ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท

 

 

                         สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท

 

        เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2551 พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2551 ก็ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วนะครับ และจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 120 วันนับแต่ประกาศ (1 กรกฎาคม 2551) การแก้ไขครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญเลยทีเดียว เพราะหลวงท่านเห็นว่าข้อบังคับต่างๆนั้นได้ใช้กันมาเป็นเวลานาน บางข้อสร้างภาระโดยไม่จำเป็นแก่ประชาชน และก่อให้เกิดความยุ่งยาก ล่าช้า ท่านจึงได้แก้ไขซะ แล้วเรื่องเด่นๆ ที่เปลี่ยนแปลงคืออะไรบ้างละ......มาติดตามกัน

 สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลง

มาตรา 1023
เดิม ผู้เป็นหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจะอ้างสัญญา เอกสาร ข้อความจดทะเบียน ต่อบุคคลภายนอกยังไม่ได้จนกว่าจะได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเสียก่อน
ใหม่ สามารถอ้างสัญญา เอกสาร ข้อความจดทะเบียน ต่อบุคคลภายนอกได้เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว

มาตรา 1097
เดิม ผู้เริ่มก่อการและตั้งบริษัทต้องมีไม่น้อยกว่า 7 คน
ใหม่ ลดผู้เริ่มก่อการและตั้งบริษัทลงเหลืออย่างน้อย 3 คน

มาตรา 111/1
เดิม -
ใหม่ ลดระยะเวลาการขอจดทะเบียนลงให้สามารถทำได้เบ็ดเสร็จภายใน 1 วัน หากได้ดำเนินการครบทุกขั้นตอนภายในวันที่จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัท
(1) มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวน
(2) จัดประชุมจัดตั้งบริษัท ตามมาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม
(3) ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้กรรมการ
(4) กรรมการได้เรียกให้ชำระค่าหุ้นตามมาตรา 1110 เสร็จแล้ว

มาตรา 1175
เดิม ในส่งคำการเรียกประชุมใหญ่นั้นกำหนดให้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 2 ครั้ง หรือ ส่งทางไปรษณีย์ไปถึงผู้ถือหุ้น
ใหม่ ลดการโฆษณาลงเหลือ 1 ครั้ง และต้องทำทั้งลงโฆษณาและส่งจดหมาย จากที่แต่เดิมสามารถเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

มาตรา 1194
เดิม การมีมติพิเศษต้องลงมติ 2 ครั้งโดยในครั้งแรกต้องมีเสียงข้างมากไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมด และในครั้งที่สองต้องห่างจากครั้งแรกไม่น้อยกว่า 14 วัน แต่ไม่เกิน 6 สัปดาห์ พร้อมกับยืนตามมติของที่ประชุมในครั้งแรกด้วยเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนเสียงทั้งหมด
ใหม่ ลงมติเพียงครั้งเดียว ด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงของที่ประชุม และมีสิทธิออกเสียง (เสียงข้างมาก)

มาตรา 1226
เดิม เมื่อจะลดทุน ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์ 7 ครั้ง เป็นอย่างน้อย และมีหนังสือบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้เพื่อให้เจ้าหนี้ส่งคำคัดค้านภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่บอกกล่าว หากมีการคัดค้านจะลดทุนไม่ได้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ หรือให้ประกันหนี้
ใหม่ ลดการประกาศลงเหลือ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย และลดระยะเวลาในการให้สิทธิส่งคำคัดค้านเหลือ 30 วัน

มาตรา 1237
เดิม ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำกัดได้ถ้าจำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึง 7 คน
ใหม่ อาจสั่งได้หากผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึง 3 คน (เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 1097)

มาตรา 1240
เดิม เมื่อจะควบรวมบริษัท ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์ 7 ครั้ง เป็นอย่างน้อย และมีหนังสือบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้เพื่อให้เจ้าหนี้ส่งคำคัดค้านภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่บอกกล่าว หากมีการคัดค้านจะควบรวมกันไม่ได้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ หรือให้ประกันหนี้
ใหม่ ลดการประกาศลงเหลือ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย และลดระยะเวลาในการให้สิทธิส่งคำคัดค้านเหลือ 60 วัน

มาตรา 1246/1 – 1246/7
เดิม -
ใหม่ เพิ่ม ส่วนที่12 เรื่องการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัท ความตามมาตรา 1246/1 – 1246/7
สรุปสาระสำคัญคือ
1. ต้องมีหุ้นส่วนอย่างน้อย 3 คน และได้รับความยินยอมจดหุ้นส่วนทุกคน
2. ลงประกาศในหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้ง พร้อมทั้งแจ้งการแปรสภาพไปยังเจ้าหนี้ หากมีการคัดค้านจากเจ้าหนี้จะแปรสภาพไม่ได้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ที่ค้างหรือให้ประกันหนี้ไว้ และเมื่อแปรสภาพแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้ให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ตามที่ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบในหนี้ของห้างฯ
3. ทุนของบริษัทต้องเท่ากับส่วนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างฯ เดิม และเมื่อแปรสภาพเป็นบริษัทแล้ว บริษัทจะได้ทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ หน้าที่ความรับผิดชอบของห้างหุ้นส่วนฯ เดิมนั้นด้วย

มาตรา1253
เดิม การเลิกกิจการ ต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 2 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
ใหม่ ลดการโฆษณาลงเหลือ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย

      ยกเลิกส่วนที่ 11 การถอนทะเบียนบริษัทร้าง มาตรา 1246 ของหมวด 4 ในลักษณะ 22 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
      เพิ่มหมวด 6 การถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทร้าง มาตรา 1273/1 – 1273/4 ในลักษณะ 22 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

      การปรับเปลี่ยนครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งเลยทีเดียว เพราะผู้เริ่มก่อการก็เหลือแค่ 3 คน หรือจะเป็นการจดทะเบียนก็สามารถทำได้เบ็ดเสร็จในวันเดียว หรือการแปรสภาพจากห้างฯ เป็นบริษัท แล้วทุกท่านคิดว่ายังไงกันบ้างครับ....

 

  การแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท (powerpoint) (1.72 MB)

  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 18 พ.ศ.2551 (pdf)

 

ที่มา : http://www.smethaiclub.com




จดทะเบียนธุรกิจ

ก้าวแรกของการขายของออนไลน์
เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่
กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
กรรมการกับความผิดทางอาญา
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
ความรับผิดของกรรมการบริษัท
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่
"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"
ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ
การโอนหุ้น
เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”
ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!
"อยากจะค้าขาย"
10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
5 “สาย”
อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร
คุณก็เป็นเศรษฐีได้
หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs
โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน
หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ
เริ่มต้นจากเล็ก
คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ
7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ
บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา
กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550
อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง
ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ
ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ข้อควรทราบในการจดทะเบียน article
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม article
จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3)
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4)