ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



การวางแผนภาษีของสามีภริยา

 

                                                              การวางแผนภาษีของสามีภริยา


  สามีภริยาควรจะช่วยกันวางแผนภาษี หากไม่ช่วยกันวางแผนภาษีแล้ว อาจจะต้องเสียภาษีมากกว่าที่
ควรจะเสีย การวางแผนภาษีจะช่วยให้เสียภาษีถูกต้องและประหยัด ไม่ต้องถูกเจ้าพนักงานประเมิน
เรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ประการสำคัญไม่ต้องเสียสุขภาพจิต

เงินได้ของภริยาถือเป็นเงินได้ของสามี

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๕๗ ตรี วรรคหนึ่ง ในกรณีสามีภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมา
แล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดใน
การยื่นรายการและเสียภาษี แต่ถ้ามีภาษีค้างชำระ และภริยาได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วัน ให้
ภริยาร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย

ตัวอย่าง

                   
ก. กับ ข. จดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากันโดยถูกต้องตามกฎหมายเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๒
ในปี ๒๕๔๔ ซึ่งบุคคลทั้งสองอยู่ร่วมกันตลอดปี ก. ซึ่งเป็นสามีมีเงินได้จากเงินเดือนรวมทั้งปี
๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ส่วน ข. ซึ่งเป็นภริยามีเงินได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมทั้งปี ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ดังนี้ เงินได้จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท นี้ถือเป็นเงินได้ของ ก. และ ก. มีหน้าที่และความรับผิดใน
การยื่นรายการและเสียภาษี

การถือเอาเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามีย่อมทำ ให้เสียภาษีมากกว่า เพราะอัตราภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาเป็นอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate) เงินได้ยิ่งมากยิ่งจะต้องเสียภาษีในอัตราสูง
หากไม่ประสงค์ให้ถือเอาเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามีแล้ว สามีภริยาต้องไม่จดทะเบียน
สมรสกัน

มีข้อสังเกตว่าต้องเป็นกรณีที่สามีภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีคือตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึง ๓๑
ธันวาคม เงินได้ของภริยาจึงจะถือเป็นเงินได้ของสามี เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา ๕๗ ตรี ใช้คำ
ว่า “สามีภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี” มิได้ใช้คำ ว่า “ความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี” เหมือน
กับที่ใช้ในมาตรา ๔๒ ตรี วรรค ๒, ๔๗(๒) ฉะนั้น กรณีที่ความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี แต่
ตามข้อเท็จจริงสามีภริยามิได้อยู่ร่วมกัน ต่างคนต่างอยู่เนื่องจากสามีไปอยู่กินกับหญิงอื่น น่าจะไม่
ถือว่าสามีภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี เงินได้ของภริยาน่าจะไม่ถือเป็นเงินได้ของสามี

กรณีที่สามีภริยาอยู่ต่างท้องที่กันหรือต่างคนต่างอยู่เป็นครั้งคราว มาตรา ๕๗ ตรี แห่งประมวล
รัษฎากร ยังคงถือว่าสามีภริยาอยู่ร่วมกัน กรณีต่างคนต่างอยู่ต้องเป็นการถาวรจึงจะถือว่าสามีภริยามิ
ได้อยู่ร่วมกัน การที่จะถือสามีภริยาอยู่ร่วมกันหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นปี ๆ ไป ปีก่อนไม่ได้อยู่ร่วม
กันตลอดทั้งปี เนื่องจากสามีไปอยู่กินกับหญิงอื่น ปีก่อนก็ไม่ถือว่าสามีภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี
แต่ปีนี้กลับมาคืนดีกับภริยา และอยู่ร่วมกันตลอดทั้งปี ปีนี้ก็ถือว่าอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี ปีแรกที่จด
ทะเบียนสมรส หากการสมรสเกิดขึ้นระหว่างปีหรือปีสุดท้ายที่การสมรสสิ้นสุดลงระหว่างปี นอก
จากจะถือว่าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีแล้ว ยังถือว่าสามีภริยามิได้อยู่ร่วมกันตลอดปี
ภาษีด้วย เงินได้ของภริยาจึงไม่ถือเป็นเงินได้ของสามี

เมื่อกฎหมายเป็นเช่นนี้จึงมีสามีภริยาบางคู่จดทะเบียนหย่าในปีที่มีเงินได้มาก เพื่อที่เงินได้ของภริยา
จะไม่ถือเป็นเงินได้ของสามี ทำให้เสียภาษีน้อย แล้วต่อมาก็จดทะเบียนสมรสกันใหม่ การกระทำ
เช่นนี้ไม่ถือเป็นการวางแผนภาษี (Tax Planning) แต่ถือเป็นการหนีภาษี (Tax Evasion)
เพราะสามี ภริยาไม่มีเจตนาที่จะหย่าขาดจากกันอย่างแท้จริง กรณีนี้เงินได้ของภริยายังคงถือเป็นเงินได้ของสามี
และสามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจนำเงิน
ได้ของภริยามารวมกับเงินได้ของสามีและประเมินให้สามีเสียภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงิน
เพิ่มได้

เงินได้ของภริยาไม่ถือเป็นเงินได้ของสามี

แม้สามีภริยาจะอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีก็มีอยู่กรณีหนึ่งที่ภริยามีสิทธิเลือกไม่ถือเอาเงินได้ของตน
เป็นเงินได้ของสามี ได้แก่ กรณีที่ภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร
คือเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

กรณีนี้ภริยามีสิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีได้ ในทางปฏิบัติยื่นรายการฉบับ
เดียวกับสามีได้แต่แยกคำนวณภาษีต่างหากจากสามี โดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามี การแยกยื่น
รายการหรือแยกคำนวณภาษีนี้จะทำ ให้สามีภริยาเสียภาษีน้อย เพราะเมื่อไม่นำไปรวมกับเงินได้ของ
สามี ฐานภาษีก็ตํ่า อัตราภาษีก็พลอยตํ่าไปด้วย

การแยกยื่นรายการหรือแยกคำนวณภาษีต่างหากจากสามีนั้น การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับ
ภริยาคงหักได้ในอัตราร้อยละ ๔๐ แต่ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท ตามปกติ แต่สำหรับค่าลดหย่อนนั้นถ้า
เป็นค่าลดหย่อนบุตรและค่าลดหย่อนเพื่อการศึกษาของบุตรจะต้องแบ่งกันคนละครึ่งกับสามี ฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่งจะนำบุตรไปหักลดหย่อนเต็มจำนวนไม่ได้ แม้บุตรนั้นจะเป็นบุตรอันเกิดจากสามีหรือ
ภริยาเดิมก็ตาม ดังมีคำ พิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๖๘/๒๕๔๓ ระหว่างนาย น. โจทก์ กรมสรรพากร
จำเลย วินิจฉัยว่า

“กรณีสามีภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากรและแยกยื่น
รายการเสียภาษีต่างหากจากสามี สามีและภริยาย่อมหักลดหย่อนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ได้คนละกึ่งหนึ่งตามมาตรา ๕๗ เบญจ วรรคสอง (๒) แห่งประมวลรัษฎากร สามีจึงหักลด
หย่อนบุตรเต็มจำนวนไม่ได้ แม้บุตรนั้นจะเกิดจากภริยาเดิมของตนก็ตาม”

นอกจากนี้ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยก็ต้องแบ่งกันคนละ
ครึ่งกับสามีเช่นเดียวกัน
แม้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้กู้ก็ตาม และแม้จะเป็นการกู้ก่อนสมรสก็ต้อง
แบ่งกันคนละครึ่ง ดังมีคำ พิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๗๕๙/๒๕๔๒ ระหว่างนาย ว. โจทก์ กรมสรรพกร
กับพวก จำ เลย วินิจฉัยว่า

“ก่อนสมรสโจทก์กู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและมีดอกเบี้ยที่ต้องชำระมากกว่า
ปีละ ๑๐,๐๐๐ บาท แต่มีสิทธิหักลดหย่อนในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ
๑๐,๐๐๐ บาท ต่อมาปี ๒๕๓๕ โจทก์ได้สมรสและในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี
๒๕๓๙ ภริยาโจทก์ ซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร ได้
แยกยื่นรายการ (ภ.ง.ด. ๙๑) และเสียภาษีต่างหากจากโจทก์ ภริยาโจทก์จึงมีสิทธิหักลด
หย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าวได้กึ่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน ๕,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๕๗
เบญจ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร ที่โจทก์หักลดหย่อนเพียงฝ่ายเดียวเป็นจำนวน ๑๐,๐๐๐
บาท จึงไม่ถูกต้อง”

ฉะนั้น การวางแผนภาษีโดยการแยกยื่นรายการหรือแยกคำนวณภาษีต่างหากจากสามีจึงต้องหักค่า
ลดหย่อนให้ถูกต้อง มิฉะนั้น อาจถูกเจ้าพนักงานประเมิน ประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ย
ปรับและเงินเพิ่มได้ อนึ่ง กรณีที่ภริยานอกจากจะมีเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา ๔๐
(๑) แล้ว ยังมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย ภริยาก็ยังมีสิทธินำเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานมาแยกยื่น
รายการหรือแยกคำนวณภาษีต่างหากจากสามีได้ เฉพาะแต่เงินได้ประเภทอื่นเท่านั้นที่ต้องรวมเป็น
เงินได้ของสามี

ความรับผิดของภริยา

แม้สามีจะมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี แต่ถ้ามีภาษีค้างชำระและภริยาได้
รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วัน ภริยาต้องร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย อย่างไรก็ดี
ภริยาจะต้องร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่สามีค้างชำระ ต่อเมื่อสามีภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีและ
ภริยามีเงินได้ด้วย หากภริยาไม่มีเงินได้หรือมีเงินได้แต่เงินได้นั้นเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรง
งานตามมาตรา ๔๐(๑) และภริยาแยกยื่นรายการหรือแยกคำนวณภาษีต่างหากจากสามี ภริยาไม่ต้อง
ร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่สามีค้างชำระนั้นด้วย ดังมีคำ พิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๐๘/๒๕๓๘
ระหว่างกรมสรรพากร โจทก์ นาง ว. จำเลย วินิจฉัยว่า

“ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ มี
ผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด
ในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนผู้ซึ่ง
เป็นฝ่ายจะต้องเสียเพิ่มขึ้น โดยมาตรา ๕๗ ตรี วรรคหนึ่ง ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่สามีและ
ภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ซึ่งกฎหมายให้ถือเอาเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี โดยให้
สามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลย
ซึ่งเป็นภริยามีเงินได้ประเภทอื่นนอกจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) และจำเลยก็
ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา ๕๗ เบญจ แล้ว จึงไม่อาจนำ
มาตรา ๕๗ ตรี มาใช้บังคับ ดังนั้น ภริยาจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ภาษีที่สามีค้างชำระ
ด้วย”

กรณีที่สามีไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี

 

              

กรณีที่สามีไม่มีเงินได้ ส่วนภริยามีเงินได้เพียงฝ่ายเดียวนั้น เงินได้ของภริยาไม่ถือเป็นเงินได้ของ
สามี สามีจึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี เป็นหน้าที่และความรับผิด
ของภริยาที่จะต้องยื่นรายการและเสียภาษี หากภริยาไปยื่นรายการและเสียภาษี เจ้าพนักงานประเมิน
ย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและประเมินให้ภริยาชำระภาษี พร้อมเบี้ยปรับและ
เงินเพิ่มได้ ดังมีคำ พิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๖๕๒/๒๕๔๒ ระหว่างนาง ล. โจทก์ กรมสรรพากร กับ
พวก จำ เลย วินิจฉัยว่า

“ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา ๕๗ ตรี วรรคแรก เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่
สามีและภริยาต่างมีเงินได้โดยให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและ
ให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แต่หากภริยาเป็นผู้มีเงิน
ได้พึงประเมิน ส่วนสามีไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมา ก็ไม่อยู่ในบังคับให้ถือเอา
เงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีที่สามีจะต้องรับผิดชอบในการยื่นรายการ
และเสียภาษี ตามมาตรา ๕๗ ตรี วรรคแรกแต่อย่างใด เมื่อสามีของโจทก์ไม่มีเงินได้พึง
ประเมินและไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ประกอบกับไม่มีเลขประจำ ตัวผู้เสีย
ภาษี จึงไม่อาจนำ บทบัญญัติในมาตรา ๕๗ ตรี มาใช้บังคับได้ กรณีนี้จึงต้องเป็นไปตาม
ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา ๕๖ วรรคแรก ที่กำ หนดให้บุคคลทุกคนมีหน้าที่ในการยื่นราย
การเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับเกิน ๖๐,๐๐๐ บาท ในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว
ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินประมาณ ๔
ล้านบาท โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อโจทก์ไม่
ได้ยื่นรายการและชำระภาษี เจ้าพนักงาน ประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษี
พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าพนักงาน
ประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว”

การแยกหน่วยภาษี

กรณีที่เงินได้ของภริยาถือเป็นเงินได้ของสามีนั้น หากสามีไม่ประสงค์จะให้เป็นเช่นนั้น ก็อาจแนะนำ
ให้ภริยามีเงินได้ร่วมกับผู้อื่นในรูปของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งจะ
เป็นหน่วยภาษี (Tax Entity) หน่วยใหม่แยกต่างหากออกไป เงินได้ของภริยาก็ไม่ถือเป็นเงินได้ของ
สามี ฐานภาษีของสามีก็ตํ่า ภาษีที่จะต้องเสียก็พลอยตํ่าไปด้วย

ตัวอย่าง

ภริยามีเงินได้จากกิจการคอมพิวเตอร์ปีละ ๓ ล้านบาท ส่วนสามีมีเงินได้จากการเป็นลูกจ้างปีละ ๒
ล้านบาท เงินได้ของภริยาถือเป็นเงินได้ของสามี ทำให้สามีต้องเสียภาษีมาก เพราะอัตราภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาเป็นอัตราก้าวหน้า เงินได้ยิ่งมากยิ่งต้องเสียภาษีในอัตราสูง หากภริยาไม่ประกอบกิจ
การคนเดียว แต่มีบุคคลอื่นมาเป็นหุ้นส่วน เงินได้ของภริยาก็ไม่ถือเป็นเงินได้ของสามี แต่ถือเป็น
เงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคล ซึ่งเป็นหน่วยภาษีหน่วยใหม่แยกต่างหากจากภริยา
อัตราภาษีทั้งของสามีและหน่วยภาษีหน่วยใหม่ก็ตํ่า ทำให้เสียภาษีน้อยกว่าเดิม และเงินส่วนแบ่ง
กำไรที่ภริยาและผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา ๔๒(๑๔) แห่ง
ประมวลรัษฎากร การกระทำ ดังกล่าวเป็นการหลบหลีกภาษี (Tax Avoidance) มิใช่การหนีภาษี
(Tax Evasion) จึงไม่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ดี ถ้าไม่มีการเข้าหุ้นกันจริง เพียงแต่นำชื่อบุคคลอื่น
มาใช้ การกระทำ เช่นนี้ถือเป็นการหนีภาษี (Tax Evasion) ซึ่งมีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา

สรุปความ

กรณีที่จะถือว่าเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและสามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นราย
การและเสียภาษี นอกจากสามีภริยาจะต้องอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่มีเงินได้แล้ว สามียังจะต้องมีเงิน
ได้ด้วย หากสามีไม่มีเงินได้ ภริยามีเงินได้เพียงฝ่ายเดียว เงินได้ของภริยาไม่ถือเป็นเงินได้ของสามีที่
สามีจะมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี เป็นหน้าที่และความรับผิดของภริยาที่
จะต้องยื่นรายการและเสียภาษีเอง

นอกจากนี้หากเป็นกรณีที่สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ โดยภริยามีเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
ตามมาตรา ๔๐(๑) และแยกยื่นรายการหรือแยกคำนวณภาษีต่างหากจากสามี ภริยาก็ไม่ต้องร่วมรับ
ผิดในหนี้ภาษีที่สามีค้างชำระด้วย ดังนั้น การวางแผนภาษีโดยภริยาแยกยื่นรายการหรือคำนวณภาษี
ต่างหากจากสามีจึงมีประโยชน์มาก คือ นอกจากจะทำให้สามีไม่ต้องเสียภาษีในอัตราสูงแล้ว ยังทำ
ให้ภริยาไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้ภาษีที่สามีค้างชำระด้วย

อย่างไรก็ดี กรณีที่ภริยาแยกยื่นรายการหรือแยกคำนวณภาษีต่างหากจากสามีนั้น สามีภริยาจะต้อง
หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนให้ถูกต้อง ค่าลดหย่อนประเภทใด กฎหมายกำหนดให้หักคนละครึ่งก็
ต้องหักคนละครึ่ง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะนำไปหักเต็มจำนวนไม่ได้

กรณีที่เงินได้ของภริยาถือเป็นเงินได้ของสามีนั้น หากสามีไม่ประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น ก็อาจให้ภริยา
มีเงินได้ร่วมกับผู้อื่นในรูปของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งเป็นหน่วยภาษี
(Tax Entity) หน่วยใหม่แยกต่างหากออกไป ทำให้ประหยัดภาษีได้

    ภาษี & คู่สมรส

 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา

บทความโดย : ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม
ดุลพาห เล่ม 2 ปีที่ 48 พ.ค.-ส.ค.2544 หน้า 49-55




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี