ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

 

                                                                 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

                                                                

ตอนที่ 1

    ย่างเข้าปลายเดือนกรกฎาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนสิงหาคม ถือเป็นช่วงของการกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด.51 ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ และมีรอบระยะเวลาบัญชี 12 เดือน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง 31 ธันวาคม 2551
 
ซึ่งโดยทั่วไปกำหนดให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำและจะได้กระทำตลอดรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ และกิจการที่ได้รับอนุญาตให้มีผู้สอบทานงบการเงิน ซึ่งสามารถคำนวณกำไรสุทธิตามความเป็นจริงได้ ก็ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีจากกำไรจริงที่ได้รับสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรก
 
สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ในปีนี้ และหรือที่จดทะเบียนเลิกกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยมีรอบระยะเวลาบัญชีแรกหรือรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายไม่ถึง 12 เดือน ก็เป็นอันไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 แต่อย่างใด
 
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และรอบระยะเวลาบัญชีปีนั้นมีกำหนดเวลาเกินกว่า 6 เดือน ก็ยังคงต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ครับ จึงขอเรียนให้ทราบเพื่อจะได้เตรียมตัวกันแต่เนิ่น ๆ
 
กรมสรรพากรได้จัดเตรียมแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท
 
นอกจากได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% ของกำไรสุทธิ ลงเหลือ 15% ของกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท และ 25% ของกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท
 
สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 3 ล้านบาทนั้น ให้ยังคงเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราปกติ 30% นั้น ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2551 นี้ ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่กิจการดังกล่าวอีกไม่เกิน 150,000 บาทต่อรอบระยะเวลาบัญชี
 
ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ครึ่งปีของกิจการดังกล่าวนั้น ท่านอธิบดีกรมสรรพากร นายศานิต ร่างน้อย ได้แจ้งว่า ให้นำจำนวนเงินที่ได้รับยกเว้นไม่เกิน 150,000 บาท มาคำนวณหักออกจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิของทั้งรอบระยะเวลาบัญชี ในลักษณะเดียวกับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ที่เคยได้รับยกเว้นมาก่อนหน้านี้แล้ว

ตอนที่ 2

    ย่างเข้าเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด.51 สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ และมีรอบระยะเวลาบัญชีตรงกับปีประดิทิน (ปฏิทิน) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง 31 ธันวาคม 2551
 
ขอเรียนย้ำกันอีกครั้งหนึ่งว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีมี 2 กรณี คือ
 
กรณีที่ 1 สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ และเครดิตฟองซิเอร์ รวมถึงกิจการที่ได้รับอนุญาตให้มีผู้สอบทานงบการเงิน ซึ่งสามารถคำนวณกำไรสุทธิตามความเป็นจริงได้นั้น ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีจากกำไรจริงที่ได้รับ สำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรก ซึ่งมีวิธีการคำนวณภาษีเช่นเดียวกับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำรอบระยะ เวลาบัญชีนั่นเอง เพียงแต่ตัดระยะเวลาให้สั้นลงเหลือเพียงหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชีเท่านั้น
 
ส่วนกรณีที่ 2 สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปนอกจากที่กล่าวข้างต้น ให้เสียจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำและจะได้กระทำตลอดรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว
 
ทั้งนี้ ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท
 
อย่างไรก็ตาม ในปี 2551 นี้ ท่านอธิบดีกรมสรรพากร นายศานิต ร่างน้อย ได้กล่าวย้ำเป็นกรณีพิเศษว่า ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท นอกเหนือจากการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังเช่นปีที่ผ่านมา
 
ดังนั้น กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท เมื่อประมาณการกำไรสุทธิได้เป็นจำนวนเท่าใด นำไปหักด้วยผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี คงเหลือเป็นจำนวนเท่าใดให้หารด้วยสอง เพราะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
 
สำหรับจำนวนกำไรที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายใหม่จำนวนไม่เกิน 150,000 บาทนั้น ให้นำไปหักออกจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิของทั้งรอบระยะเวลาบัญชี แล้วจึงนำมาคำนวณภาษีในอัตรา 15% ของกำไรสุทธิ ในส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท หลังจากหักจำนวนกำไรสุทธิที่ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคลดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นคำนวณภาษีในอัตรา 25% ของกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท และสำหรับ 30% ของกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 3 ล้านบาท

ตอนที่ 3

    จันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2551 แล้ววันรุ่งพรุ่งนี้ ก็เป็นวันแม่แห่งชาติ โดยเฉพาะสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทยทุกคน และทรงคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน เพื่อเป็นมิ่งขวัญ ของพสกนิกรชาวไทยสืบไปตราบนานเท่านาน
 
วันแม่ ก็ต้องทำความดีเพื่อทดเเทนพระคุณแม่ กลับไปหาท่าน ดูแลท่านทำให้ท่านมีความสุข หากอยู่ไกลโดยระยะทาง ก็หาเวลาโทรศัพท์ขอพรท่าน เพียงเท่านี้ก็นับว่าได้ทำบุญแล้ว หากท่านผู้ใดปฏิบัติยิ่งกว่านี้ ก็ยิ่งเป็นการทำมหากุศล ขอร่วมแสดงมุทิตาจิตด้วย
 
ย้อนกลับมาเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด.51 สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ และมีรอบระยะเวลาบัญชีตรงกับปีประดิทิน (ปฏิทิน) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง 31 ธันวาคม 2551 ซึ่ง ต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีภายในวันที่ 31 สิงหาคม นี้
 
เเต่เนื่องจากวันที่ 31 สิงหาคม ตรงกับวันอาทิตย์ วันสุดท้ายของกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 จึงเลื่อนไปเป็นวันจันทร์ที่ 1 กันยายน ครับ ซึ่งท่านสามารถยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีได้โดยไม่มีเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ
 
กรณีเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีจากประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ให้นำประมาณการกำไรสุทธิภายหลังหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนปีปัจจุบัน มาคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีเพียงกึ่งหนึ่ง
 
เช่น บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของไทยแห่งหนึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 2 ล้านบาท ประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2551 ภายหลังหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี เป็นเงิน 1,150,000 บาท เช่นนี้ ได้กำหนดให้บริษัทฯ ต้องหักกำไรสุทธิที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวน 150,000 บาท คงเหลือประมาณการกำไรสุทธิ 1,000,000 บาท ดังนั้นบริษัทฯ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีเป็นเงิน 1,000,000/2 x 15% = 75,000 บาท ตามกฎหมาย ***(หมายเหตุ ตัวอย่างนี้ผู้เขียนยกตัวอย่างผิด อ่านต่อตอนที่ 4 ซึ่งได้อธิบายแก้ไขใหม่ภายหลัง ไม่ได้คิดแบบวิธีนี้)

 
หากในระยะเวลาหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้  ก็ให้นำเครดิตมาหักออกจากจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องเสียดังกล่าวได้อีก ถ้าจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายน้อยกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ก็ให้ชำระเพิ่มเติมส่วนที่ขาดนั้น ทั้งจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย และจำนวนภาษีที่ชำระเพิ่มเติมให้ถือเป็นเครดิตในการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 ประจำรอบระยะเวลาบัญชีต่อไป

ตอนที่ 4 

    ยังอยู่ในช่วงเวลาการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด.51 สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ และมีรอบระยะเวลาบัญชีตรงกับปีประดิทิน (ปฏิทิน) ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 51-31 ธ.ค. 51 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีภายในวันที่ 31 ส.ค.นี้ แต่ปรากฏว่า วันที่ 31 ส.ค. เป็นวันอาทิตย์ ดังนั้นวันสุดท้ายของกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 จึงเลื่อนไปเป็นวันจันทร์ที่ 1 ก.ย. แทน ซึ่งท่านสามารถยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีได้โดยไม่มีเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ตามที่ได้เรียนให้ทราบแล้ว
 
ต้องขอโทษที่อาจทำให้เข้าใจเกี่ยวกับตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีจากประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิในสัปดาห์ก่อน ซึ่งมีท่านผู้อ่านบางท่านแจ้งว่า ยกตัวอย่างผิด ก็ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ ขอแก้ดังนี้ครับ
 
ให้นำประมาณการกำไรสุทธิภายหลังจากที่คำนวณหักด้วยผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนปีปัจจุบัน มาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีเพียงกึ่งหนึ่ง หากมีสิทธิยกเว้นสำหรับกำไรสุทธิ ก็ให้นำมาหักออกจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ เหลือเท่าใดให้คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เช่น บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของไทยแห่งหนึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 2 ล้านบาท ประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 51 ภายหลังหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี เป็นเงิน 2.4 ล้านบาท เช่นนี้ ให้บริษัทฯ คำนวณกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ ได้เป็นเงิน 1.2 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิหนึ่งล้านบาทแรก ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 150,000 บาท คงเหลือประมาณการกำไรสุทธิ 850,000 บาท คิดเป็นเงินภาษีเงินได้นิติบุคคล 127,500 บาท ส่วนกำไรสุทธิอีก 200,000 บาท คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 25% คิดเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล 50,000 บาท รวมเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีที่ต้องชำระ 177,500 บาท
 
หากในระยะเวลาหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ ก็ให้นำมาเครดิตหักออกจากจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องเสียดังกล่าวได้อีก ถ้าจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายน้อยกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ก็ให้ชำระเพิ่มเติมส่วนที่ขาดนั้น ทั้งจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย และจำนวนภาษีที่ชำระเพิ่มเติมให้ถือเป็นเครดิตในการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 ประจำรอบระยะเวลาบัญชีต่อไป

 Download แบบ ภ.ง.ด.51 ปี 2551 (pdf)

 คำอธิบายการกรอกแบบ ภ.ง.ด.51 ปี 2551(pdf)  

   ปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)     

   ภ.ง.ด.51(ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี)

บทความโดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์ 

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (ระหว่างวันที่ 28/7/51 ถึง 18-8-51) 




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี