บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ถาม - ตอบ เรื่องภาษี ที่ผู้ประกอบการควรรู้
ถาม - ตอบ เรื่องภาษี ที่ผู้ประกอบการควรรู้
จริงหรือที่การจ่ายเงินปันผลจะช่วยให้ประหยัดภาษีแก่ผู้ถือหุ้นเพราะสามารถใช้ประโยชน์จากการได้รับเครดิตภาษีจากเงินปันผล 3 ใน 7 คำตอบ คือจริงและไม่จริง จริงคือ บริษัทไทยจ่ายปันผล ผู้ถือหุ้นไทยก็จะได้รับเครดิตภาษี 3 ส่วน 7 ของเงินปันผลและยังนำภาษีที่ถูกหักไว้ 10% มาใช้หักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้ด้วย ดังนั้นถ้าผู้รับปันผล (ผู้ถือหุ้น) เสียภาษีในฐานภาษีที่ต่ำกว่าอัตรา 37% ก็ได้รับภาษีคืนทุกราย วิธีการการจ่ายปันผลจึงถือเป็นการทำ Tax Planning วิธีหนึ่ง เพระานอกเหนือจากได้ปันผลจากบริษัท ผู้ถือหุ้นยังได้รับภาษีคืนจากกรมสรรพากรอีกด้วย ไม่จริงคือ ถ้าผู้รับปันผล (ผู้ถือหุ้น) เสียภาษีในอัตราภาษีสูงที่อัตรา 37% อยู่แล้วการเอาเงินปันผลมารวมคำนวณกับเงินได้อื่นแม้ว่าจะได้รับเครดิตภาษีเงินปันผล ก็ไม่ได้ช่วยให้ประหยัดภาษีแต่กลับเป็นการเสริมฐานภาษีให้สูงขึ้น จึงควรใช้สิทธิ์ยอมให้ถูกภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผล โดยไม่นำมาคำนวณกับเงินได้อื่น เครดิตภาษีไม่สามารถใช้ได้กับผู้มีเงินได้ที่ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (ใช้เกณฑ์ 180 วันในรอบปีปฏิทินเป็นเกณฑ์ตัดสิน) แต่ส่วนใหญ่เราๆ ก็หาเงินได้ทะลุอัตรา 37% น้อยเต็มทน เพราะฉะนั้นถ้าใครเล่นหุ้นได้ปันผลมาอย่าลืมใช้สิทธิประโยชน์ที่รัฐมอบให้นะครับ บริษัทที่ประกอบกิจการรับจ้าง ถูกหักภาษี 3 % ทุกครั้งจากผู้ว่าจ้างการคำนวณภาษีพบว่า ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย มากกว่าภาษีที่ต้องชำระของปีปัจจุบัน จะยกยอดภาษีที่ชำระเกินปีนี้จากการที่ถูกหักภาษีไว้มากไปใช้ปีต่อไปได้หรือไม่ คำตอบคือ ยกยอดไปใช้ไม่ได้ครับ ภาษีที่บริษัทถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้จากผู้จ้าง หรือผู้จ่ายเงินได้ ต้องใช้ปีต่อปี คือภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายของปีไหนต้องใช้หักกับภาษีที่ต้องจ่ายชำระของปีนั้น ถ้าเหลือมีสิทธิขอคืนครับ (แต่ไม่แนะนำให้ทำ) แต่ไม่มีสิทธิยกยอดไปใช้ปีหน้า การลงทุนจดทะเบียนเพื่อล้างขาดทุนสะสม จะทำให้ขาดทุนสะสมทางภาษีที่ยกมาไม่เกิน 5 ปี ซึ่งสามารถใช้หักกับกำไรสุทธิทางภาษีหายไปด้วยหรือไม่ คำตอบคือ ไม่หายไปไหนครับ ก็ยังอยู่ในแบบ ภงด. 50 คือทางบัญชีการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมจะทำให้ขาดทุนลดลง งบดูดีขึ้น มีกำลังใจฟื้นฟูกิจการกัน ถ้าให้ทำใช้หนี้แล้วยังต้องทำใช้ขาดทุนสะสมมหาศาล ก็คงหมดกำลังใจกันไปเหมือนกัน บริษัทฯ ที่ลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมทางบัญชียังคงใช้สิทธิการหักผลขาดทุนทางภาษีที่ยกมาจากปีก่อนๆ ได้เหมือนเดิมทุกประการ แต่ต้องเป็นขาดทุนทางภาษีที่ยกมาไม่เกินกว่า 5 รอบบัญชี นับจากปีปัจจุบันขึ้นไป สุดแล้วแต่ว่าบริษัทฯ จะมีปัญญาทำกำไรเพื่อใช้ประโยชน์ทางภาษีหรือไม่มากกว่าไม่เช่นนั้น จะเห็นขาดทุนสะสมตกน้ำ (หมดอายุ....เพราะมันว่ายน้ำไม่เป็น) ไปปีแล้วปีเล่าจนครบ 5 ปี อย่างไรก็เอาใจช่วยครับฟื้นกันเยอะ คนที่อยู่จะได้ไม่ต้องถูกเรียกขยายฐานภาษีกัน ค่ารับรอง ทางภาษีการเปลี่ยนแปลงเพดานสูงสุดที่ยอมให้หักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้จริงหรือ คำตอบคือ มีการเปลี่ยนแปลงเพดานสูงสุดของค่ารับรองที่ยอมให้หักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ โดยมีผลใช้บังคับสำหรับรอบระยะบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นไม่เกินร้อยละ 0.3 ของยอดรายได้ หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดในรอบบัญชี หรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่ าและกำหนดวงเงินขึ้นสูงที่จะให้หักไว้ได้ด้วยอีกชั้นหนึ่ง คือ รายจ่ายที่จะนำมาหักได้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท นิติบุคคลที่เพิ่งจดทะเบียนบริษัทเป็นปีแรก ต้องยื่นภาษีกลางปีหรือไม่ คำตอบคือ ปีแรกหรือรอบบัญชีแรกถือว่ามีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน ไม่ต้องยื่นแบบ ภงด. 51 หรือภาษีกลางปี ทำนองเดียวกันรอบบัญชีที่มีการจดเลิกบริษัท ซึ่งทำให้รอบบัญชีไม่เต็ม 12 เดือน ก็ไม่ต้องยื่นภาษีกลางปี ภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี ต้องยื่นแบบพร้อมชำระภาษีที่คำนวณได้เมื่อใด คำตอบคือ ภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบบัญชี 6 เดือนแรก เช่นรอบบัญชีบริษัทสิ้นสุด 31 ธันวาคม ของทุกปีรอบบัญชี 6 เดือนแรกก็คือ 30 มิถุนายนของทุกปี ดังนั้นบริษัทฯ ที่มีรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ต้องยื่นประมาณกำไรสุทธิแล้วคำนวณและชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธินั้นภายในเดือนสิงหาคม การแสดงประมาณการกำไรสุทธิ กฎหมายให้คลาดเคลื่อนได้เท่าไหร่ คำตอบคือ แสดงประมาณการกำไรสูงไปไม่มีโทษปรับภาษีที่ชำระไว้กลางปีเป็นเครดิตภาษีตอนปลายปีได้ แสดงประมาณการกำไรขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิที่เกิดจริงของทั้งปี ซึ่งรู้ได้เมื่อสิ้นปียื่น ภงด. 50 โดยไม่มีเหตุอันควรเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยใช้ยอดกึ่งหนึ่งของภาษีปลายปีที่ต้องชำระมาเทียบกับจำนวนภาษีที่ยื่นไว้แล้วตอนครึ่งปีแรกผลต่างก็เสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ทรัพย์สินทั้งหลายที่ด้อยค่า แล้วมาตรฐานบัญชีให้รับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าเป็นรายจ่ายทางภาษีได้หรือเปล่า คำตอบคือ เป็นรายจ่ายต้องห้ามทางภาษี เพราะฉะนั้นในการคำนวณภาษี บริษัทฯ ต้องบวกกลับผลขาดทุนจากการด้อยค่าของทรัพย์สินใน ภงด. 50 แล้วถ้าตอนราคา Mark to Market พุ่งขึ้นมา การด้วยค่าหายไป บริษัทฯ ก็ไม่ต้องเอาไปเป็นรายได้ทางภาษี การตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ทางบัญชีถือเป็นส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน ทางภาษีต้องเป็นรายได้หรือเปล่า คำตอบคือ การตีราคาทรัพย์สินเพิ่ม บริษัทฯ ไม่ต้องนำส่วนเกินจากการที่ตีราคาทรัพย์สินไปเป็นรายได้ ค่าเสื่อมราคาก็ต้องเป็นค่าเสื่อมของต้นทุนทรัพย์สินที่ซื้อมาครั้งแรก ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่ตีราคาเพิ่มขึ้นก็เอามาเป็นรายจ่ายไม่ได้ ที่มา : หนังสือ Make Money โดย : ประวัติ ฐิรโฆไท |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |