ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



การวางแผนภาษีของอพาร์ตเม้นท์ ห้องเช่า

 

                                                     การวางแผนภาษีของอพาร์ตเม้นท์ ห้องเช่า                   

 

  อพาร์ตเม้นท์และห้องเช่าถือเป็นกิจการที่ค่อนข้างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุค
ของน้ำมันแพง การจราจรติดขัด และมีระบบขนส่งมวลชนสมัยใหม่ คือ รถไฟฟ้า BTS และ
รถไฟฟ้าใต้ดิน ทำให้ชีวิตและการทำงานของคนกรุงเทพฯ เปลี่ยนไป ผู้ที่ทำงานในกรุงเทพมหานคร
ไม่อยากอยู่ชานเมือง เพราะนอกจากจะเสียเวลาในการเดินทางวันละ 1-2 ชั่วโมง แล้ว ค่าน้ำมัน
และความเหนื่อยล้าจากจราจรติดขัด เป็นภาระและบั่นทอนความสามารถในการทำงานด้วย
ขอให้ระลึกว่าคนไม่ว่ารวยหรือจน วันหนึ่งก็มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน ถ้าวันหนึ่งต้องใช้เวลาเดินทาง
ไปกลับจากที่ทำงาน 2 ชั่วโมง เขาเหลือเวลาเพียง 22 ชั่วโมงต่อวัน ต่างกับคนที่เดินทาง
เพียง 15 นาที เขามีเวลา 23.5 ชั่วโมง

           

   ด้วยเหตุนี้ ที่ใดที่ใกล้โรงเรียน โรงงาน แหล่งชุมชน จึงมีอพาร์ตเม้นท์ และห้องเช่าเกิดขึ้นราวกับ
เป็นดอกเห็ด ซึ่งจริง ๆ แล้วธุรกิจนี้สร้างผลกำไรให้แก่เจ้าของไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะนอกจากคุณ
จะได้รับค่าเช่าจากห้องเช่าแล้ว ยังสามารถเก็บค่าบริการที่เกี่ยวข้องหรือเปิดร้านสะดวกซื้อใน
อพาร์ตเม้นท์เป็นการหารายได้เพิ่มเติม
ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ค่าวัสดุ
แพงขึ้น นอกจากอพาร์ตเม้นท์ต่าง ๆ ที่ปล่อยเช่าสร้างรายได้ประมาณ 6-10% แล้ว เจ้าของยังได้
กำไรจากการเพิ่มค่าของอาคารที่ให้เช่า
เนื่องจากจะต้องไปสร้างอาคารใหม่จะไม่ได้ราคาเดิมอีก
ต่อไป เหมือนกับคุณผ่อนบ้านมาอยู่เอง นอกจากคุณจะได้อยู่ฟรีแล้ว ยิ่งอยู่นานไปราคาบ้านก็
สูงขึ้น เพราะบ้านเป็นสมบัติที่ยิ่งใช้ราคายิ่งแพง

ผู้ที่วางแผนจะทำอพาร์ตเม้นท์ห้องเช่าต้องดำเนินการในด้านภาษีดังนี้

1. ทำสัญญาแยกค่าเช่าออกจากค่าบริการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนในฐานที่ต่ำลง เช่น ห้องเช่าราคา
6,000 บาท ให้คุณแยกเป็นค่าเช่าห้อง 3,000 บาท ถ้ามีเฟอร์นิเจอร์ก็แยกเป็นค่าเช่าเฟอร์นิเจอร์
อีก 3,000 บาท แต่ถ้าไม่มีเฟอร์นิเจอร์ก็ทำเป็นสัญญาให้บริการในเรื่องรักษาความสะอาด การให้
ไฟฟ้าแสงสว่าง การจัดยามรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ โดยต้องแยกทำเป็นสัญญาสองใบ คือ (1)
สัญญาเช่าห้องและ (2) สัญญาบริการหรือให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีตัวอย่างตามที่แนบ
****************************************************
สัญญาการเช่าห้องพัก
เขียนที่ ________________
วันที่____ เดือน__________ พ.ศ._____
ข้าพเจ้า _______________________ อยู่บ้านเลขที่ _______ ซอย_______
ถนน_______ แขวง/ตำบล_______ เขต/อำเภอ_______ จังหวัด______________
เลขประจำตัวประชาชน___________________ ซึ่งต่อไปจะเรียกว่าผู้ให้เช่า ได้ตกลง
สัญญากับ นาย/นาง/นางสาว _______________________ อยู่บ้านเลขที่ _______
ซอย_______ ถนน_______ แขวง/ตำบล_______ เขต/อำเภอ_______
จังหวัด______________ เลขประจำตัวประชาชน______________ ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า
ผู้เช่า ดังนี้
ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่า เช่าห้องหมายเลข_______ ของ(หรือ) อาคาร_______ ตั้งอยู่
เลขที่_______ ซอย_______ ถนน_______ แขวง/ตำบล_______ เขต/
อำเภอ_______ จังหวัด______________ ซึ่งเป็นของผู้ให้เช่า เป็นระยะเวลา _______
เดือน _______ปี โดยผู้ให้เช่าคิดราคาค่าเช่าพื้นที่ห้อง/อาคาร จากผู้เช่า ในราคา _______ บาท
ต่อเดือน
ผู้เช่าตกลงที่จะชำระเงินค่าเช่าจำนวนดังกล่าวทุกเดือน โดยตกลงชำระให้กับผู้ให้เช่าก่อนวันที่ ๕
ของทุกเดือน หากผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าหรือปฏิบัติตามสัญญา ผู้ให้เช่ายกเลิกสัญญาเช่านี้ได้ทันที
พร้อมขับไล่ผู้เช่าได้โดยผู้เช่าต้องขนย้ายออกไปทันที
__________________
( )
ผู้ให้เช่า
__________________
( )
ผู้เช่า
__________________
( )
พยาน
__________________
( )
พยาน
****************************************************

สัญญาให้บริการและเช่าสิ่งของ
เขียนที่ ________________
วันที่____ เดือน__________ พ.ศ._____
ข้าพเจ้า _______________________ อยู่บ้านเลขที่ _______ ซอย_______
ถนน_______ แขวง/ตำบล_______ เขต/อำเภอ_______ จังหวัด______________
เลขประจำตัวประชาชน___________________ ซึ่งต่อไปจะเรียกว่าผู้ให้เช่า ได้ตกลง
สัญญากับ นาย/นาง/นางสาว _______________________ อยู่บ้านเลขที่ _______
ซอย_______ ถนน_______ แขวง/ตำบล_______ เขต/อำเภอ_______
จังหวัด______________ เลขประจำตัวประชาชน______________ ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า
ผู้เช่า ดังนี้
ผู้ให้เช่าตกลงให้บริการในการดูแลพื้นที่ส่วนกลางของอาคาร ทำความสะอาด จัดยาม และไฟแสง
สว่าง รวมทั้งให้ผู้เช่า เช่า_______ (รายการเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์) ________________
เป็นระยะเวลา _______ เดือน _______ปี โดยผู้เช่าได้ตกลงกับ
ผู้ให้เช่าว่าจะรับบริการและจะเช่าสิ่งของดังกล่าวสำหรับการเช่าห้องในอาคาร_______ ตั้งอยู่
เลขที่_______ ซอย_______ ถนน_______ แขวง/ตำบล_______ เขต/
อำเภอ_______ จังหวัด______________ โดยผู้ให้เช่าตกลงคิดค่าบริการและค่าเช่าสิ่งของ
รวมทั้งค่าบริการส่วนกลาง จากผู้เช่า ในราคา _______ บาทต่อเดือน หากผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า
หรือปฏิบัติตามสัญญา ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที พร้อมกับเข้าครอบครองสิ่งของที่ให้เช่า
ได้ทันที
ผู้เช่าตกลงที่จะชำระเงินค่าเช่าจำนวนดังกล่าวทุกเดือน โดยตกลงชำระให้กับผู้ให้เช่าก่อนวันที่ ๕
ของทุกเดือน
__________________
( )
ผู้ให้เช่า
__________________
( )
ผู้เช่า
__________________
( )
พยาน
__________________
( )
พยาน
หมายเหตุ หากไม่มีการเช่าสิ่งของ มีแต่การให้บริการ ก็ขีดฆ่าส่วนที่เป็นการเช่าสิ่งของออก


****************************************************

การแยกสัญญาเช่นนี้ช่วยให้ท่านเสียภาษีโรงเรือนลดลงโดยต้องเสียเฉพาะจากค่าเช่าพื้นที่ และถ้า
ท่านมีหนังสือสัญญาที่ผู้เช่าเซ็นไว้ชัดเจน การที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเทศบาลจะ
โต้แย้งเก็บภาษีโรงเรือนจากฐาน 6,000 บาทต่อห้อง ย่อมไม่ได้ แต่ต้องเรียกเก็บจากฐานค่าเช่า
ห้องเดือนละ 3,000 บาท

2. ในการคิดค่าภาษีโรงเรือนนั้นท่านอาจสามารถต่อรองชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่าไม่ใช่ห้องทุก
ห้องมีคนเช่าปีละ 12 เดือน หรือ 365 วันเต็ม ดูจากมาตรฐานโรงแรมต่าง ๆ ซึ่งเปิดห้องให้เช่า
คล้ายกับอพาร์ตเม้นท์ เทศบาลหลายแห่งยินยอมให้ใช้อัตราคนเข้าพักที่ 60% ดังนั้น การที่ลด
จำนวนวันที่มีคนพักลงเหลือเพียง 60% จะช่วยให้ฐานภาษีต่ำลง อันจะเป็นการดึงให้จำนวนภาษี
โรงเรือนลดลงด้วย

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้เช่าห้องพักไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สำหรับท่านที่มีค่าเช่าเฟอร์นิเจอร์
ค่าบริการ หากทำรายได้เกินกว่าปีละ 1,800,000 บาท ท่านก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และ
จ่ายภาษีในอัตรา 7%

4. ภาษีเงินได้ หากคุณให้เช่าอพาร์ตเม้นท์ในชื่อส่วนตัว และไม่อยากทำบัญชี คุณหักค่าใช้จ่ายเป็น
การเหมาได้ 30% ของรายได้ค่าเช่า อาทิเช่น ปีหนึ่งมีรายได้รวม 1,000,000 บาท สรรพากรก็ให้
คุณหักออก 30% เป็นค่าใช้จ่าย แล้วถือว่าอีก 70% เป็นฐานในการเสียภาษี ซึ่งคุณหักค่าลดหย่อน
ส่วนตัวและครอบครัวแล้วมาคิดภาษีในอัตราบุคคลธรรมตามตารางที่ผมได้แสดงไว้ในหนังสือเล่ม
นี้ แต่ถ้าคุณมีค่าใช้จ่ายเกินกว่า 30% เช่น มีต้นทุน 46% เพราะคุณต้องกู้ยืมเงินมาก่อสร้างหรือ
ซื้ออพาร์ตเม้นท์ จึงมีค่าดอกเบี้ย มีค่าเสื่อมค่าสึกหรอของอาคาร เฟอร์นิเจอร์ ค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ
ค่าจ้างพนักงานในการดูแลต่าง ๆ รวมแล้วเกินกว่า 30% ของรายได้ คุณก็สามารถทำบัญชีแสดง
ตัวเลขการคำนวณ เก็บใบเสร็จรับเงินให้ชัดเจนแล้วนำมาหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงได้ 46%
ตามที่มีเกิดขึ้น แล้วนำเอาส่วน 54% ที่เหลือเป็นฐานเสียภาษี การทำเช่นนี้ท่านต้องใช้ความ
ละเอียดและขยันในการเก็บภาษีและรายการต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เพราะหากผิดพลาดไป สรรพากร
จะปรับและคิดดอกเบี้ยจากคุณอีกด้วย

5. หากคุณเสียภาษีในชื่อส่วนตัว รายได้จากอพาร์ตเม้นท์ห้องเช่าคุณก็เสียภาษีในชื่อส่วนตัว แต่ถ้า
คุณมีรายได้จากแหล่งอื่นด้วย เช่น ค้าขาย รับจ้าง เมื่อรวมกับรายได้จากอพาร์ตเม้นท์ก็ทำให้คุณ
ต้องเสียภาษีในอัตราสูง คุณก็ต้องจัดตั้งเป็นบริษัทเพื่อทำกิจการอพาร์ตเม้นท์แล้วเก็บค่าเช่า ซึ่ง
ปกติบริษัทจะเสียภาษี 30% ของกำไรหลังจากหักค่าใช้จ่ายได้นานับประการ บริษัทขนาดเล็ก คือ
ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5,000,000 บาท ก็จะเสียภาษีประมาณ 15-30% ตามที่ได้กล่าวไว้

7 เมื่อเสียภาษีแล้วก็เป็นกำไรสะสมในทางบัญชี เมื่อคุณประกาศจ่ายเงินปันผล บริษัทจะต้องหัก
ภาษี ณ ที่จ่าย 10%
ซึ่งเป็นการเสียภาษีสองขั้นตอน ภาระอาจจะสูงกว่าการทำอพาร์ตเม้นท์ในชื่อ
ส่วนตัวของท่านเอง คุณต้องเปรียบเทียบจุดคุ้มทุน

6. จัดทำอพาร์ตเม้นท์ในชื่อคณะบุคคล

ในกรณีที่คุณมีรายได้หลาย ๆ ประเภทในปีเดียวกัน เช่น กำไรจากการค้าขาย การรับจ้าง หากมาทำ
ธุรกิจอพาร์ตเม้นท์ในชื่อของคุณอีก รายได้ค่าเช่าจากอพาร์ตเม้นท์จะมาต่อยอดรายได้อื่น ๆ ของ
คุณ ก็เลยผลักดันให้คุณต้องเสียภาษีในอัตราสูงขึ้น เช่น แทนที่จะเริ่มต้นเสียภาษีจาก 0% ของ
รายได้หนึ่งแสนบาทแรก หากคุณมีเงินเดือน ค่าจ้าง และรายได้จากการค้าขายอยู่ 800,000 บาท
ซึ่งอยู่ในอัตราภาษี 20% เมื่อนำรายได้ค่าเช่าจากการให้เช่าอพาร์ตเม้นท์อีก 1,000,000 บาท มา
รวมก็เป็น 1,800,000 บาท ค่าเช่าอพาร์ตเม้นท์ส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท จึงต้องเสียภาษี
30% ดังนั้น คุณมีทางเลือกที่จะทำอพาร์ตเม้นท์ในชื่อของคณะบุคคลเพื่อกระจายรายได้ โดยต้อง
มีการวางแผนเตรียมตัวล่วงหน้า เนื่องจากกฎหมายภาษีกำหนดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของโฉนด ถือว่าผู้นั้น
เป็นผู้มีรายได้จากค่าเช่า
หากที่ดินอยู่ในชื่อของตัวคุณเอง การทำอพาร์ตเม้นท์ในชื่อคณะบุคคล คุณ
ต้องหาคนอื่นเข้ามาร่วมเป็นเจ้าของที่ดิน หรือมิฉะนั้นเมื่อคุณเป็นเจ้าของที่ดิน เพื่อนอีกคนหนึ่ง
ต้องเป็นผู้ก่อสร้างตึก แล้วรวมที่ดินกับตึกเป็นเจ้าของสองคน คือ คณะบุคคล หรือคุณกับเพื่อน
จะต้องร่วมกันสร้างตึกบนที่ดินของคุณ คือ ต้องพยายามทำให้อพาร์ตเม้นท์มีชื่อบุคคลสองคนเป็น
เจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรือตึกหรือทั้งตึกและที่ดิน

อย่างไรก็ตาม ผมไม่อยากแนะนำให้เอาชื่อคนอื่นมาอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ เพราะต่อไปภายภาค
หน้าหากคุณอยากจะขายหรือเปลี่ยนวิธีการต้องขอความยินยอมจากเพื่อนคนนั้น ผมคิดว่าวิธีง่าย
กว่านี้ คือ เมื่อคุณเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและตัวตึกอพาร์ตเม้นท์ คุณสามารถทำสัญญากับเพื่อนคน

หนึ่งว่า ในการให้เช่าอพาร์ตเม้นท์นี้คุณเป็นคนออกทรัพย์สิน คือ อาคารและที่ดิน ส่วนเพื่อน
ร่วมกันทำในฐานะผู้ให้บริการ ในลักษณะคล้ายเป็นหุ้นส่วน ไม่ใช่เป็นลูกจ้าง กล่าวคือ เพื่อนเป็น
ผู้ทำการตลาด จัดหาผู้เช่า ดูแลตึก รักษาความปลอดภัย เรียกเก็บค่าเช่า จ่ายค่าจ้างคนงาน เป็นต้น
เมื่อเป็นดังนี้แล้วก็สามารถเก็บค่าเช่าในชื่อคณะบุคคลได้โดยเสียภาษีจากอัตราต่ำสุด และไม่ต้อง
เอาค่าเช่าไปรวมกับรายได้อื่นของคุณ แต่เพื่อความรอบคอบคุณควรทำสัญญาระบุความเป็น
เจ้าของของคุณให้แจ้งชัด และเพื่อนมาเป็นเพียงผู้ให้บริการ เพื่อจะได้ไม่เกิดเรื่องโต้แย้งใน
ภายหลังในเรื่องกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน สัญญานี้เป็นสัญญาจัดตั้งคณะบุคคลและแบ่งแยกหน้าที่
การงานกันแล้วนำไปขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของคณะบุคคลเพื่อจะได้เริ่มเสียภาษีให้
ถูกต้อง ในเรื่องการแบ่งกำไรคุณก็ต้องระบุให้ชัดเจน เช่น คุณได้แบ่ง 80% เพราะเป็นผู้ลงทุนใน
ทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อนเพียงแต่เป็นคนออกแรงจึงได้แบ่งแค่ 20% ซึ่งผมเห็นว่าการแบ่งอัตราส่วน
แบบนี้ยุติธรรมดี

7. จดทะเบียนสิทธิเก็บกิน

การจัดตั้งคณะบุคคลทำอพาร์ตเม้นท์มีความยุ่งยากในการแบ่งแยกกรรมสิทธิทรัพย์สินและรายได้
ดังกล่าวข้างต้น วิธีง่ายกว่านี้ก็คือ หากคุณมีลูกหลาน อยากให้ลูกเป็นผู้มีรายได้จากการให้เช่า
อพาร์ตเม้นท์เนื่องจากเด็กตัวเล็ก ๆ ไม่รายได้อื่น เขาจึงเสียภาษีจากอัตราขั้นต่ำสุด คือ 0% คุณก็
สามารถจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้แก่ลูกเพื่อลูกเป็นผู้รับรายได้ ซึ่งมีวิธีการดังนี้

7.1 ลูกมีอายุเท่าใดก็ได้ตั้งแต่ 1 วัน จนถึง 80 ปี ขอให้มีตัวตนเป็นบุคคลเท่านั้น กรณีที่ลูกอายุยัง
ไม่ถึง 20 ปี ถือเป็นผู้เยาว์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คุณในฐานะพ่อหรือแม่ย่อมมีสิทธิทำการแทนลูกอยู่
แล้ว คุณจึงสามารถจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้ลูกโดยคุณเป็นผู้ทำการแทน

7.2 สิทธิเก็บกินต้องไปจดที่กรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดินและอาคารตั้งอยู่ โดยต้อง
นำโฉนดไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังให้เรียบร้อยด้วย

7.3 คุณจะกำหนดระยะเวลาสั้นยาวเท่าใดก็ได้ เลือกได้ 3 วิธี คือ
(ก) ตลอดอายุของตัวคุณเอง หรือ
(ข) ตลอดอายุของลูก หรือ
(ค) กำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่ไม่เกิน 30 ปี

7.4 ผมแนะนำว่า ควรจดประมาณ 10 ปี ทั้งนี้ เพราะการวางแผนภาษีย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่
ตลอดเวลาตามภาวะเศรษฐกิจและรายได้ของคุณในแต่ละปี ถ้าคุณจดยาวจนเกินไปทำให้ขาดความ
คล่องตัว เช่น ถ้าคุณให้สิทธิแก่ลูกตลอดชีวิต แล้ววันหลังคุณจะเปลี่ยนใจจดให้แก่ลูกคนที่สอง
หรือจะยกเลิกสิทธิเก็บกิน ถ้าหากลูกซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินเกิดไม่ยินยอมคุณก็ยกเลิก
เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ถ้ามีกำหนดระยะเวลา สักวันหนึ่งระยะเวลาก็จะสิ้นสุดลง คุณสามารถ
เปลี่ยนแปลงได้ตามใจชอบ

7.5 มีเจ้าพนักงานที่ดินบางคนไม่ค่อยอยากให้คุณจดสิทธิเก็บกิน เกรงว่าคุณจะวางแผนเพื่อเสีย
ภาษีน้อย ทำให้รัฐขาดประโยชน์ แต่ผมเห็นว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริต เจ้าพนักงาน
จะไม่ยอมไม่ได้ หากว่ารัฐไม่อยากให้ราษฎรจดทะเบียนสิทธิเก็บกินก็ควรจะยกเลิกกฎหมายฉบับ
นี้เสียเลย ผมยังยืนยันว่าการทำตามกฎหมายเพื่อลดภาษีเป็นสิทธิของราษฎรที่จะทำได้โดยชอบ
ธรรม
การจดสิทธิเก็บกินเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 100 บาทเท่านั้น ประชาชนคนไทยสามารถ
จดได้มาเกือบ 100 ปีแล้ว ดังนั้น บรรพบุรุษของเราก็เป็นผู้ที่จดสิทธิเก็บกินมาตั้งแต่สมัยโบราณ

7.6 เมื่อลูกเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินแล้ว สัญญาเช่าและสัญญาบริการต่าง ๆ ตามที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น
ต้องทำให้ชื่อของลูกในฐานะผู้ให้เช่า และในฐานะผู้ให้บริการ หากลูกยังไม่บรรลุนิติภาวะ คุณ
สามารถดำเนินการแทนลูก คือ ลงนามแทนลูก ให้บริการแทนลูกก็ได้ แต่สัญญาต้องระบุว่าลูกเป็น
ผู้ให้เช่าและให้บริการ
ข้อนี้ต้องพึงระวัง เพราะถ้าคุณจดสิทธิเก็บกินให้ลูก แต่ยังทำสัญญาในชื่อ
ของตัวคุณเองเป็นผู้ให้เช่า การวางแผนภาษีย่อมไม่สมบูรณ์ คุณเสียเวลาเปล่า ๆ บางทีทำให้เสีย
ภาษีผิด ๆ โดยปรับจำนวนมากมาย

7.7 ผมเข้าใจว่าสมัยนี้เด็กที่เกิดใหม่ กระทรวงมหาดไทยจะมีเลขประจำตัวให้ ซึ่งเลขนี้จะสามารถ
ใช้เสียภาษีได้ เพราะถือเป็นเลขบัตรประจำตัว แต่ถ้าหากว่าเด็กยังไม่มีเลขหรือบัตรประจำตัวที่จะ
มาใช้ในการกรอกแบบเสียภาษีคุณก็สามารถยื่นขอเลขประจำตัวให้แก่เด็กได้ในลักษณะคล้ายกับ
การยื่นขอเลขประจำตัวของคณะบุคคล

7.8 สิทธิเก็บกินสามารถจดให้แก่วงศาคณาญาติที่ใกล้ชิดกับคุณได้ ไม่จำเป็นจะต้องให้แก่ลูกแต่
เพียงผู้เดียว เพราะบางคนอาจเป็นโสด ไม่มีลูก มีแต่พ่อแม่พี่น้องหรือญาติสนิทอื่น ๆ ข้อพึงระวังมี
แต่เพียงว่า เมื่อจดไปแล้วคุณแก้ไขไม่ได้หากผู้ทรงสิทธิเก็บกินไม่ยินยอม
ด้วยเหตุนี้ผมจึงแนะว่า
ให้กำหนดระยะเวลา เพราะต่อไปในภายภาคหน้าจิตใจของคนอาจจะเปลี่ยนไป คุณจะได้มีความ
คล่องตัวในการปรับเปลี่ยนการวางแผนภาษี

8. ทางราชการไม่ว่าจะเป็นเทศบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกเก็บภาษีโรงเรือนหรือ
แม้แต่กรมสรรพากรที่เรียกเก็บภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มมักจะพยายามเก็บในจำนวนสูงสุด
บางครั้งอาจจะเกินกว่าความเป็นจริงด้วยซ้ำไป เช่น จะถือว่าห้องเช่าท่านมีคนพักเต็มตลอดทั้งปี
ดังนั้น ท่านต้องพยายามศึกษาข้อกฎหมายพร้อมทั้งข้อเท็จจริงและโต้แย้งโดยใช้เหตุผลที่เป็นจริง
เป็นจัง โปรดระลึกว่า ราชการเก็บภาษีได้เฉพาะตามกฎหมายและตามข้อเท็จจริงเท่านั้น ดังนั้น
หากห้องเช่าของท่านไม่มีคนพักเต็มตลอดเวลา โดยท่านสามารถแสดงได้จากสัญญาเช่าที่ผู้เช่าลง
นามไว้หรือทะเบียนผู้เช่าพัก ท่านย่อมมีเหตุผลที่จะโต้แย้งและเสียภาษีตามรายได้ที่ท่านได้รับจริง
เท่านั้น โดยท่านไม่ต้องเสียเปรียบยอมรับการประเมินภาษีที่ไม่ถูกต้อง

9. ถ้าจำเป็นจะต้องโต้แย้งการประเมินภาษีแล้ว ท่านสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์การเรียกเก็บภาษีที่ไม่
ถูกต้องได้ และแม้ผลอุทธรณ์ออกมาจะเป็นไปในแนวที่ท่านไม่ยอมรับ ท่านยังสามารถนำคดีขึ้นสู่
ศาลภาษีได้ด้วย โดยมีข้อระลึก 2 ข้อดังนี้

(1) ในด้านภาษีโรงเรือนหากท่านจะอุทธณ์หรือนำคดีขึ้นสู่ศาล ท่านต้องชำระภาษีให้ครบ
เสียก่อน ไม่อย่างนั้นท่านจะถูกตัดสิทธิไม่ให้ฟ้องร้องต่อศาล

(2) การอุทธรณ์มีกำหนดระยะเวลาสั้นมาก ปกติภายใน 15-30 วัน ดังนั้น หากท่านคิดว่าจะใช้
สิทธิอุทธณ์โต้แย้งก็ควรเตรียมข้อเท็จจริง เอกสาร และคดีให้พร้อม เพราะมิฉะนั้นหากเลยกำหนด
ของกฎหมาย ท่านจะถูกปิดปากไม่ให้นำคดีขึ้นอุทธรณ์หรือขอความยุติธรรมต่อศาลได้

ที่มา : ชมรมคนออมเงิน โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี