ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน

 

 

                                                   โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน

 

  บริษัทนั้น ถือเป็นบุคคลประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นจากกฎหมาย และดำเนินงานผ่านกรรมการของบริษัท โดยจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนไว้ และต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรมอันดีงาม

      ยังจำกันได้มั้ยว่า ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ซึ่งรวมถึงการเพิ่มทุนด้วย กรรมการบริษัทมีหน้าที่ ที่จะต้องรับชำระเงินค่าหุ้นให้เรียบร้อยเสียก่อนหลังจากได้ประชุมจัดตั้งแล้ว จากนั้นจึงไปจดทะเบียนบริษัท

      คุณรู้มั้ยว่า บริษัท SMEs ... ส่วนใหญ่ > 80% ไม่ได้เรียกชำระค่าหุ้นครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ส่วนใหญ่เขาจะทำการเรียกชำระทุนเต็มจำนวน แต่มักไม่ได้จ่ายเงินเข้าบริษัทกันจริงๆ อย่างที่เรียกชำระกัน

      ซึ่งการจดทะเบียนแบบนี้ (โม้ทุนจดทะเบียน) ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดปัญหาตามมา ทำให้กรรมการต้องปวดเศียรเวียนเกล้ากันเกือบทุกรายไหนจะเรื่องภาระภาษีที่เกิดจากดอกเบี้ยซึ่งคิดจากลูกหนี้กรรมการ ภาระภาษีจากรายการค่าใช้จ่ายเท็จที่กรรมการต้องสร้างขึ้นเพื่อล้างเงินส่วนขาด ฯลฯ

      ในกรณีของกิจการที่เกิดไปโม้ทุนจดทะเบียน เพื่อให้เข้าเกณฑ์ที่จะประมูลงานกับหน่วยงานราชการ หรืออื่นๆ ได้นั้น สมมุติว่าคุณประมูลและได้งานนั้นมาสมใจ แล้วคุณจะเอาเงินมาจากไหน ถ้าไม่ใช่จากการลงทุนของเจ้าของบริษัทซึ่งก็คือค่าหุ้นที่จะต้องเรียกเก็บมาในตอนแรก หรือไม่ก็กู้เงินจากสถาบันการเงิน

      สมมุติต่อว่าคุณโชคดีที่พอมีเงินอยู่บ้าง และสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้มาบางส่วน พอใช้ในการดำเนินการ พอทำไปได้สักระยะก็ต้องประสบปัญหาขาดสภาพคล่องเงินหมุนไม่ทัน หรือเกิดขาดทุน ได้เงินเข้ามาไม่พอค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะเจ้าหนี้สถาบันการเงิน และเจ้าหนี้การค้าทั้งหลาย

      ต่อมาทั้งธนาคาร และเจ้าหนี้ รุมทวงถามเงินกู้ ปรากฏว่าจ่ายไม่ได้ กลายเป็นหนี้เสีย จนถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และโดนบังคับคดีนำสินทรัพย์ที่ประกันขายทอดตลาด และหลังจากขายทอดตลาดไปแล้ว ทางเจ้าหนี้ยังได้เงินไม่พอกับที่ปล่อยให้กู้ หรือให้สินเชื่อไป เจ้าหนี้จึงได้บังคับเอากับทรัพย์ของบริษัทที่ยังเหลืออยู่ นั่นคือ ลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ (กรณีที่ท่านล้างเงินส่วนที่ขาดไม่หมด)

      หรือแม้กระทั่ง คุณกรรมการจะได้สร้างค่าใช้จ่าย เพื่อล้างเงินส่วนที่ขาดออกไปหมดแล้วก็ตาม แต่เกิดโชคร้าย ทางเจ้าหนี้ตรวจสอบพบว่า รายการเหล่านั้นเป็นรายการเท็จ ถูกตั้งข้อหาว่ากรรมการจงใจไซฟ่อนเงินออกจากบริษัท อันนี้คุณจะโดนหนักไม่ใช้น้อย...

      เรื่องของการโม้ทุนจดทะเบียนนั้น นอกจากวิธีการผู้ถือหุ้นไม่ได้จ่ายเงินเข้าบริษัทกันจริงๆ แล้ว (โดยมากมักเรียกว่าหุ้นลม) แต่ก็ยังมีเจ้าของบริษัทบางท่านที่แกล้งทำเป็นจ่ายเงินเข้ามาในตอนจดทะเบียน แล้วก็นำออกไปใช้จ่ายส่วนตัวตามปกติ โดยคุณอาจจะหลงคิดว่าเงินส่วนนั้นเป็นของคุณ ซึ่งในทางกฎหมายแล้วเงินที่ได้นำมาชำระค่าหุ้นแล้วนั้น จะต้องเป็นของบริษัท และจะต้องใช้ในการดำเนินงานของบริษัท... และผลของการจ่ายค่าหุ้นแบบหลอกๆ นี้ก็สร้างปัญหาที่ไม่ได้แตกต่างกับการไม่จ่ายเงินเลย และผมคิดว่า มันจะยิ่งสร้างปัญหาความซับซ้อนมากขึ้นไปอีกด้วยซ้ำ

      อย่างที่กำลังเกิดขึ้นกับเจ้าของบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งผมเพิ่งจะเข้ามาดูแลอยู่ในขณะนี้ คือเรื่องเกิดขึ้นว่า เจ้าของบริษัท ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ท่านหนึ่งเป็นหญิงชาวไทย ส่วนอีกท่านหนึ่งเป็นชายชาวต่างชาติ ในการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 4 ล้านบาท ซึ่งเขาก็ได้ชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนเข้ามาจริง แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ได้นำเงินค่าหุ้นนี้ไปซื้อบ้านพักรับรอง อาคาร รถยนต์ ...ฯลฯ ทั้งหมดซื้อในนามของกรรมการหญิง บางอย่างสด บางอย่างก็เช่าซื้อ

      แล้วท่านก็นำใบเสร็จเหล่านั้นมาให้พนักงานบัญชีที่ดูแลในขณะนั้น... บันทึกลงสมุด ... ลองเดาเล่นๆ ดูนะครับว่าใบเสร็จเหล่านั้นจะถูกบันทึกในบัญชีอะไร

      ผมว่าบางท่านอาจจะคิดออกแล้วก็ได้ ... คำตอบที่ถูกต้องก็เหมือนกับ ในคราวก่อนนั่นแหละ คือ ใบเสร็จต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ว่าจะถูกนำมาบันทึกอยู่ในบัญชี “ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ” นอกจากคุณกรรมการหญิง จะเป็นหนี้บริษัท และจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้บริษัทแล้ว บรรดาดอกเบี้ยต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการเช่าซื้อ รวมถึงค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ทั้งหมด ก็ไม่สามารถจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้อีกด้วย

      ทำให้บริษัทมีต้นทุน มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้มีกำไร และภาษีสูงลิบลิ่ว และยังเกิดสภาวะขาดสภาพคล่องขึ้นในกิจการ เนื่องจากค่าใช้จ่ายรุมเร้า เจ้าหนี้ทวงถาม ภาระภาษีสูงกว่าที่ควรจะเป็นอยางมาก เก็บเงินจากลูกค้าได้ช้า แล้วสินทรัพย์ที่มีก็ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ก่อให้เกิดเกิดความเสียหายหลายแสน... ซึ่งสภาวะอย่างนี้อาจทำให้กิจการล้มคลืนได้อย่างง่ายดาย ครั้นจะไปขอกู้จากสถาบันการเงินนั้น ผมว่าคุณๆ คงจะพอเดาออกว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ...

      ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคือเรื่องราวที่จะเกิดขึ้น...หากไม่ได้มีการแต่งเติมทางบัญชีเข้าไปอีก

 

 : หุ้น..ลมๆ..แล้งๆ

ที่มา : http://www.smethaiclub.com




จดทะเบียนธุรกิจ

ก้าวแรกของการขายของออนไลน์
เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่
กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
กรรมการกับความผิดทางอาญา
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
ความรับผิดของกรรมการบริษัท
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่
"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"
ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ
การโอนหุ้น
เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”
ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!
"อยากจะค้าขาย"
10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
5 “สาย”
อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร
คุณก็เป็นเศรษฐีได้
หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs
สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ
เริ่มต้นจากเล็ก
คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ
7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ
บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา
กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550
อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง
ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ
ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ข้อควรทราบในการจดทะเบียน article
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม article
จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3)
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4)