ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



วางแผนภาษีกับหนีภาษี ต่างกันอย่างไร

 

                                                  วางแผนภาษีกับหนีภาษี ต่างกันอย่างไร 

 

ความหมายของการวางแผนภาษีอากร (Tax Planning)

การวางแผนภาษีอากรคือการเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน และประหยัด การทำให้ไม่ต้องชำระภาษีหรือการทำให้เสียภาษีน้อยที่สุดโดยวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายก็ถือเป็นการวางแผนภาษีอากรด้วย
การวางแผนภาษีอากรต้องกระทำก่อนเริ่มต้นประกอบธุรกิจ และเมื่อจะเลิกประกอบธุรกิจก็ต้องมีการวางแผนภาษีอากรด้วย

ความหมายของการหนีภาษี (Tax Evasion)

                

การหนีภาษีคือการที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายหรือฉ้อฉลเพื่อที่จะทำให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง ซึ่งการกระทำเช่นนี้มีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ตัวอย่างของการหนีภาษี เช่น ผู้เสียภาษีไม่กรอกจำนวนเงินได้หรือทรัพย์สินที่จะต้องเสียภาษีในแบบแสดงรายการโดยเจตนา หรือกรอกแต่กรอกไม่ตรงต่อความเป็นจริงเพื่อให้เสียภาษีน้อย หรือการตั้งราคาโอน (Transfer Pricing) ก็เป็นการหนีภาษีเช่นเดียวกัน

การตั้งราคาโอน หมายถึงการที่บริษัทในเครือของบริษัทข้ามชาติ (Multinational Firm) ซื้อสินค้าจากบริษัทแม่หรือในบริษัทในเครือในต่างประเทศในราคาสูงกว่าความเป็นจริง เพื่อทำให้ต้นทุนสูง กำไรของบริษัทในประเทศไทยจะได้ต่ำ ทำให้เสียภาษีน้อยลง หรือการที่บริษัท ในประเทศไทยขายสินค้าให้แก่บริษัทแม่หรือบริษัทในเครือในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง กำไรจะได้ต่ำหรือขาดทุน ทำให้เสียภาษีในประเทศไทยน้อยหรือไม่ต้องเสียภาษีเลย

ความหมายของการหลบหลีกภาษี (Tax Avoidance)

การหนีภาษีต่างกับการหลบหลีกภาษี การหลบหลีกภาษีคือ การที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อทำให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง การใช้ช่องโหว่ของกฎหมายภาษีอากร (Tax Loopholes) เพื่อทำให้ไม่ต้องเสียภาษี หรือเสียภาษีน้อยลงก็ถือเป็นการหลบหลีกด้วย

การหลบหลีกภาษีถือเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย ฉะนั้นการหลบหลีกภาษีจึงเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนภาษี ตัวอย่างของการหลบหลีกภาษี เช่น การที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยไม่นำเงินได้ที่ได้รับจากการทำงานหรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาในปีภาษีเดียวกันกับที่ได้รับเงินได้นั้น แต่นำเข้ามาในปีภาษีอื่น ทำให้ ไม่ต้องเสียภาษี ก็เป็นการหลบหลีกภาษีที่ไม่ผิดกฎหมาย เพราะตามแนวปฏิบัติของกรมสรรพากร หากผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยไม่นำเงินได้ที่ได้รับจากการทำงาน หรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับที่ได้รับเงินได้นั้น กรมสรรพากรก็ไม่เก็บภาษี (หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค 0802/696 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2530)

คำแนะนำ 6 ประการ  

1. ผู้วางแผนควรจะรู้ว่ามีเงินได้ ทรัพย์สิน หรือธุรกรรมอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการยกเว้นภาษีนั้นอาจเป็นการยกเว้นโดยพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงก็ได้ นอกจากนี้อาจเป็นการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี การยกเว้นภาษีนั้นอาจจะเป็นการยกเว้น โดยพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวงก็ได้ นอกจากนี้อาจจะเป็นการยกเว้นโดยอนุสัญญาภาษีซ้อน (Double Taxation Agreement) ซึ่งประเทศไทยได้ทำไว้กับประเทศต่าง ๆ รวม 40 ประเทศก็ได้

2. องค์กรธุรกิจเหล่านี้ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด   กิจการร่วมค้า (Joint venture) และกลุ่มบริษัท (Consortium) ผู้วางแผนควรจะรู้ว่าองค์กรธุรกิจใดเสียภาษีมากน้อยแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะช่วยให้ตัดสินใจเลือกองค์กรธุรกิจที่เหมาะสมแก่การประกอบการได้ถูกต้อง

3. ผู้วางแผนควรจะรู้รายละเอียดของภาษีแต่ละประเภท ตัวอย่างเช่น  ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้วางแผนควรจะรู้ว่าผู้ใดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เสียจากเงินได้อะไร? เสียในอัตราเท่าใด? ถ้ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นจะมีวิธีการในการหาข้อยุติอย่างไร?

4. ผู้วางแผนควรจะรู้ว่าสัญญาแต่ละประเภทมีภาระภาษีอย่างไร? ไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขายสัญญาจ้างทำของ สัญญาเหมาเบ็ดเสร็จ (Turnkey contract) สัญญาให้เช่าช่วยเหลือทางเทคนิค (Technical Assisstance Agreement) สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing Agreement) สัญญาร่วมค้า (Joint Agreement) สัญญากลุ่มบริษัท (Consortium Contract) และควรจะรู้ต่อไปว่าคู่สัญญาฝ่ายใดเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีและหักภาษี ณ ที่จ่าย นอกจากนี้ควรจะรู้ว่ามีสัญญาอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีหรือได้รับการลดภาษี

5. ผู้วางแผนควรจะรู้บัญชีภาษีอากร (Tax Accounting) เพราะในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มต้องใช้บัญชีภาษีอากร จะใช้รับบัญชีการเงิน (Financial Accounting) ไม่ได้ บัญชีภาษีอากรเป็นบัญชีที่กำหนดโดยภาษีอากร เช่น ประมวลรัษฎากร ต่างจากบัญชีการเงิน ฉะนั้นกำไรหรือขาดทุนที่ปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุนซึ่งทำขึ้นตามหลักบัญชีการเงินจึงยังใช้เสียภาษีไม่ได้ ต้องมีการปรับปรุง (Adust) ให้เป็นไปตามหลักบัญชีภาษีอากรซึ่งบัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65, 65 ทวิ และ 65 ตรี

6. ผู้เสียภาษีควรจะทำบัญชีและเก็บรักษาบัญชีพร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นอาจ ได้รับโทษทางอาญาและต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น เช่น เจ้าพนักงานประเมินอาจจะใช้อำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) แม้บริษัทผู้เสียภาษีจะขาดทุนก็ตาม

บทความบางส่วนจาก : การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) โดย ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม

ที่มา : http://www.smethaiclub.com




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี