
กลโกงภาษี
ข่าวพาดหัว อุ้มสมุห์บัญชีบริษัท ช.การช่าง ส่อโยงคดีภาษี คงจะเกิดแรงเหวี่ยงต่อผู้คนในข่าวทุกๆ ฝ่าย
ไม่ว่าจะเป็นตัวกลุ่มนักอุ้ม + ผู้ถูกอุ้มและครอบครัว + บริษัท ช.การช่าง จำกัด +สรรพากร (เพราะถูกพาดพิง)
ผู้เขียนคงไม่กล่าวย้ำเจาะไปในรายละเอียดของเนื้อข่าวดังกล่าว เพราะบุคคลต่างๆ
เหล่านี้ล้วนได้รับเคราะห์กันหนักหนาสากรรจ์อยู่มากแล้ว
ข้อเขียนในวันนี้ จะพุ่งไปที่กลวิธีหลีกเลี่ยงภาษี เท่าที่ตรวจพบอยู่ปกติทั่วไป พอเป็นกระสายดังนี้ครับ
1. การวางแผนภาษี (tax avoidance / tax planning)หรือโกงภาษี (tax evasion)
คงต้องอ้างคำพิพากษาอมตะของท่านผู้พิพากษา Learned Handของศาลสูงในสหรัฐอเมริกาที่ว่า
There is nothing sinister in arranging ones affairs so as to keep trees as
law as possible (มิใช่เป็นสิ่งที่ผิดอันใดเลย
ที่ผู้เสียภาษีจะหาช่องทางหรือกลวิธีใดๆให้ตนชำระภาษีต่ำที่สุดเท่าที่กฎหมายเปิดช่องให้)
หากจะอธิบายความตามประสาพูด ก็คงจะต้องบอกว่ากรณีเนื้อหาตามคำพิพากษาถือเป็นการวางแผนภาษี
ซึ่งบางกรณีอาจรู้สึกหมิ่นเหม่แต่ไม่มีความผิดตามกฎหมาย อาทิ
- การจัดตั้งคณะบุคคล เพื่อแตกฐานเงินได้ให้เล็กลง ทำให้หน่วยภาษีเดิมซึ่งมีเงินได้แท้จริง
สามารถประหยัดเงินภาษีลงมาได้ เช่น คณะบุคคลบิดากับบุตรเป็นต้น
กรณีดังกล่าว ถ้าพิจารณาจากเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคณะบุคคล ย่อมชัดเจนว่ามิใช่เกิดจากเหตุผลทางธุรกิจ
แต่เป็นเพราะต้องการประหยัดภาษีเท่านั้นเอง
- การแยกกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ออกเป็น 2 หน่วยภาษี คือ บริษัท ขายที่ดินเปล่า จำกัด
(เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ) และบริษัท รับจ้างสร้างบ้าน จำกัด (เข้าสู่ระบบ
VATทำให้มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อ (input tax)
ถามว่า กรณีดังกล่าวเป็นเจตนาแท้จริงทางการค้าหรือไม่
คำตอบก็คงเป็นเช่นเดิมว่าเพราะตูต้องการประหยัดเงินภาษีจ้า!
ส่วนกรณีการหนีภาษี (หรือจะเรียกว่าโกงภาษี) ซึ่งตามศัพท์ภาษาอังกฤษมีหลายคำเรียก เช่น tax fraud หรือ
tax evasion เป็นต้นนั้น จะต้องเข้า 3องค์ประกอบต่อไปนี้ครับ
1. An attempt must be made to evade taxes. (Spies v. U.S.317
U.S.492)จงใจหนีภาษี
2. Wilfulness must be proved (Haigler v. U.S.172 F2d 986, C.A.
10th)พิสูจน์เจตนาดังกล่าวได้ชัดเจน
3. A tax deficiency must exist (U.S. v. Schneck, 126 F2d 702 C.A. 2d Cert.
denied) จากข้อ 1 + 2 เป็นผลให้เกิดการเสียภาษีต่ำกว่ายอดที่ถูกต้องตามกฎหมาย
(ผู้เขียนมักเจอคำถามจากประดาลูกศิษย์อยู่เสมอๆว่า กรณีข้าฯเสียภาษีผิดพลาดโดยเสียสูงไป เช่นนี้
จะมีโทษฉันใดหรือไม่ เช่น อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ค่าบริการคือ 3% แต่หักและนำส่งไป 5%
หรือกรณีคำนวณรายได้ในแบบ ภ.ง.ด.50 เกินไป 1 ล้านบาท ทำให้เสียภาษีสูงไป 3 แสนบาท เป็นต้น
ซึ่งผู้เขียนได้แจ้งแก่ห่านสีขาวทั้ง 2 ท่านว่ากรณีเช่นนี้ เป็นความผิดที่เป็นคุณต่อแผ่นดิน ดังนั้นโทษย่อมไม่มี
มีแต่จะ (น่าจะ) แจกโล่เกียรติ-คุณให้ด้วยซ้ำ แฮ่ๆ!)
2.กลวิธีหนีภาษีในประเทศไทย
ขอยกกลโกงภาษีสามัญทั่วไปที่มักตรวจพบอยู่เสมอ (โดยเฉพาะในหมู่เถ้าแก่ใหม่ SMEs ทั้งหลาย)ดังนี้ครับ
(1) หลบรายได้ ตัวอย่างเช่น

- ขายสินค้า 100 รายการ แต่เปิดบิล (ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีตามแต่กรณี) เพียง 20รายการ
- แตกหน่วยภาษีออกเป็นหลายๆ คณะบุคคลซึ่งมิใช่นิติกรรมที่แท้จริง
- จับสลากชิงโชคได้รางวัลใหญ่ (ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร) แต่ให้บุตร 5
ขวบเป็นผู้รับรางวัลแทน เพราะตัวคุณพ่อคุณแม่ เป็นผู้มีรายได้สูงปรี๊ดตกในช่วงอัตราภาษี 20% แล้ว
หากนำเงินรางวัลไปรวมทับเข้าไป ก็จะต้องถูกเก็บภาษีถึง 30%เชียว
- ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี รายนี้ซิจึงจะถือว่าเจ๋งจริง (แฮ่ๆ แต่ตอนจบ ขณะถูกจับได้ละก็
นอกจากต้องเสียภาษีย้อนหลัง + เบี้ยปรับ 2 เท่า + เงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนแล้ว
ยังต้องโดนดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งระวางโทษปรับ 2 พันถึง 2 แสนบาท
และจำคุก 3 เดือนถึง 7 ปีเชียว!)
(2) หักรายจ่ายเกินจริง (Claming Fictitious or Improper Deductions) ตัวอย่างเช่น
- นำรายจ่ายส่วนตัวมาตัดจ่ายในบัญชีของบริษัท เช่น ซื้อเครื่องเขียนแบบพิมพ์ให้ลูกๆ ค่านิตยสารรายเดือน
รายปักษ์ ซึ่งอ่านที่บ้าน ค่าอาหารเลี้ยงรับรองญาติผู้ใหญ่ ค่าเช่าอพาร์ทเมนท์ตากอากาศส่วนตัว เป็นต้น
กรณีจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี (3)
- รายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง (ม.65 ตรี (9)) เช่น รายจ่ายค่าซ่อมแซมตามบิล 2,000 บาท
แต่ลงบัญชีเป็น 5,000บาท
- ตั้งรายจ่ายค้างจ่ายแก่บริษัทในเครือเป็นระยะเวลานาน โดยมิได้มีการจ่ายจริง (มาตรา 65 ตรี (1)
เงินสำรองหรือ (9))
- บริจาคเงินแก่พรรคการเมืองต่างๆ
ขณะนี้กฎหมายภาษีของไทยยังมิได้มีบทบัญญัติรองรับเหมือนในต่างประเทศชั้นนำ
กรณีจึงคงเข้าลักษณะรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี (3) (13)
(รายจ่ายส่วนตัวและไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจของกิจการ)
(3) การหลีกเลี่ยงโดยผ่านระบบบัญชี (Accounting Irregularities)
- การทำบัญชี 2 ชุดหรือไม่บันทึกบัญชีเอาดื้อๆ
- การบัญชีรายการทรัพย์สินเป็นค่าใช้จ่าย เช่น กรณีการต่อเติมอาคาร บันทึกเป็นค่าซ่อมแซม เป็นต้น ผลก็คือ
กิจการสามารถหักรายจ่ายได้เร็วขึ้น แทนที่จะต้องตัดจ่ายในรูปค่าเสื่อมราคาถึง 20ปี
- การถ่ายโอนกำไรระหว่างประเทศ โดยวิธีการตั้งราคาโอน (transfer pricing) เช่น
บริษัทในเครือในประเทศไทย ซื้อสินค้าจากบริษัทแม่ในต่างประเทศในราคาสูงกว่าความเป็นจริง
หรือการตั้งรายการเท็จ เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าที่ปรึกษา เป็นต้น ซึ่งขณะนี้กรมสรรพากรได้ออกคำสั่ง
ป.113/2545และวางแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ช่องโหว่ดังกล่าวแล้ว
- การบันทึกบัญชีเงินลงทุนระยะยาว (investment portfolio) เป็นเงินลงทุนระยะสั้น (trading
portfolio) เพื่อสามารถหักรายจ่ายจากการด้อยค่า ตามนัยมาตรา 65ทวิ (6)
(สินค้าคงเหลือให้ตีราคาด้วยราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า)
แฮ่ๆ
เอาแค่พอหอมปากหอมคอ
เพราะการนำเสนอบทความทำนองนี้ถือเป็นดาบสองคมซึ่งอาจเป็นผลเสียต่อทางราชการได้
สำหรับกรณีข้างต้น เป็นวิธีการพื้นฐานทั่วไป ซึ่งฉากสุดท้ายมักจะจบลงด้วยความเศร้าเคล้าน้ำตา!
3.บทลงโทษผู้เสียภาษีที่ฉ้อฉล
ขณะนี้ ในประมวลรัษฎากรของไทยเรา ยังถือว่ามีบทลงโทษที่หน่อมแน๊มเต็มที จึงทำให้ทุจริตชนไม่เกรงกลัว
ซึ่งในระยะยาวควรจะต้องเร่งแก้ไข
โดยเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงเหมือนในอารยประเทศโดยอาจต้องนำมาตรการแซงชั่น (Sanctions)
ทางสังคมมาประกอบด้วย เช่น ให้ปรากฏชื่อในบัญชีดำ (black list) ของทางการ และเสียสิทธิต่างๆ
ทางสังคมและธุรกิจเป็นต้น
ในที่นี้ ขอสรุปบทลงโทษสำหรับภาษีหลักๆ เพียง 2กลุ่มดังนี้ครับ (ตาราง)
ประเภทภาษีโทษแพ่งโทษอาญา
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม
1. ภาษีเงินได้ (บุคคลธรรมดา, นิติบุคคล)- 1 เท่าของภาษีที่ชำระขาด (ม.22)
- 2 เท่า กรณีมิได้ยื่นแบบ (ม.26)1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน (ม.27)กรณีจงใจหลีกเลี่ยงภาษี ม.37
กำหนดโทษปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 2 แสนบาทและจำคุก 3 เดือนถึง 7 ปี
2. ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ - 1 เท่า กรณียื่นภาษีขายขาด, ภาษีซื้อเกิน, ชำระภาษีขาดฯลฯ (ม.89)
- 2 เท่า กรณีไม่ยื่นแบบฯ มีสินค้าขาดจาก stock ฯลฯ (ม.89) 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน
(ม.89/1)มาตรา 90 90/5 กำหนดบทลงโทษเรียงตามลำดับลหุโทษไปถึงโทษสูงสุดเท่ากับมาตรา 37
รวมแล้ว 42กรณี
4.ส่งท้าย
กํลยาณีจกํลยาณํง
ปาปกาลีจปาปกํง
กรรมใดใครก่อคนผู้นั้นต้องรับกรรม
การหลีกเลี่ยงภาษี นอกจากจะต้องรับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นบาปทางใจ
ที่ต้องคอยผวาอยู่เสมอแม้เพียงเห็นนกกาบินผ่าน
ความจริงวิธีประหยัดภาษีสามารถทำให้ถูกกฎหมายได้ โดยวิธีวางแผนภาษี (tax planning)
รับรองว่าเป็นวิธีที่ดีกว่า ถูกต้อง ถูกเงินและถูกใจสรรพากรมากกว่าเป็นไหนๆ!
ข้อมูลเพิ่มเติม : วางแผนภาษีกับหนีภาษี ต่างกันอย่างไร
: 10 กลโกงภาษี

บทความจาก : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ / ที่มา : http://www.payom.netfirms.com