บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

กลยุทธ์การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กลยุทธ์การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีศึกษาถึงระเบียนข้อบังคับในการปฏิบัติ และทางเลือกต่างๆ ของกฎหมายภาษีอากร โดยสิ่งที่ต้องตระหนักก่อนวางแผนภาษีคือ ศึกษากฎหมายภาษีอากรทุกมาตรา ติดตามการเปลี่ยนแปลง การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้ 1. การเลือกหน่วยภาษี เช่น บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เช่น นาย ก เป็นพนักงานบริษัทมีเงินได้ในปีที่ผ่านมา 300,000 บาท และนาย ก ยังเป็นเจ้าของร้านขายของชำด้วยซึ่งมีรายได้ในปีที่ผ่านมาอีก 200,000 บาท ถ้าไม่แยกหน่วยภาษีนาย ก ต้องนำเงินได้รวมทั้งสิ้น 500,000 บาท เสียภาษีโดยได้หักค่าลดหย่อน แต่ถ้าแยกหน่วยภาษีออกมาโดยร้านขายของชำจัดตั้งในรูปของคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล รายได้ของแต่ะหน่วยภาษีนี้แยกจากกัน สามารถหักลดหย่อนของแต่ละหน่วยภาษีได้ การแยกหน่วยภาษีจะช่วยให้เสียภาษีน้อยลง อย่างไรก็ตามในบางกรณีแม้ว่าจะเป็นภาษีเพียงหน่วยเดียว แต่เลือกใช้วิธียื่นภาษีต่างกันก็ทำให้จำนวนภาษีที่ชำระต่างกันด้วย เช่นกรณีของสามีภรรยาใช้วิธีแยกยื่นหรือรวมยื่น เป็นต้น 2. การเลือกปีภาษี เนื่องจากตามประมวลรัษฎากรถือเอาเกณฑ์เงินสดเป็นเกณฑ์ในการเสียภาษีเงินได้ 3. การเลือกประเภทของเงินได้ เงินแต่ละประเภทมีการหักค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน เช่น เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานก็หักค่าใช้จ่ายได้ลักษณะหนึ่ง หรือเงินได้จากวิชาชีพอิสระ อันได้แก่ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี และปราณีตศิลปกรรม มีการหักค่าใช้จ่ายได้อีกลักษณะหนึ่ง 4. การเลือกใช้ประโยชน์จากข้อยกเว้นที่กฎหมายยอมให้ ในมาตรา 42 แห่ง ประมวลรัษฎากรได้ระบุเงินได้บางประเภทที่ได้รับการยกเว้น เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะ เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม ค่าสินไหม เป็นต้น 5. การกระจายรายได้ที่จะได้รับให้แก่ผู้อื่น เช่น นาย ก มีเงินได้จากเงินเดือนบริษัทและเงินได้จากกิจการบ้านเช่าอีก ซึ่งเงินได้ดังกล่าวเมื่อรวมกันจะเป็นจำนวนมาก และต้องเสียภาษีในอัตราสูง แต่ถ้านาย ก ให้บุตรของตนซึ่งไม่มีรายได้มีสิทธิเก็บเงินในบ้านเช่า และให้ผู้เช่าทำสัญญาเช่ากับบุตร นาย ก โดยตรง รายได้ค่าเช่าจะเสียในนามของบุตรนาย ก 6. การถือเอาประโยชน์จากการหักค่าลดหย่อน เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้เสียภาษี และเป็นการส่งเสริมการลงทุน การออม การสร้างสวัสดิการทางสังคม ประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้มีการหักค่าลดหย่อนได้หลายประเภท ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ที่ กรมสรรพากร ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง? 7. การพิจารณากำหนดประเภทเงินได้ เพื่อดูว่าเงินได้ดังกล่าว จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ถ้าผู้เสียภาษีสามารถกำหนดรูปแบบข้อตกลงของสัญญากับผู้ว่าจ้าง ซึ่งหากสามารถตกลงกำหนดประเภทเงินได้ โดยไม่ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ผู้เสียภาษีซึ่งเป็นผู้รับเงินก็สามารถนำเงินนั้นไปหาผลประโยชน์ได้ก่อน แล้วค่อยนำมาเสียภาษีอากรในภายหลัง
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |