ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ล้มบนฟูก...เขาทำกันอย่างไร

 

                                                                     ล้มบนฟูก...เขาทำกันอย่างไร

 

    เมื่อตอนที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจใหม่ๆ ทางการได้สั่งปิดสถาบันการเงินถึง 56 แห่งตอนนั้น ผมรู้สึกสงสารและเห็นใจเจ้าของสถาบันการเงินเหล่านี้เป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อมารู้ว่า เขา "ล้มบนฟูก" กันอย่างไรความสงสารก็กลายเป็นความชิงชัง ความเห็นใจกลายเป็นความเจ็บแค้นผมถึงกับพูดกับเพื่อนว่า " นี่มันปล้นประเทศชาติกันชัดๆ และทำกันได้อย่างไร้ยางอายที่สุด"

ยุคกว้านซื้อสถาบันการเงิน

  ย้อนไปช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโต ทุกคนต่างเร่งขยายกิจการ เมื่อเงินลงทุนมีจำกัดก็ต้องไปกู้สถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือบริษัทเงินทุน การกู้เงินมักจะมีขั้นตอนและใช้เวลา ทำให้นายทุนนักธุรกิจจำนวนหนึ่งรู้สึกไม่ทันใจ อยากจะเป็นเจ้าของธนาคาร บริษัทเงินทุนเสียเอง กู้เอง อนุมัติเอง ง่ายดีธุรกิจที่ต้องใช้เงินทุนเยอะๆ อย่างเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สื่อสาร รถยนต์ อุตสาหกรรมเคมี โรงเหล้าโรงเหล็กและโรงแรม ต่างพร้อมใจกันทุ่มเงินกว้านซื้อบริษัทเงินทุนบ้าง ธนาคารบ้างมาเป็นของตน ที่มีเงินเยอะหน่อยก็ใช้วิธีเทคโอเวอร์ ที่มีเงินทุนน้อยก็ใช้วิธีซื้อหุ้นร่วมทุนเป็นพันธมิตร 

  เมื่อได้เป็นเจ้าของแล้วบริษัทในเครือของตนทั้งหมดก็เปลี่ยนมากู้เงินจากสถาบันการเงินใหม่นี้ กู้ง่ายอนุมัติเร็ว ด้วยเหตุผลว่าบริษัทผู้กู้เหล่านี้ล้วนมั่นคงเพราะตนเป็นผู้บริหาร เป็นหลักประกันอยู่เมื่อเงินได้มาง่าย การใช้จึงหละหลวม มือเติบ สุรุ่ยสุร่าย กล้าได้กล้าเสีย โดยคิดว่าอย่างไรเสีย ตนก็มีแหล่งเงินหนุนหลังอยู่ ขาดเงินก็ไปกู้มาเพิ่มได้ตลอดเวลา ทุกคนจึงทุ่มลงทุนเต็มที่ เพื่อหวังเป็นแห่งแรกบ้าง ใหญ่ที่สุดบ้าง

  โดยคาดหวังว่าเมื่อเศรษฐกิจมันขยายเท่านั้นเท่านี้ ตนจะได้กำไรอย่างนั้นอย่างนี้แต่เศรษฐกิจไม่โตอย่างที่คาดแถมยังหดตัวรุนแรง เงินทุนที่ทุ่มเข้าไปเพื่อหวังเป็นแหล่งรายได้ใหม่เข้ามากลับกลายมาเป็นภาระฉุดดึง รายได้ที่เข้ามาไม่คุ้มภาระดอกเบี้ย ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่าย เงินเดือนพนักงานและค่าเสื่อมราคาเมื่อตัวเลขติดลบมากๆ  จนขาดสภาพคล่อง ก็ทำเรื่องกู้เพิ่ม อ้างว่า ขยายกิจการ บางคนใช้วิธีกู้จากสถาบันการเงินอื่นแต่ให้สถาบันการเงินของตน ค้ำประกันเงินกู้ให้ กู้กันเรื่อยไป จนสถาบันการเงินของตนขาดสภาพคล่อง

  แต่ทุกอย่างยังไม่ดีขึ้น บริษัทย่อยเหล่านี้ก็เริ่มหยุดชำระหนี้ รอดูสถานการณ์เดือนแล้วเดือนเล่า ดอกเบี้ยยิ่งพอกพูน จนกลายเป็นหนี้เสียที่เรียกกันว่า "NPL" (Non Performing Loan) หนี้ที่ไม่ชำระดอกเบี้ยเกินกว่า 3 เดือน สถาบันการเงินที่ถูกปิดส่วนใหญ่จะมี NPL 70-80% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด ว่ากันว่า บางแห่งสูงถึง 90%

สถาบันการเงินถูกปิดเมื่อมีการลดค่าเงินบาท

  รัฐบาลตัดสินใจขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เงื่อนไขของ IMF ข้อหนึ่งคือ ให้ปิดสถาบันการเงินที่อ่อนแอ รัฐต้องไม่เอาเงินภาษีประชาชนไปอุ้ม ช่วงนั้นจึงมีข่าวลือว่า แบงก์และไฟแนนซ์ จะล้มกันมากมาย ประชาชนจึงพากันไปถอนเงินกันยกใหญ่ รัฐบาลพิจารณาแล้วว่า ถ้ายังปล่อยให้มีข่าวลือทำนองนี้อยู่เรื่อย และประชาชนยังถอนเงินกันไม่หยุด ต่อไปสถาบันการเงินทุกแห่งทั้งดีและเลวจะล้มกันหมด จึงประกาศรับประกันเงินฝากทั้งหมด ทีนี้ยุ่งกันไปใหญ่เพราะรัฐบาลโดยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินจะต้องวิ่งหาเงินไปจ่ายผู้ฝากเงินกับสถาบันการเงินที่ตนสั่งปิดไป เป็นจำนวนหลายแสนล้านบาทถามว่า เงินมาจากไหน คำตอบก็คือ"เงินหลวง"เงินภาษีอากรที่เก็บจากตาสีตาสานั่นเอง แต่เนื่องจากยอดเงินที่ต้องรับผิดชอบมีจำนวนมหาศาลรัฐไม่ได้เตรียมการเรื่องนี้มาก่อน เงินคงคลังที่มีอยู่ไม่พอ ต้องกู้ยืมธนาคารพาณิชย์เอกชนและออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวนมาก

  ทำให้ดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงอย่างไม่เคยมาก่อน จนกองทุนฟื้นฟูได้สมญานามว่า ไอ้ตัวดูด รัฐได้อะไรเป็นสิ่งตอบแทนอย่างที่เราทราบแล้วว่า รัฐอยู่ในสภาวะจำยอม ต้องทำเพื่อรักษเสถียรภาพและความเชื่อถือให้กับภาคธุรกิจการเงิน ลองนึกภาพดูว่า ถ้าความเชื่อถือพังพาบลงคนไม่กล้านำเงินไปฝาก สถาบันการเงินก็ไม่มีเงินไปปล่อยกู้ บริษัท โรงงานต่างๆ ขาดเงินหมุนเวียน ทุกธุรกิจจะเป็นอัมพาตหมด สถานการณ์คงไม่แตกต่างจากภาวะสงคราม ไม่มีใครเชื่อถือคำพูดใครอีก รัฐทุ่มทุนไปมโหฬารเป็นเงินหลายแสนล้านบาท สิ่งที่รัฐได้มา คือ บัญชีลูกหนี้เน่าๆของสถาบันการเงินที่รัฐเข้าไปดูแล

  ถ้ารัฐเก็บหนี้คืนได้ทั้งหมด แน่นอนว่า ต้องคุ้มกับเงินที่รัฐทุ่มไป

  แต่อย่างที่รู้กัน หนี้เหล่านี้เป็น NPL ถึง 70-80% กองทุนฟื้นฟูไม่มีความชำนาญในเรื่องการบริหารหนี้ประกอบกับนโยบายรัฐบาล ต้องการดึงเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ จึงประกาศให้บริษัทสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศเข้ามาประมูลหนี้สินเหล่านี้ไปบริหารต่อ  แผนเหนือเมฆ ลูกหนี้ไทย  ไคลแมกซ์อยู่ตรงนี้แหละครับ บริษัทของเจ้าสัวต่างๆ ที่อยู่ในบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่ปิดไปเป็นพวกนกรู้ เขาประเมินคาดการณ์มาก่อนหน้านี้แล้วว่า แนวทางจะออกมาอย่างนี้ เขาจึงหยุดจ่ายหนี้เพื่อให้เป็นลูกหนี้ที่มีปัญหา เมื่อรัฐมีการประมูลขายลูกหนี้ออกไป เขาก็ไปขอซื้อคืนในราคาต่ำๆดีกว่าการไปผ่อนคืนทั้งต้นและดอกเป็นไหน

  หากเราปะติดปะต่อภาพทั้งหมดเข้าด้วยกัน เราจะรู้ว่า เขาล้มบนฟูกกันอย่างไรยกตัวอย่างเช่น ท่านเจ้าสัว เปิ่น ทุ่มเงินซื้อสถาบันการเงินเล็กๆ แห่งหนึ่งที่มีทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 30 บาทซื้อหุ้นไป 50% ของทุนจดทะเบียนหรือ  25 ล้านหุ้น เท่ากับใช้เงินไป 750 ล้านบาทแล้วอาศัยเครดิตของตนและการบริหารที่ี่กล้าได้กล้าเสีย จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากสูงๆ แล้วนำเงินไปเก็งกำไรทุกรูปแบบ ทำให้สถาบันการเงินแห่งนี้เติบโตแบบก้าวกระโดดมีสินทรัพย์และเงินฝากเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

  ต่อมาเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 500 ล้านบาท เป็น 1,000 ล้านบาทเจ้าสัวรักษาสิทธิของตนซื้อหุ้นอีก 50% ของหุ้นเพิ่มทุน แต่ซื้อในราคาพาร์ 10 บาท เท่ากับควักเงินอีก 250 ล้านบาท รวมเงินทั้งสิ้นที่ลงทุนในสถาบันการเงินแห่งนี้ 1,000 ล้านบาทในระหว่างนี้มีประชาชน ให้ความเชื่อถือ นำเงินมาฝาก 13,000 ล้านบาท และตัวสถาบันการเงินไปกู้เงินนอกมาเองอีก 100  ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2,500 ล้านบาทขณะนั้น) เพื่อมาปล่อยกู้ต่อให้ลูกค้าในประเทศขณะที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัว สถาบันแห่งนี้ปล่อยสินเชื่อไปถึง 15,000 ล้านบาท มีหลักทรัพย์ค้ำประกันบ้างไม่มีบ้าง ใช้เครดิตเจ้าของบริษัทค้ำก็มี รับซื้อเช็คก็มี แน่นอนว่า จำนวนนี้มีการปล่อยสินเชื่อให้บริษัทในเครือของเจ้าสัว 30-40% หรือประมาณ 5,000 ล้านบาท

  เมื่อกิจการในเครือเจ้าสัวทรุดลง หนี้สิน 5,000 ล้านบาท กลายเป็น NPL รัฐเข้ามาควบคุมสถาบันการเงินแล้วจัดให้มีการขายทอดตลาดหนี้สินส่วนนี้ออกไป โดยวิธีประมูลสมมติว่า ได้ประมูลขายออกไปที่ราคา 30% ของยอดหนี้เดิม หรือเพียง 1,500 ล้านบาท เจ้าสัวก็จะวิ่งหาแหล่งเงินใหม่เตรียมไว้ซื้อหนี้คืน จากสถาบันการเงินที่ประมูลได้ไปในราคา เพียง 2,000 ล้านบาท เท่ากับตอนกู้เงินรับเงินมา 5,000 ล้านบาท แต่ซื้อหนี้คืนในราคา 2,000 ล้านบาท กำไร 3,000 ล้านบาทหักเงินลงทุนที่ซื้อสถาบันการเงินแห่งนี้มาในราคา 1,000 ล้านบาท ยังได้กำไร 2,000 ล้านบาท คนที่ขาดทุนป่นปี้ คือ ผู้ถือหุ้นรายย่อยและรัฐบาล ผู้ถือหุ้นรายย่อยขาดทุนในหุ้นที่ถูกลดทุนเหลือหุ้นละ 1 สตางค์โดยไม่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนรัฐบาลขาดทุนจากการที่ไปค้ำประกันเงินฝาก เพราะต้องจ่ายเงินให้ผู้ฝากเงินทั้งหมดแต่สามารถขายหนี้สินออกไปได้เงินมาเพียง 30% ของยอดหนี้เท่านั้นเอง

   แต่เจ้าสัวไม่ต้องแบกรับภาระแม้แต่บาทเดียว ตกกระไดพลอยโจน ถามว่าเจ้าสัวอยากให้เหตุการณ์ออกมาอย่างนี้มั้ย คำตอบคือ "ไม่" เพราะถ้าเศรษฐกิจยังดี และทุกอย่างเป็นไปตามแผนสถาบันการเงินก็ยังอยู่เป็นฐานการเงินให้ธุรกิจในเครือข่ายที่กู้เงินไป ก็สามารถสร้างผลตอบแทนให้ปีละ10-20% เป็นการใช้เงินต่อเงินแต่เมื่อไม่เป็นไปตามแผน เกิดพลาดขึ้นมา จึงตกกระไดพลอยโจนอย่างน้อยก็ไม่เจ็บหนัก  เดิมที เจ้าสัวก็ไม่คาดว่าจะออกมาอย่างนี้หรอก เพราะที่ผ่านมาเวลาสถาบันการเงินมีปัญหาก็เป็นเพียงแห่งสองแห่ง ลูกหนี้รายใหญ่จะใช้วิธียื้อหนี้เจรจาต่อรองบ้าง ไม่ไปศาลตามนัดบ้าง ดึงเรื่องไปเป็นปีๆ รอจนเศรษฐกิจฟื้น เมื่อหลักทรัพย์ค้ำประกันโดยเฉพาะที่ดิน และหุ้นมีราคาถีบตัวสูงขึ้นมา จึงค่อยมาประนอมหนี้ ตัดแบ่งที่ดินขายไปตามส่วน เพื่อไปใช้หนี้ แล้วยังมีสินทรัพย์เหลืออยู่สามารถทำธุรกิจต่อไปได้

   แต่รอบนี้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจร้ายแรงเป็นประวัติการณ์ สถาบันการเงินล้มพร้อมกันกว่าครึ่งร้อย รัฐไม่มีปัญญาอุ้ม จึงใช้วิธีประมูลขายบัญชีลูกหนี้ ซึ่งกลับเป็นเรื่องที่ถูกอกถูกใจเจ้าสัวเพราะสามารถไถ่หนี้ได้ในราคา ถูกและทำได้รวดเร็วทันใจดี 

   แผนสองของเจ้าสัวกรณีที่จะเป็นปัญหา ก็คงเป็นเรื่องการโก่งราคาของเจ้าหนี้ใหม่  ที่ประมูลหนี้ได้ไป เจ้าสัวก็ไม่กลัวเพราะ

1. หลักทรัพย์ค้ำประกันราคาต่ำกว่ามูลหนี้
2. เจ้าหนี้ใหม่ไม่ชำนาญในธุรกิจของตน คงไม่ยึดธุรกิจไปทำเอง
3. หากมีปัญหา ตนสามารถผ่องถ่ายทรัพย์สินได้ทัน
เมื่อเชื่อว่า ตนถือไพ่เหนือกว่า อย่างมากที่สุดที่จะเกิดขึ้นคือ การประนอมหนี้ ซึ่งแน่นอนว่า เจ้าหนี้จะขอมาเจรจาด้วย ลดดอกเบี้ยให้ ยืดเวลาชำระหนี้  หรือแม้กระทั่งเพิ่มเม็ดเงินให้ใหม่ ถ้าเจ้าสัวเสนอแผนฟื้นฟูที่น่าเชื่อถือ จะเห็นว่ามีแต่ได้กับได้
 เพราะเจ้าสัวยังมีเส้นสายและบารมีเหลืออยู่

              

ไม่ได้เป็นเจ้าสัว ก็ล้มบนฟูกได้

  ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าสัวหรือเจ้าของสถาบันการเงินล่ะ ล้มบนฟูกได้มั้ย คำตอบคือ ได้เช่นกัน ไม่ได้ซับซ้อนอะไรด้วย

แผนหนึ่ง : แกล้งขาดสภาพคล่อง เพื่อให้เป็น NPL แล้วค่อยไปซื้อหนี้คืนจากเจ้าหนี้ใหม่ที่ประมูลหนี้ของตนไป

แผนสอง : หากเจรจากันไม่รู้เรื่องจริงๆ หรือเห็นว่า ถึงอย่างไรบริษัทของตนก็ฟื้นฟูไม่ขึ้นแล้ว ก็ใช้วิธีผ่องถ่ายทรัพย์สิน

  ซึ่งทำได้มากมายเป็นสิบๆ วิธี เช่น

1.ตบแต่งบัญชี ทำค่าใช้จ่ายให้สูง เก็บหนี้ไม่ได้ สินค้าในระหว่างผลิตเสียหาย
2.ขายทรัพย์สินในราคาถูก เช่น ขายหุ้นในบริษัทย่อยในราคาถูก โละสต็อกสินค้าในราคาเหมือนให้เปล่า หรือ ขายอาคารพร้อมที่ดินในราคา 1 บาท โดยอ้างว่ามูลค่าทางบัญชีอยู่ที่ 1 บาท
3.ซื้อสินทรัพย์เพิ่มในราคาแพง เช่น ซื้อหุ้น หรือที่ดินจากบริษัทในเครือในราคาแพงทั้งที่ธุรกิจของตนไม่จำเป็นต้องซื้อหุ้น หรือที่ดินเก็บไว้
4.ให้บริษัทในเครือยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
5.ทำสัญญาผูกพันซื้อสินค้าจากบริษัทในเครือในราคาสูงผิดปกติ บางแห่งอาจมีเงื่อนไขปรับถ้าทำผิดสัญญา
แล้วในที่สุดก็แกล้งให้ปรับจริงๆกว่าเจ้าหนี้ใหม่จะฟ้องร้องยึดทรัพย์ ทรัพย์สินต่างๆก็ถูกผ่องถ่ายไปจนแทบไม่เหลืออะไรไว้

  ที่เรียก "ล้มบนฟูก" ก็เป็นอย่างนี้แหละ คือ ดูเหมือนล้ม แต่ยังมีทรัพย์สินเหลืออยู่บ้าง ไม่เจ็บเท่าไร 

ฤา ชี้โพรงให้กระรอก

   บทความนี้ไม่ได้เขียนเพื่อชี้โพรงให้กระรอก เกรงแต่จะเป็นการสอนจระเข้ให้ว่ายน้ำมากกว่า เนื่องจากเรื่องเหล่านี้ คนในวงการธุรกิจย่อมรู้ดีอยู่แล้ว เพียงแต่จิตใจจะชั่วร้ายพอที่จะทำอย่างนั้นหรือเปล่าและไม่ได้หมายความว่า เจ้าสัวทุกคนจะตั้งใจล้มบนฟูก ที่ดีมีจรรยาบรรณก็มี ที่เตรียมทางหนีทีไล่ไว้ก็เยอะ อย่างน้อยเราจะได้รู้เท่าทันเขา อย่าได้ประเมินเขาต่ำเกินไป

   มัวแต่สงสารว่าเขาจะหมดตัวเขาเพียงแต่กำลังจะจับเงินหมื่นล้าน แล้วคว้าได้แค่พันล้านเท่านั้นเอง

   ทางออกของปัญหามองเห็นภาพกันมาตลอดแล้ว คงจะเกิดคำถามตามมาว่าแล้วอย่างนี้
ต่อไปใครอยากเป็นลูกหนี้ที่ดีล่ะ ถ้าไม่มีบทลงโทษสำหรับคนโกง คำตอบคือ "รัฐ"โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องเป็นแกนในการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลด้านเครดิตหรือ "เครดิตบูโร" ให้สถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศเป็นสมาชิก เก็บข้อมูลด้านเครดิตของลูกค้าทั้งหมดว่า ใครมีประวัติการกู้เงินอย่างไร เคยเบี้ยวหนี้หรือไม่ มีส่วนร่วมหรือพัวพันอย่างไร ตั้งใจหรือเกิดจากสภาพเศรษฐกิจรวม เมื่อเกิดปัญหาแล้วให้ความร่วมมือหรือไม่ เก็บข้อมูลกันเป็น 10 ปี 20 ปี หรือตลอดชีวิต

นั่นหมายความว่า ใครมีเจตนาทุจริตเพียงครั้งเดียว จะมีประวัติด่างพร้อยไปตลอดชีวิต

ทุกคนจึงต้องรักษาเครดิตของตนให้ดีที่สุด อีกสถาบันที่ควรจัดตั้ง คือ "สถาบันประกันเงินฝาก"เพื่อดูแลสถาบันการเงินที่มีปัญหา และรับประกันเงินฝากให้ประชาชนในจำนวนจำกัด เช่น เพียง 1-2 ล้านบาท เพื่อรัฐจะได้ไม่ต้องมีภาระมากเกินไปและให้ประชาชนได้ระมัดระวังการฝากเงินมากขึ้น ให้รู้จักเลือกสถาบันที่มีความมั่นคง มิใช่มองแต่ผลตอบแทนเรื่องดอกเบี้ยอย่างเดียวซึ่งสุดท้ายจะกลายเป็นเหยื่อส่งเสริมสถาบันการเงินที่มุ่งระดมเงิน เพื่อเก็งกำไรอย่างเดียว

   บทสรุป "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" พุทธภาษิตกล่าวไว้อย่างนั้น พอมีเรื่องนี้เกิดขึ้น คนพูดกันหนาหูว่า "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" ผู้ใหญ่ที่ผมนับถือท่านหนึ่งกล่าวกับผมว่า "ยัง ยังอ่านไม่ถึงบทสุดท้ายของชีวิตเลย เรื่องนี้อาจต้องดูกันถึงสัมปรายภพ" ผมได้แต่ยกมือพนมโมทนาสาธุขอให้จริงเถิดท่านเจ้าสัวทั้งหลายครับ ท่านเป็นจำเลยของคนทั้งแผ่นดิน ที่ทุกคนต้องลำบากกันถ้วนหน้า ถูกรีดภาษีเพิ่ม ซื้อของแพงขึ้น ก็เพื่อมาชดใช้ความเสียหายที่ท่านทำไว้ ประเทศไทยมีคน 62 ล้านคน แค่ชดใช้สัมปรายภพให้พวกเราคนละหนึ่งปี คูณกันเอาเองครับว่า ต้องชดใช้โทษกันกี่ปี....สาธุ


 
บทความจาก : กรุงเทพธุรกิจ   ที่มา : http://www.payom.netfirms.com 




รวมบทความสาระน่ารู้

7 เหตุผลที่คุณ(อาจจะ)ไม่ต้องมีสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่
จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก
สุดยอด Super Car ที่ใครๆ อยากได้
สาเหตุที่ทำให้คนไม่รู้สึกว่าจะต้องซื้อแท็บเล็ตอีกต่อไปแล้ว
ไทยจะมี ตึกสูงติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก
'อีโบลา' โรคระบาดแห่งศตวรรษที่ 21
โรคซึมเศร้า...ภัยร้ายใกล้ตัว
เรียนเป็น 10 ปี ทำไมถึงพูดภาษาอังกฤษให้ดีไม่ได้
ปวดหัวไมเกรน...สาเหตุ และวิธีการรักษาทำได้อย่างไรบ้าง
ดินแดนเหมือนฝันที่ต้องไปสักครั้งก่อนตาย
ของขวัญนั้นสำคัญไฉน
สารคดี ประสาทเขาพระวิหาร
วิธีดาวน์โหลดคลิปจาก Youtube ความละเอียด 1080 p ฟรี
รวมคลิป 10 ปีใน 4 นาที บินชมทิวทัศน์ดาวอังคาร
โจร E- Banking
แรงบันดาลใจ พลังแห่งการสร้างสรรค์ - สตีฟ จ็อบส์
วิธียื่นขอกู้เงินซื้อบ้านให้ 'ผ่าน'
มหาตมะ คานธี ( Mahatama Gandhi ) มหาบุรุษผู้สร้างแรงบันดาลใจให้นักต่อสู้ทั่วโลก
ภัย ! Internet Banking สวมรอยแล้วโอนเงิน
กูเกิลเปิดตัว 'Chromecast' เปลี่ยนทีวีบ้านๆ ให้เป็นสมาร์ททีวี ในราคา 1,000 กว่าบาท
HIV ตรวจพบควบคุมได้
แรงบันดาลใจจากคนรักสัตว์
ฟอร์บส์จัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ปี 56 - 'เจ้าสัวซีพี' ซิวที่ 1
ประเทศเมียนมาร์ ความเปลี่ยนแปลงหลังเปิดประเทศ
รู้ทันสัญญาณอันตราย! “หลอดเลือดสมองอุดตัน” ศึกษาวิธีป้องกันก่อนสาย
แอปเปิลเปิดตัว iOS 7 เปลี่ยนโฉม iOS ครั้งใหญ่ที่สุด
แอปเปิลเตรียมผลิต 'ไอโฟน' จอใหญ่ขึ้น-มีหลายสี
มือถือ แท็บแล็ต ค่าย Android ดีหรือไม่ดีอย่างไร มาฟังกูรูวิจารณ์
รวมเรื่องราวเปิดโลกวันหยุดต่างๆ รอบโลก
รถไฟความเร็วสูง ก้าวสู่ระบบการเดินทางสายหลักแห่งอนาคต
ข้อควรรู้ เพื่อห่างไกลจากแฮกเกอร์
Malaysia - รู้จักมาเลเซียในหลากหลายแง่มุม
จัดอันดับงานที่ดีและแย่ที่สุดในสหรัฐฯประจำปี 2556
สายด่วนช่วยเหลือสังคม ศูนย์ช่วยเหลือสังคม เพื่อให้การช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการ
รับอาสาสมัครบุกเบิกไป 'ดาวอังคาร' แต่ไปแล้วไม่ได้กลับมา
Titanic - รำลึกครบรอบ 101 ปี เรือไททานิกล่ม
Sakura Festival เทศกาลชมดอกซากุระประจำปีของญี่ปุ่น
South Africa กว่า 20 ปีของการสิ้นสุดลัทธิเหยียดผิว
อุบัติเหตุแบบไทยๆ
โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ผู้นำสหภาพโซเวียตผู้ยิ่งใหญ่
Oscars สุดยอดรางวัลเกียรติยศของนักแสดงและผู้ผลิตภาพยนตร์
บัณฑิตครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ล้นตลาดแล้ว
ย้อนรอยเหตุการณ์สำคัญปี 2012
สุดยอดนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2555
อาชีพนักศึกษาจบใหม่ที่ได้เงินเดือนสูงสุด-ต่ำสุด
รีวิว iPad Mini
เปิดเส้นทางสู่ทำเนียบขาว
ระวัง ! ใช้ Wi-Fi ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ อาจเสี่ยงโดน Hack ข้อมูล
เรื่องราว ประวัติ แง่มุม ที่น่าสนใจของ Bill Gates เจ้าพ่อ Microsoft
จะเกิดอะไรกับ มือถือและแท็บเล็ต เมื่อ "3 G" ฉลุยใช้งาน
กินเจ - วัฒนธรรมการกินมังสวิรัติแบบต่างๆ
'เติ้งเสี่ยวผิง' บิดาแห่งประเทศจีนยุคใหม่
วิถีชีวิต ชาวนิวยอร์ก
ชายหาดที่สวยที่สุดในโลก
บัตรประจำตัวประชาชน บัตรคู่กายคนไทย มีความสำคัญอย่างไร
ย้อนอดีตสงครามมหาเอเซียบูรพา
"ด้านมืดสังคมออนไลน์" ใส่ร้าย อาชญากรรม ฉ้อโกง
หลากหลายเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Google Search
ธุรกิจผลิต Application
'นาซา' เดินหน้าแกะรอยสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
บัณฑิตปริญญาตรี ตกงาน 1 ใน 3
100 เคล็ดลับน่ารู้คู่บ้าน
กำเนิดกีฬาโอลิมปิก
วีดีโอ...ประวัติศาสตร์อเมริกา
คลิปวีดีโอแกะกล่อง แท็บเล็ต ป.1 มีหน้าตาเป็นอย่างไร
ประวัติรถไฟโดยสารของโลก
แนวโน้มอาชีพอินเทรนด์ ปี 2555
"ฮีทสโตรก" ภัยร้าย หน้าร้อน
เชื่อหรือไม่ เมืองไทยคนจนลดลง
นิตยสารฟอร์บส์จัดอันดับประเทศที่รวยที่สุดในโลก
ประเทศไทยจะมีช่องฟรีทีวีระบบดิจิตอล 50 ช่อง
ทิศทางเศรษฐกิจไทยหลังน้ำท่วม
เรือนจำที่ดีที่สุดในโลกที่นอร์เวย์
Doctor Me หมอประจำบ้าน เว็บไซต์ที่จะให้ทุกคนสามารถดูแลสุขภาพในช่วงน้ำท่วมได้ด้วยตัวเอง
5 อันดับที่พักพิงชั่วคราวสุดเจ๋ง
คลิปวีดีโอ ภาพถ่ายล่าสุดของโลกจากสถานีอวกาศนานาชาติ
รู้ สู้ ! Flood - วีดีโอ Infographic สร้างสรรค์ ที่เข้าใจง่าย ให้ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นเรื่องน้ำท่วมที่ประชาชนควรรู้
ชีวิตที่ยังจมน้ำของชาวบ้านบางบัวทอง
หนังแอ็คชั่นที่ดีที่สุดของชาวอเมริกัน
เปิดข้อเสนอระยะสั้น-กลาง- ยาว แก้ปัญหาน้ำท่วม
รวบรวมเรื่องของน้ำท่วม - การจัดการน้ำ - หลากหลายความเชื่อเรื่องน้ำท่วมโลก
คำแนะนำสำหรับผู้ใช้รถยนต์ช่วงน้ำท่วม
วางกระสอบทรายป้องกันน้ำท่วมให้ถูกวิธี
10 ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
การจากไปของ " STEVE JOBS"
เสี่ยงหรือไม่ ลงทุนในทองคำ
มหาวิทยาลัยของไทย จุฬาฯ - มหิดล ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
เจาะลึกความเป็น Apple ในมุมมองที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
19 ปี วัดพระบาทน้ำพุ ภาพสะท้อนสถานการณ์โรคเอดส์ในไทย
เริ่มลดการคุ้มครองเงินฝากแล้ว
แนะนำ App Android ที่น่าสนใจ ( หน้า 2 )
แนะนำ App ในมือถือ Android ที่น่าสนใจ
กฎหมายต้านทารุณสัตว์ ฉบับแรกของไทย
รถยนต์ควบคุมด้วยความคิดคันแรกของโลก
เปิดผลงานวิจัยสำรวจการเกิดสึนามิในประเทศไทย
124 ปี เชษฐบุรุษประชาธิปไตย “พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา”
'มีอะไรบ้างใน iPad2'
ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์อากาศในประเทศไทย ยังแปรแปรวนต่อจนถึงเดือนพฤษภาคม 2554
คนญี่ปุ่นกับเหตุุการณ์ธรณีพิบัติและสึนามิ