ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



โลกของบัญชี VS โลกของภาษี

 

                                                       โลกของบัญชี  VS โลกของภาษี

 

   บันทึกตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปให้แล้วเสร็จเสียก่อนได้ตัวเลขเท่าไรนั่นคือตัวเลข
ที่แสดงผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง แต่การจะนำตัวเลขนั้นไปใช้คำนวณภาระภาษีนั้น
ต้องแยกออกมาคำนวณใหม่ โดยใช้ตัวเลขทางบัญชีเป็นตัวตั้ง รายการที่จะต้องปรับปรุงนั้น
ก็คือรายการตาม๒มาตราที่ได้กล่าวถึงนั้นได้อ่านหนังสือ RICH DAD POOR DAD หรือที่
ภาคแปลเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า "พ่อรวยสอนลูก" ตอนหนึ่งของหนังสือได้กล่าวไว้
ทำนองว่า วิชาบัญชีเป็นวิชาที่นอกจากเข้าใจยากแล้ว ยังสับสนมากที่สุด แต่หากคิดจะมี
ความมั่นคงทางการเงิน ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องบัญชี และภาษีอากร

ทำให้ผมนึกอยากจะพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับระบบบัญชี และภาษีอากรของบ้านเราขึ้นมาเผื่อว่า

คุณผู้อ่านจะสนใจตามที่เคยว่าไว้ในแม่บทการบัญชีว่า การบันทึกบัญชีจะใช้เกณฑ์คงค้างเป็นหลัก

ทีนี้เวลาเราปิดบัญชีตอนสิ้นปีเสร็จแล้ว เราจะนำตัวเลขรายได้และรายจ่ายมากรอกใน
แบบฟอร์มเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็น่าจะเสร็จเรียบร้อยตามกระบวนการแต่ปัญหา
ก็คือ ในการเสียภาษีมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ไม่เหมือนทางบัญชีจึงมีความแตกต่างเกิด
ขึ้นระหว่างตัวเลขกำไรสุทธิทางบัญชี กับ ตัวเลขกำไรสุทธิที่นำไปคำนวณเพื่อเสียภาษี

เพื่ออธิบายความแตกต่างดังกล่าว ผมจะแยกหลักเกณฑ์ออกเป็น ๒ ส่วน โดยถือว่า
หลักเกณฑ์ทางบัญชีเป็นจุดเริ่มต้น และถือเป็นหลัก ส่วนหลักเกณฑ์ทางภาษีเป็นการนำ
ตัวเลขทางบัญชีมาปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์เพื่อการเสียภาษี

เกณฑ์ที่เราจะนำมาใช้ในการคำนวณตัวเลขเพื่อเสียภาษีนั้น เกิดขึ้นจากกฎหมายทางภาษี
อากร หรือที่เรียกว่า "ประมวลรัษฎากร" นั่นเอง ซึ่งกำหนดไว้เป็นมาตราต่างๆ เหมือน
กฎหมายอื่นๆและทางกรมสรรพากรจะถือเป็นไม้บรรทัดเพื่อใช้บังคับกับบุคคลธรรมดา
และนิติบุคคลในประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ว่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายให้ใช้
เกณฑ์สิทธิ ซึ่งก็เหมือนกับเกณฑ์ทางบัญชีนั่นเอง
ความหมายตามกฎหมายก็คือ รายได้
้ที่เกิดขึ้นในรอบบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบบัญชีนั้น ต้องนำมารวมคำนวณเป็น
รายได้ในรอบบัญชีนั้น ด้านรายจ่ายก็เช่นกัน รายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะ
ยังมิได้จ่ายในรอบบัญชีนั้นก็ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบบัญชีนั้น

เมื่อได้ลงรายการตามเกณฑ์สิทธิข้างต้นแล้ว ก็ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ
ในอัตราร้อยละ 30 (หรืออัตราภาษีที่ได้รับลดหย่อนภาษี)เช่น บริษัทมีรายได้ตามเกณฑ์สิทธิ
2,000,000 บาท มีรายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิ 1,900,000 บาท ก็เท่ากับว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 100,000 บาท ก็ต้องเสียภาษี 30,000 บาท หากประมวลรัษฎากรกำหนดไว้แค่นั้น บริษัทก็คงเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยเกณฑ์ง่ายๆ แบบนี้ครับ

แต่ความเป็นจริงแล้วประมวลรัษฎากรมีการกำหนดเงื่อนไข
และรายละเอียดต่างๆเพิ่มอีกทำให้เวลาคำนวณไม่ง่ายอย่างที่เกริ่นมาครับ
ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ว่าให้ใช้กำไรสุทธิตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยมี
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับ การบันทึกรายการบางรายการเป็นพิเศษ รวมถึงมีรายจ่ายบางตัว
ที่บันทึกตามบัญชีได้แต่ทางภาษีไม่อนุญาตให้นำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายครับ

ถ้ามองภาพรวมเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ แล้ว ข้อยกเว้นทั้งสองส่วนนั้นจะอยู่ในส่วนของมาตรา
๖๕ ทวิและ๖๕ ตรีในประมวลรัษฎากรตามลำดับ

ผมจะใช้ตัวอย่างแบบง่ายเพื่ออธิบายให้เข้าใจแนวความคิดและวิธีคำนวณดังนี้ครับ

ตัวอย่าง บริษัทมีรอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2545
บริษัทมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว 1,500,000บาท
มีรายได้ 2,000,000บาท
มีรายจ่าย 1,900,000บาท
ดังนั้นกำไรสุทธิเท่ากับ 100,000บาท
ในรายจ่าย 1,900,000 บาทนี้ ในสมุดบัญชีจะมีรายละเอียดว่า ประกอบด้วย เงินเดือน ค่าน้ำ
ค่าไฟฟ้า ค่าเช่า ค่าขนส่ง ค่าไปรษณีย์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน
ค่าภาษีโรงเรือนค่ารับรองค่าปรับภาษีอากรเป็นต้น

หากในรายละเอียดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ มีค่าใช้จ่ายที่เข้าเกณฑ์เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามแล้ว
(มีอะไรบ้าง ต้องไปดูมาตรา ๖๕ ตรี ซึ่งตามกฎหมายปัจจุบัน มีค่าใช้จ่ายต้องห้ามทั้งหมด
ประมาณ20รายการ)

จากตัวอย่างสมมติว่า เรามีค่ารับรอง 10,000 บาท ค่าปรับภาษีอากร 2,000 บาท
ค่าภาษีโรงเรือน 5,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เงินเดือน ฯลฯ สมมติว่าไม่เข้าเกณฑ์
ว่าต้องห้ามตามมาตรา๖๕ตรีเวลาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจะคำนวณดังนี้
หน่วย:บาท
รายได้ 2,000,000
รายจ่าย 1,900,000
กำไรสุทธิเท่ากับ 100,000เป็นกำไรสุทธิทางบัญชี
ปรับปรุง
-บวกค่ารับรองส่วนที่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาต 4,000
-บวกค่าปรับภาษีอากร 2,000
กำไรสุทธิทางภาษี
106,000
ภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ๓๐ เท่ากับ 31,800

ส่วนที่หนึ่ง ในมาตรา ๖๕ ตรี (๔) ระบุไว้ว่า ค่ารับรองหรือค่าบริการส่วนที่ไม่เป็นไป
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
โดยถือเป็นค่ารับรองได้ในส่วนที่ไม่เกิน ร้อยละ 0.3 ของรายได้รวมหรือจำนวนเงินทุนที่
ได้รับชำระแล้วแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

ดังนั้นตามตัวอย่างนี้ ค่ารับรองที่จ่ายออกไปจริงจำนวนเงิน 10,000 บาท จึงนำมาใช้เป็นค่า
ใช้จ่ายในทางภาษีได้เพียง 6,000 บาท (คำนวณจาก 2,000,000 x 0.3% = 6,000)
ส่วนที่เกินกว่า 6,000 บาท (คือ 4,000 บาท) ต้องนำมาปรับปรุงเวลาคำนวณภาษีครับ
ซึ่งก็คือต้องบวกกลับเข้าไปให้กำไรมีมากขึ้นกว่าตัวเลขทางบัญชี

ส่วนที่สอง
ในมาตรา ๖๕ ตรี (๖) ระบุไว้ว่า เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา
ภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไร
สุทธิตามตัวอย่างนี้ บริษัทมีค่าปรับภาษีอากรจำนวนเงิน 2,000 บาท จึงนำมาใช้เป็น
ค่าใช้จ่ายในทางภาษีไม่ได้ ต้องนำมาปรับปรุงเวลาคำนวณภาษี กล่าวคือต้องบวกกลับ
เข้าไปให้กำไรมีมากขึ้นกว่า ตัวเลขทางบัญชี ส่วนค่าภาษีโรงเรือน 5,000 บาทที่ยกมา
ด้วยนั้น เพื่อให้เห็นว่ากฎหมายกำหนดเพียงว่า ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น
ที่ไม่สามารถนำมาถือเป็นค่าใช้จ่าย
ไม่ได้หมายถึงภาษีจากกฎหมายอื่นๆ ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่าย
ได้ครับมักมีความเข้าใจว่า ถ้าเช่นนั้นค่าใช้จ่ายทั้งสองรายการนี้ไม่สามารถบันทึกบัญชี
ได้หรืออย่างไร ก็ต้องตอบว่า ลงได้ครับ ถ้าหากมีเอกสารอันเที่ยงธรรม ทางบัญชีถือว่า
บันทึกได้ และบริษัทก็มีกำไรสุทธิ 100,000 บาท แต่ในทางภาษี ต้องปรับปรุงตัวเลข
ซึ่งหลังจากปรับปรุงแล้ว ตัวเลขกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีจะเท่ากับ 106,000 บาท
และภาษีเงินได้แทนที่บริษัทจะต้องเสีย 30,000 บาทที่ถูกต้องแล้วบริษัทต้องเสียภาษี
31,800 บาท

              

การปรับปรุงรายการดังกล่าวนั้น จะทำในกระดาษทดหรือที่เรียกว่า ตารางการคำนวณภาษี
ีเงินได้นิติบุคคล (Tax computation worksheet) เท่านั้นนะครับ ไม่มีการลงบัญชี เดบิต
เครดิต ครับ หลายคนอาจจะงง ผมจึงใช้คำว่า โลกของบัญชี กับ โลกของภาษี เพื่อให้เห็น
ภาพว่า ให้แยก ๒ ส่วนนี้ออกจากกัน โดยขั้นตอนก็คือ

บันทึกตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปให้แล้วเสร็จเสียก่อน ได้ตัวเลขเท่าไร นั่นคือตัวเลขที่
ี่แสดงผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง แต่การจะนำตัวเลขนั้นไปใช้คำนวณภาระภาษีนั้น
ต้องแยกออกมาคำนวณใหม่ โดยใช้ตัวเลขทางบัญชีเป็นตัวตั้ง
รายการที่จะต้องปรับปรุงนั้น
ก็คือรายการตาม ๒ มาตราที่ได้กล่าวถึงนั้น (ในตัวอย่างไม่ได้ยกตัวอย่างตามมาตรา ๖๕ ทวิ
เนื่องจากรายการตามมาตรานี้ จะเป็นรายละเอียดประกอบกับหลักเกณฑ์ทางบัญชี
ีเพิ่มเติมมากกว่า จะเป็นรายการที่ปรับปรุงตัวเลขโดยตรง เช่นอัตราค่าเสื่อมราคา
ที่กฎหมายยอมให้คิดคำนวณสำหรับสินทรัพย์แต่ละประเภท)

ตัวอย่างที่ยกนั้นเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจตามที่กล่าวนี้ ไม่ต้องบอกคุณก็คงรู้แล้วนะครับว่า
รายละเอียดของมาตรา ๖๕ ทวิ และ๖๕ ตรี นั้น ต้องหาประมวลรัษฎากร มาอ่านดูครับ
แล้วจะทราบว่า มีประเด็น แง่มุม การตีความ รวมทั้งรายละเอียดมากจนทำให้คุณหัวหมุน
ได้ง่ายๆ เลยครับ

แต่คุณคงเห็นจากตัวอย่างแล้วว่า ผลกระทบของตัวเลขที่ต้องปรับปรุงตาม
หลักเกณฑ์ทางภาษีอากรนั้น เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากทีเดียว เพราะหากเราปฏิบัติ
ไม่ถูกต้องแล้ว มีผลต่อภาระภาษีและโอกาสที่จะถูกประเมินจากกรมสรรพากร
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บทความโดย : วิโรจน์ เฉลิมวัฒนา  ที่มา : http://www.payom.netfirms.com




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี