ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



กลยุทธ์ 10 ประการ เมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษี

 

                      กลยุทธ์ 10 ประการ เมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษี

 

   จากประสบการณ์ของผู้เขียน โดยทั่วไปถ้าหากผู้ประกอบการดำเนินการถูกต้อง โอกาสจะถูกตรวจสอบหรือถูกประเมินภาษีอากรก็เกิดขึ้นได้ยาก แต่ในความเป็นจริงสถานะการเงินการคลังของประเทศก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กรมสรรพากรมุ่งจะตรวจสอบผู้ประกอบการที่ประกอบถูกต้อง เพราะอาจพบ

ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมพร้อม เพราะแม้หากจะมีการตรวจสอบหรือประเมินภาษีอากรแล้ว ผู้ประกอบการก็สามารถเจรจากับเจ้าพนักงานได้ และหากถูกประเมินก็สามารถอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ หรือต่อศาล เพื่อให้คำอุทธรณ์ของตนได้รับชัยชนะถึงที่สุด

กลยุทธ์ 10 ประการที่ผู้เขียนขอให้พิจารณามีดังนี้

1.ผู้ประกอบการควรจะจัดทำบัญชี รวมทั้งการยื่นแบบเสียภาษีให้ถูกต้อง โดยจะต้องดูให้ถูกต้อง อย่าให้มีข้อผิดพลาด เพราะการยื่นแบบหรือการทำบัญชีที่ผิดพลาดนั้น จะเป็นจุดหนึ่งที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สงสัยและเริ่มให้มีการตรวจสอบผู้เสียภาษีอากรนั้นเสียภาษีถูกต้องหรือไม่

อาทิเช่น ในกรณีที่เป็นบริษัทต้องดูว่าแบบที่ยื่นโดยเฉพาะการหักค่าใช้จ่ายนั้น ไม่ควรจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องห้ามหรือมีปัญหา ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องดูว่า ค่าใช้จ่ายที่หักนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด การทำบัญชีหรือยื่นแบบควรเป็นหน้าที่ของ นักบัญชี และนักกฎหมาย ผู้มีความชำนาญในเรื่องภาษีอากรโดยเฉพาะ

2.หากจะต้องมีการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือภาษีซื้อของภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ผู้ประกอบการต้องมั่นใจว่า จำนวนเงินที่ขอคืนภาษีกับผลกระทบที่อาจจะได้รับในการตรวจสอบภาษีนั้นจะคุ้มกัน เพราะมิฉะนั้นแล้วหากการขอคืนภาษี กรมสรรพากรก็อาจจะมีการตรวจสอบบัญชีของผู้ประกอบการและอาจจะพบว่าผู้เสียภาษีเสียภาษีไม่ถูกต้องในหลายรายการ จึงควรจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก และปัจจุบันกรมสรรพากรก็ได้ระบุในแบบยื่นเสียภาษีให้บริษัทขอคืนภาษีเลยเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ

ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเสียภาษีให้ถูกต้องเพราะอาจถูกตรวจสอบจากการขอคืน

                

3.เมื่อมีหมายเรียกตรวจสอบภาษีมา ควรต้องพิจารณาดูว่า หมายเรียกหรือหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรหรือการประเมินนั้นถูกส่งโดยชอบด้วยหรือไม่ มีผู้ลงนามโดยชอบด้วยหรือไม่ เพราะกฎหมายบังคับให้ส่งโดยลงทะเบียนตอบรับหรือให้เจ้าพนักงานไปส่งในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกในเวลาทำงาน หรือจะส่งให้แก่บุคคลใดที่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะก็ได้ และตามกฎหมายนั้นถ้าหากส่งไม่ได้นั้น กรมสรรพากรมีอำนาจที่จะใช้วิธีปิด

เพราะฉะนั้น การถือว่าได้รับหรือไม่ได้รับนั้นจึงมีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากว่ามีส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับระยะเวลาการอุทธรณ์และการดำเนินคดีด้วย

4.ผู้ประกอบการหรือผู้ได้รับหมายเรียกต้องให้ความร่วมมือกับ เจ้าหน้าที่ โดยอาจขอเวลาจัดเตรียมเอกสารและให้ความร่วมมือในการให้ข้อเท็จจริงและปากคำอย่างเต็มที่ โดยจัดส่งเอกสารพร้อมเก็บหลักฐานในการนำส่งเอกสารต่อเจ้าพนักงานที่ออกหมายเรียก รวมทั้งคำให้การทั้งหมดโดยต้องปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำเอกสารนั้นๆ เพราะว่าข้อเท็จจริงนี้จะมีส่วนสำคัญยิ่ง

ถ้าหากมีการประเมินภาษี ผู้ถูกประเมินจะได้นำข้อต่อสู้ดังกล่าวนั้นมาใช้ในการอุทธรณ์ ทั้งในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และชั้นศาล ข้อสำคัญคือ หากไม่ให้ความร่วมมือ และจะถูกประเมินภาษีแล้วก็อาจจะต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ตามกฎหมายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ยอมตอบข้อคำถามหรือว่าซักถาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย โดยคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน

5.โดยปกตินั้น ตามกฎหมายเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะออกหมายเรียกการประเมินได้นั้น จะต้องกระทำภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการ แต่ไม่เกิน 7 ปี ถ้าหากปรากฏว่ามีการสงสัยว่าผู้ยื่นรายการมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร อธิบดีจะอนุมัติให้ขยายการออกหมายเรียกได้เกินกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการ ซึ่งเรื่องนี้จะต้องสำคัญมากว่า หมายที่ออกนั้น ชอบหรือไม่ และจะต้องเป็นเรื่องที่ให้แน่ใจว่าผู้ประกอบการใดยื่นแบบนั้นจะต้องยื่นภายในที่กำหนด

เพราะว่าหากเลย 2 ปีแล้ว การออกหมายย่อมไม่ชอบ เว้นแต่กรมสรรพากรจะเห็นว่าเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร

6.เมื่อได้รับหมายเรียกหรือหมายประเมินนั้น ควรจะปรึกษากับทนายความผู้รู้หรือนักบัญชีในการที่จะเตรียมตัวไปให้ถ้อยคำ จัดเตรียมเอกสาร เพื่อให้มั่นใจว่าการให้ถ้อยคำนั้นจะได้ไม่เป็นปฏิปักษ์ หรือมีผลเสียหายต่อคดีของตน ถ้าหากจะต้องดำเนินคดีในทางการอุทธรณ์หรือในชั้นศาลต่อไป รวมทั้งอาจมีการเจรจาประนีประนอมยอมความในชั้นออกหมายเรียกก็ได้ เช่น การให้ลดภาษี หรือยกเว้น หรือลดเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

7.เมื่อได้รับหมายประเมินภาษีควรจะต้องให้แน่ว่ารับหมายเมื่อไร เพราะกฎหมายกำหนดว่าโดยจะต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน หากต้องการอุทธรณ์ โดยการที่ระหว่างอุทธรณ์นั้นจะต้องปรึกษาทนายความหรือนักบัญชีอย่างรอบคอบในการเตรียมคำอุทธรณ์ และยื่นคำอุทธรณ์ให้การอุทธรณ์นั้นจะต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินหรือเรียกเก็บเงิน โดยจะต้องทำตามแบบและยื่นให้ถูก เช่น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ที่กรมสรรพากร หรือที่สรรพากรจังหวัด

8.ในกรณีที่การวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งปกติแล้วส่วนใหญ่มักจะใช้เวลานานมาก ผู้ประกอบการอาจจะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากร หรือศาลจังหวัด ในกรณีที่ศาลภาษีอากรไม่มีเขตอำนาจภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบวันที่ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์

แน่นอนที่สุดการที่จะพิจารณาว่าควรอุทธรณ์หรือไม่นั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาให้ดีว่าคุ้มค่าหรือไม่

9.ในกรณีที่มีการอุทธรณ์ไม่ว่าในชั้นของคณะกรรมการอุทธรณ์หรือในชั้นศาลก็ดี จะต้องมีการชำระภาษีโดยการวางประกันหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปก่อน เพราะว่าการอุทธรณ์นั้นไม่เป็นเหตุให้มีการทุเลาการเสียภาษีอากร หากปล่อยไว้อาจถูกยึดทรัพย์สินมาชำระหนี้ภาษีอากรได้

10.การดำเนินธุรกิจ หลักฐานทั้งทางบัญชี การให้ถ้อยคำ และการอุทธรณ์ ไม่ว่าในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือชั้นศาลต้องสอดคล้องกัน และอยู่บนบรรทัดฐานของความเป็นจริง และพร้อมต่อการถูกตรวจสอบตลอดเวลา

หากผู้ประกอบการทำสิ่งใดอยู่บนพื้นฐานแห่งความถูกต้องนี้แล้ว การถูกประเมินก็ย่อมน้อยลง หรือหากมีการประเมิน การต่อสู้คดีก็ง่ายขึ้น และทำให้โอกาสชนะคดีมีสูงขึ้นเช่นกัน

กลยุทธ์ 10 ประการข้างต้นคงจะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการและ ผู้วางแผนภาษีลดความเสี่ยงในการถูกประเมินภาษีลงได้ หาก ผู้ประกอบการคิดที่จะวางแผนภาษีก็คงจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้ให้พร้อมกับการถูกหมายเรียกและประเมิน

แต่หากท่านเตรียมตัวให้พร้อม ก็ย่อมจะยิ้มได้เมื่อภัยมาเสมอ

    

   ข้อควรปฎิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษี

 ถ้าวันนี้ ‘สรรพากร’ เข้าตรวจภาษีท่านจะรับมืออย่างไร

 5 ร : เมื่อถูกสรรพากร ตรวจสอบประเมินภาษี

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์  วันที่ 19 สิงหาคม 2551




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี