแนวทางปฏิบัติสำหรับกิจการให้เช่าซื้อสินค้า ท่านสามารถศึกษาได้จากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.36/2536 เรื่องการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อ หรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบ ตามมาตรา 78 (2) แห่งประมวลรัษฎากร การให้เช่าซื้อสินค้าเป็นการขายสินค้าอย่างหนึ่ง เงินได้จากการให้เช่าซื้อเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยทั่วไปความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าโดยการให้เช่าซื้อ ความรับผิดจะเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดงวดชำระค่าเช่าซื้อ เว้นแต่ ผู้ประกอบการได้รับเงินค่าเช่าซื้อก่อนกำหนดเวลางวดชำระ ความรับผิดจะเกิดขึ้นในวันที่ได้รับเงินค่าเช่าซื้อนั้น หรือถ้าหากผู้ประกอบการได้ออกใบกำกับภาษีก่อนกำหนดเวลางวดชำระ โดยที่ยังไม่ได้รับชำระเงินค่าเช่าซื้อจากลูกค้า ความรับผิดจะเกิดขึ้นขณะที่ออก ใบกำกับภาษี แต่ถ้าหากลูกค้าที่เช่าซื้อไม่ชำระค่างวดเช่าซื้อเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระ ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติอย่างไร คำตอบก็คือ ความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มยังคงเป็นวันที่ครบกำหนดงวดชำระนั้นๆ ถึงแม้ผู้ประกอบการจะยังไม่ได้รับชำระค่างวด หรือได้รับชำระค่างวดจากลูกค้าหลัง พ้นกำหนดเวลาชำระค่างวดก็ตาม คำถามในใจของผู้ประกอบการเกิดขึ้น เอ ถ้าหากลูกค้าไม่จ่าย ค่างวดเช่าซื้อหลายๆ งวด มิแย่หรือนี่ แล้วเราจะทำอย่างไร กรณีเช่นนี้ กรมสรรพากรได้มีทางออกไว้ให้คือ ผู้ประกอบการที่ให้เช่าซื้อต้องแจ้งเลิกสัญญาเช่าซื้อเป็นหนังสือต่อลูกค้าผู้เช่าซื้อ และนับแต่เดือนภาษีที่ส่งหนังสือแจ้งเลิกสัญญาเช่าซื้อ ถือว่าไม่มีการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้ออีกต่อไป ผู้ประกอบการไม่ต้องออกใบกำกับภาษีและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามงวดที่ถึงกำหนดชำระแต่ละงวด ซึ่งเป็นทางออกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ ท่านที่ติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ จะพบว่าได้มีการยึดรถยนต์หรือสินค้าที่ขายลักษณะให้เช่าซื้อมากขึ้นในช่วงนี้ ผู้ประกอบการ ที่ยึดรถยนต์หรือสินค้ามาแล้ว จะทำอย่างไรกับรถยนต์หรือสินค้า ที่ยึดมา ต้องไปดูคำสั่งที่กล่าวมาข้างต้น ก็หวังว่าผู้ประกอบการจะปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง หากปฏิบัติผิดพลาดไปแล้ว ได้จ่ายเงินเพิ่มเติมแน่ๆ ครับ ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |