ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา

 

                                                                      บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา     

 

   ในทันทีที่คิดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจเลือกสถานภาพในการประกอบกิจการที่เป็นบริษัทอยู่หลายประการ อาทิ ด้านเงินทุน
 
หากต้องการใช้เงินทุนในการประกอบ กิจการจำนวนมาก ซึ่งลำพังตัวคนเดียวมีไม่พอ ก็ต้องอาศัยการเข้าหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนในการเรียกระดมทุน
 
ขนาดของกิจการที่ประกอบ หากมีขนาดใหญ่และมีการขยายตัวออกไปมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีความสลับซับซ้อนในการประกอบธุรกิจและการบริหารการจัดการนั้น
 
การประกอบกิจการในรูปเจ้าของคนเดียวอาจไม่ครอบคลุมทั่วถึงและมีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ ก็ต้องอาศัยมืออาชีพและการจัดองค์กรธุรกิจในรูปของบริษัทที่มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระบบแบบแผน 

                  
 
ความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบธุรกิจ ในทางสังคมมองว่า บุคคลธรรมดาล่องลอยไม่มีความน่าเชื่อถือ
 
ประกอบกับไม่มีมาตรฐานที่ดี แต่  ในการประกอบธุรกิจในรูปแบบบริษัทนั้น มีกฎหมายรองรับความเป็นมาตรฐานสากล
 
โดยกฎหมายว่าด้วยการบัญชี บังคับให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องจัดทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป (GAAP) นอกจากการจดทะเบียนเป็นหลักเเหล่ง และไม่ขึ้นอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
 
ประเด็นความมีมาตรฐานในระดับสากล ถือเป็นประเด็นสำคัญของการเริ่มต้นประกอบกิจการ
 
และเป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงความมีระดับ ความมีระบบแบบแผนที่ดี ความมีมาตรฐาน ความเป็นสากล ไม่มั่วนิ่ม ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของการวางรูประบบบัญชีของกิจการ
 
ดังนั้นหากเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีดี มีความชัดเจนโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการบันทึกรายการทางบัญชีครบถ้วนทุกรายการ
 
และบันทึกตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ก็ย่อมได้รับความน่าเชื่อถือจากสังคม และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยังเรียกความเชื่อมั่นได้อีกทาง
 
และยิ่งพิจารณาในมุมภาษีอากร ก็จะ เห็นได้ชัดเจนว่า การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ตั้งอยู่บนมาตรฐานการบัญชีหรือหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปอย่างมาก
 
ซึ่งแตกต่างจากการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ผู้ต้องเสียภาษีสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ เว้นแต่มีมาตรฐานทางบัญชีที่ดี โดยมีหลักฐานพิสูจน์การมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก็อาจเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงได้.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 

 จากบทความเรื่องนี้ เมื่อสัปดาห์ก่อนมีเสียงตอบรับจากท่านผู้อ่านพอสมควร และมีคำถามเพิ่มเติมว่า แล้วเมื่อไรควรจะเปลี่ยนจากการประกอบธุรกิจในรูปของบุคคลธรรมดาเจ้าของคนเดียวเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
 
ขอเรียนว่า ปัจจัยที่จะใช้ในการตัดสินใจเลือกรูปแบบของธุรกิจมีอยู่หลายต่อหลายปัจจัย อาทิ คู่ค้าหรือคู่สัญญากำหนดให้เราต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจึงจะทำธุรกิจด้วย เช่นนี้ ก็ต้องรีบจัดแจงแต่งตัวใหม่ให้เป็นบริษัทหรือห้างฯ ซึ่งแน่นอนว่า ภาระที่ตามมา ก็คือ ความมีมาตรฐานสากล ที่คู่กันมากับความเป็นบริษัทหรือห้างฯ อันได้แก่ มาตรฐานการบัญชี ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ของกระทรวงพาณิชย์ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องจัดทำหลักฐานและบันทึกบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงทางธุรกิจ เพื่อใช้ข้อมูลทางการเงินในการตัดสินใจ
 
นอกเหนือจากปัจจัยความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ โดยการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือ แกป (GAAP) แล้ว ปัจจัยการขจัดความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยการเป็นบริษัทจำกัด หรือหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ก็เป็นเหตุผลที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง เพราะผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด และผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ให้รับผิดเฉพาะมูลค่าหุ้นหรือหุ้นส่วนที่ยังชำระไม่ครบตามมูลค่าหุ้นหรือความเป็นหุ้นส่วนเท่านั้น
 
หากชำระเต็มมูลค่าหุ้นหรือหุ้นส่วนที่จดทะเบียนไว้ ก็เป็นอันไม่ต้องรับผิดเพิ่มเติมอีก ในขณะที่ประกอบธุรกิจเจ้าของคนเดียวและหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ต้องรับผิดในจำนวนหนี้ที่มีต่อบุคคลภายนอกไม่จำกัดจำนวน
 
ในทางภาษีอากรนั้น อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลก็เป็นปัจจัยในการตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจด้วย กล่าวคือ หากการประกอบธุรกิจในรูปของบุคคลธรรมดายังมีเงินได้สุทธิไม่เกินกว่าสี่ล้านบาท จะยังเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 30% และหากมีเงินได้สุทธิเกินกว่าสี่ล้านบาทต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 37% ซึ่งเท่ากับการเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งจำนวนกำไรและอัตราภาษีเป็นจุดตัดที่บอกว่า สมควรเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้แล้ว เพื่อขยายกิจการและสร้างความมีมาตรฐานให้เพิ่มยิ่งขึ้นไป ในอันที่จะพัฒนาธุรกิจให้ก้าวไกลด้วยความเป็นมืออาชีพ และหากทำกำไรได้เช่นนั้น การพัฒนาให้เติบโตอย่างรวดเร็วและสูงกว่านั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้วครับ ความสำเร็จในอาชีพ ความมั่งคั่งมั่นคงก็จักบังเกิดขึ้นอย่างถาวรจนนิรันดร์.

บทความโดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ที่มา : คอลัมภ์ มุมภาษี นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 14 และ 21 กรกฎาคม 2551




จดทะเบียนธุรกิจ

ก้าวแรกของการขายของออนไลน์
เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่
กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
กรรมการกับความผิดทางอาญา
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
ความรับผิดของกรรมการบริษัท
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่
"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"
ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ
การโอนหุ้น
เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”
ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!
"อยากจะค้าขาย"
10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
5 “สาย”
อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร
คุณก็เป็นเศรษฐีได้
หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs
โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน
สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ
เริ่มต้นจากเล็ก
คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ
7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ
กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550
อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง
ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ
ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ข้อควรทราบในการจดทะเบียน article
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม article
จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3)
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4)