บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

การวางแผนภาษี - ตัวแทนนายหน้าประกันชีวิต
การวางแผนภาษี - ตัวแทนนายหน้าประกันชีวิต
ไล่เลียงกับการประกาศเพิ่มค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตจาก 10,000 บาท เป็น 50,000 บาท ป.115/2545 เป็นการวางหลักเกณฑ์การเสียภาษีทุกประเภทของตัวแทนนายหน้าประกันชีวิต ไม่ว่าจะจัดตั้งหน่วยภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือนิติบุคคล โดยกล่าวครอบคลุมทั้งภาระภาษี เงินได้ (บุคคลธรรมดา, นิติบุคคล) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีของ VAT ดูจะเป็นประเด็นปัญหาที่ค้างคาใจของตัวแทนนายหน้าประกันชีวิต 1.ภาระภาษีของตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต จากสถิติของทางราชการ พบว่าในปัจจุบันมีประชาชนที่มีการทำประกันชีวิตในรูปแบบต่างๆ รวมกันถึงประมาณ 10 ล้านคนโดยมียอดเบี้ยประกันรวมทั้งสิ้นในปี 2544 ถึง 1 แสนล้านบาท และมีตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต ทั้งที่ยึดเป็นอาชีพประจำและอาชีพเสริม รวมกันถึง 300,000 ราย และได้รับค่าตอบแทนรวมทั้งสิ้นถึง 22,000 ล้านบาทในปี 2544 แน่นอนว่า ด้วยเม็ดเงินจำนวนมหาศาลขนาดนี้ ในอดีต ต้องยอมรับว่ากลุ่มตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิตยังมีการเสียภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ - อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจในข้อกฎหมาย หรืออาจจะจงใจหลีกเลี่ยงก็คงมี ประกอบกับจำนวนหน่วยภาษีมีมากถึง 300,000 ราย คำสั่ง ป.115/2545 ที่เพิ่งประกาศเป็นหลักเกณฑ์ในการเสียภาษีอย่างละเอียดยิบ ย่อมเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่า นับแต่นี้สูเจ้าทั้งหลายจะต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองผู้เสียภาษีที่ดี + ถูกต้อง จะอ้างลมอ้างฟ้าใดๆไม่ได้แล้ว แนวคิดของ ป.115/2545 อธิบายสรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้ครับ (รายละเอียดดูในตาราง) (1) นายหน้า ตัวแทนประกันชีวิต สามารถจัดรูปแบบองค์กรได้เป็น 3 ลักษณะคือ บุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือนิติบุคคล (2) หน่วยภาษีในรูปบุคคลธรรมดา โดยทั่วไปจะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1)(2) แห่งประมวลรัษฎากร (3) กรณีประกอบกิจการในรูปแบบของธุรกิจ เช่น มีการเช่าสำนักงานและมีพนักงานลูกจ้าง รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น กรณีจะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะต้องคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง อาทิ ค่าเช่า เงินเดือน ค่าเสื่อมราคา ค่าสาธารณูปโภค ค่ารับรอง ค่าพาหนะ เป็นต้น และจะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 3% ตามคำสั่ง ท.ป.104/2544 และต้องยื่นแบบชำระภาษีเงินได้ครึ่งปีด้วย (ภ.ง.ด.94 หรือ ภ.ง.ด.51 ตามแต่กรณี) อนึ่งรูปแบบองค์กรในกรณีนี้อาจเป็นได้ทั้งในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลและนิติบุคคล (4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่านายหน้า ตัวแทนประกันชีวิต จะจัดรูปแบบองค์กรอย่างไร (บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล)กรณีจะถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร ตามนัยมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะต้องจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายรับก่อนหักรายจ่ายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ผลก็คือ จะต้องมีการออกใบกำกับภาษี จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 เช่นเดียวกับธุรกิจการค้าในระบบ VAT ทั่วๆไป หน่วยภาษี ภาระภาษีบุคคลธรรมดา/คณะบุคคล/นิติบุคคล 1. ภาษีที่ต้องชำระ ภาษีเงินได้, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, VAT ภาษีเงินได้, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, VAT ภาษีเงินได้, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, VAT 2. ผลประโยชน์ตอบแทนอื่น เช่น ได้ไปท่องเที่ยว/สัมมนา ในต่างประเทศ, รางวัลตามเป้าฯลฯต้องนำรวมเป็นฐานภาษีทุกประเภทตามแต่กรณีเหมือนกรณีบุคคลธรรมดาเหมือนกรณีบุคคลธรรมดา 3. การคำนวณภาษีเงินได้รายได้คำนวณตามเกณฑ์เงินสด (Cash basis) กรณีเป็น 40(1)(2) หัก เหมาได้ 40% ไม่เกิน 60,000บาท กรณีเป็น 40(8) หักค่าใช้จ่ายตามเกิดจริงเหมือนกรณีบุคคลธรรมดา รายได้คำนวณตามเกณฑ์สิทธิ (ม.65) รายจ่ายคำนวณตามที่เกิดจริง ตามนัยมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรีแห่งประมวลรัษฎากร 4. ภาษีเงินได้ครึ่งปีกรณีเป็น 40(8) ต้องยื่น ภ.ง.ด.94 2. การวางแผนภาษีของตัวแทน /นายหน้าประกันชีวิต พิจารณาจากหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วอาจกล่าวได้ว่า 2.1 ตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิตมีแง่มุมและประเด็นภาษีที่พึงพิจารณาดังนี้ครับ (1) การจัดรูปแบบของหน่วยภาษี สามารถทำได้ 3 ทางเลือกด้วยกันคือ จัดตั้งเป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล - ขนาดของเงินได้ที่ได้รับ ถ้ามียอดต่ำเช่นมีเงินได้สุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาท - ผู้เสียภาษีดังกล่าวมีเงินได้ประเภทอื่นๆ หรือไม่ ถ้ามีเงินได้หลายประเภทอยู่แล้วในนามบุคคลธรรมดา การจัดตั้งคณะบุคคลแยกเงินได้ค่านายหน้าออกมาย่อมประหยัดภาษีลงมาได้ (2) การจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะทำให้เกิดภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย VAT หลายประการ เช่น การออกใบกำกับภาษี การจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ การยื่น ภ.พ. 30 เป็นต้น ท่านผู้อ่านคงหลับตานึกภาพออกกระมังว่าจะมีภาระมากน้อยเพียงใด? ดังนั้น การแตกหน่วยภาษีมิให้มีรายรับถึง 2.2 บริษัทประกันชีวิต ตามนัยข้อ 5 แห่งคำสั่ง ป.115/2545 ได้กล่าวถึงรายจ่ายค่าส่งเสริมการขาย เช่น 2.3 ผู้ทำประกันชีวิต กฎกระทรวง #240 เปิดช่องให้ผู้มีเงินได้สามารถนำค่าเบี้ยประกันของคู่สมรส มาหักลดหย่อนภาษีได้ ตามเงื่อนไขบางประการที่กำหนดในประกาศอธิบดีฯเกี่ยวกับภาษีเงินได้ #112 3.ส่งท้าย จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผู้เขียนมักได้รับคำถามจากเพื่อนๆ + ลูกศิษย์ที่เป็นนักธุรกิจ และบุคคลต่างๆ อยู่เสมอ ในทำนองวิตกและเกรงกลัวภาระภาษีจนเกินเหตุ ทั้งๆ ที่ยังมิได้ศึกษาข้อมูลในรายละเอียดของตนด้วยซ้ำ และส่วนใหญ่มักจะโน้มไปในทางพยายามหาช่องทางหนีภาษี (tax evasion) บทความชิ้นนี้ คงจะเป็นข้อเขียนอีกอันหนึ่งที่บ่งชี้ว่าวิธีเสียภาษีให้ถูกๆ (เงิน)
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |