ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ข้อหารือทางภาษีที่ควรรู้

 

                                                             ข้อหารือทางภาษีที่ควรรู้     

 

   ขอนำเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับเทคนิคและข้อหารือทางภาษีมานำเสนอ เพื่อเป็นบทเรียนให้คุณผู้อ่านได้มองเห็นภาพในการเสียภาษีอย่างถูกต้องจะได้ไม่เสียโอกาส

วันนี้ผมนำข้อหารือและการตอบข้อหารือในการเสียภาษีของสรรพากร 2 เรื่อง 2 รส มาฝากกัน

เรื่องแรกเป็นข้อหารือเลขที่หนังสือ : กค 0702(กม.06)/1263 สดๆ ร้อนๆ เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2551 นี่เอง

เป็นเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางเนื่องจากการปฏิบัติงานบนสายการบินระหว่างประเทศ

ข้อหารือมีอยู่ว่า พนักงานของบริษัทสายการบินแห่งหนึ่งซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ โดยมีสำนักงานสาขาในประเทศไทย มีพนักงานต้อนรับปฏิบัติหน้าที่บนสายการบินระหว่างประเทศ โดยพนักงานดังกล่าวนอกจากจะได้รับเงินเดือนประจำแล้ว ยังได้รับประโยชน์เพิ่ม เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ซึ่งสำนักงานสาขาเป็นผู้จ่าย

พนักงานต้อนรับจะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องบินในอัตราเหมาจ่ายเป็นรายวัน เพื่อชดเชยค่าอาหาร ในขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่างประเทศเป็นครั้งคราวเป็นจำนวนเงินวันละ 70 เหรียญสหรัฐ (ตามตารางการบินที่สำนักงานใหญ่กำหนด) การจ่ายเบี้ยเลี้ยงเดินทางในแต่ละเดือนจะจ่ายย้อนหลังให้พนักงานเมื่อทำงานเสร็จสิ้น เช่น เบี้ยเลี้ยงเดือน ม.ค. จะจ่ายให้พนักงานในเดือน ก.พ.

ปัญหาคือเงินได้เหล่านั้นต้องเสียภาษีหรือไม่?

แนววินิจฉัย กรณีตามข้อเท็จจริง สำนักงานสาขาได้จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้แก่พนักงานต้อนรับในระหว่างการเดินทาง เพื่อปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่างประเทศเป็นครั้งคราวในอัตราเหมาจ่ายเป็นรายวัน วันละ 70 เหรียญสหรัฐ (ในอัตราระหว่าง 2,300-2,800 บาทต่อวัน) ซึ่งไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการในการเดินทางไปราชการในต่างประเทศ

ทั้งนี้ ตามมาตรา 49 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2548 และพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 ประกอบกับข้อ 12 ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 บัญชีหมายเลข 6 ท้ายระเบียบฯ ดังกล่าว ประเภท ข ในลักษณะเหมาจ่ายกำหนดไว้ในอัตรา 3,100 บาทต่อวัน

ดังนั้น หากพนักงานได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางจากสำนักงานสาขาในอัตราที่ไม่เกินกว่าอัตราดังกล่าว และได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานดังกล่าว

ทั้งนี้ ตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 1 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.59/2538ฯ ลงวันที่ 26 ธ.ค. 2538

ข้อหารือที่สองเป็นไปตามหนังสือ กค 0702(กม.10)/1354 วันที่ 8 ก.ค. 2551 เรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อนำมาจ่ายเงินปันผลและเงินลงทุน

ข้อหารือมีอยู่ว่า บริษัทประกอบธุรกิจผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก สินค้าเกี่ยวกับพลาสติก เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ยา และเคมีเกษตร บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตลอดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ในการประกอบกิจการของบริษัทที่ผ่านมา บริษัทมีผลกำไรจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน แต่เนื่องจากบริษัทมีนโยบายที่จะนำเงินไปขยายการลงทุนเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ จึงมีผลทำให้บริษัทต้องกู้ยืมเงินมาเพื่อจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งถือเป็นการบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายลดลง

คำถามคือ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ในกรณีนี้ที่ถือว่าเป็นรายจ่ายโดยตรงเพื่อกิจการของบริษัท สามารถนำมาหักภาษีได้หรือไม่?

แนววินิจฉัย หากบริษัทได้นำผลกำไรไปขยายการลงทุนจริง และได้กู้ยืมเงินมาเพื่อนำมาจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยในการจ่ายเงินปันผลบริษัทได้ปฏิบัติถูกต้องตามมาตรา 1201 และ 1202 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินเพื่อนำมาจ่ายเงินปันผลดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการ เพื่อหากำไรโดยเฉพาะ

บริษัทมีสิทธินำดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร

รู้แล้ว รู้ก่อน มีสิทธิ์ได้ก่อนนะครับ

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี