บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ผ่าเล่ห์เหลี่ยมกลโกงภาษีรัฐ
ผ่าเล่ห์เหลี่ยมกลโกงภาษีรัฐ
หนาวกันไปตามๆ กัน หลังกรมสรรพากรมีนโยบายให้หน่วยจัดเก็บภาษีทั่วประเทศดำเนินการอุดรูรั่ว พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี หลังจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปเสริมทัพอีก 2,000 คน และเปิดสำนักงานสรรพากรใหม่ 21 แห่งทั่วประเทศ ทั้งนี้ กลยุทธ์ที่ นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร ได้มอบนโยบาย ก็คือ การใช้ฐานข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นเครื่องมือตรวจสอบภาษี โดยมี 2 รูปแบบ 1.ใช้ฐานข้อมูลภาษี หัก ณ ที่จ่าย ตรวจสอบโยงไปถึงการเสียภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาและคณะบุคคล เพราะเท่าที่ตรวจสอบ พบว่า ยังมีผู้เสียภาษีจำนวนมากที่ไปรับจ้างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนทำงาน และมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งจะมีการเรียกให้มาจด VAT ให้ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียภาษีบางรายอาศัยช่องว่างกฎหมายไปจดทะเบียนแยกเป็นคณะบุคคลหลายคณะ เพื่อกระจายรายได้ไปใส่ไว้ในคณะบุคคลต่างๆ เพื่อหลบเลี่ยง VAT และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เท่าที่ผ่านมา มีบุคคลบางรายมีรายได้ต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาท ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราสูงสุด 37% จึงจัดตั้งเป็นคณะบุคคลขึ้นมา 6 คณะ แล้วแบ่งรายได้ไปยังคณะบุคคล คณะละ 3 แสนบาท เพื่อเลี่ยงกฎหมายไม่ต้องเข้าระบบ VAT และไม่เสียภาษีเงินได้ เพราะเมื่อนำค่าใช้จ่ายและสิทธิที่ได้รับลดหย่อนแล้ว รายได้ต่อปีไม่ถึง 2.4 แสนบาท ประเด็นนี้ กรมสรรพากรได้แก้เกม โดยยกเลิกการจดทะเบียนเป็นคณะบุคคลทาง Internet ใครประสงค์จะจดทะเบียนคณะบุคคลต้องมาที่สรรพากรพื้นที่อย่างเดียว รูปแบบที่ 2 ใช้ฐานข้อมูลภาษี หัก ณ ที่จ่าย ตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัท ว่ามีการลงบันทึกในบัญชีหักเป็นค่าใช้จ่ายถูกต้องหรือไม่ เพราะมีบางบริษัทเกณฑ์พนักงานหรือลูกจ้างโรงงานที่มีเงินเดือนไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีมาสร้างรายจ่ายเทียมเพื่อหลบเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกตัวอย่าง นาย ก มีรายได้ 100,000 บาท/ปี ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะมีรายได้ไม่ถึง 240,000 บาท/ปี จึงมีช่องว่างรายได้เหลืออยู่ 140,000 บาท/ปี จึงอาศัยช่องว่างนี้สร้างรายจ่ายเทียม โดยจ้างนาย ก ให้รับงานพิเศษไปทำ แต่มีการจ่ายค่าจ้างกันจริง เพราะออกใบหัก ณ ที่จ่าย ให้ลูกจ้าง แต่บางรายไม่มีการจ่ายเงินจริง เพียงสร้างหลักฐานเท็จเพื่อนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ นอกจากนี้บางบริษัทจ้างคนพิการมาใส่ชื่อเป็นพนักงาน เพื่อให้หักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า นี้เพียงตัวอย่างที่กรมสรรพากรยกมา ให้ดูเพียงเล็กๆ น้อยๆ แต่เล่ห์เหลี่ยมการโกงภาษีรัฐยังมีอีกหลากหลายวิธี ต้องติดตามต่อไปว่ารัฐจะอุดรูรั่วเหล่านี้อย่างไร ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 เมษายน 2551 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |