บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (3)
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (3)
ภายหลังยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แล้ว บริษัทต่าง ๆ อาจหายใจยังไม่ทั่วท้อง ด้วยจิตรำพึง เรายื่นแบบชำระภาษี ต่ำไปหรือเปล่าหนอ
สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจ เนื้อหาตอน 1 - 2 กรุณา Click ไปที่ www.taxbiz.co.th นะครับ 6. ระบบการค้าระหว่างบริษัทในเครือ 6.1 แนวคิด/หลักการ ในทางธุรกิจ การจัดตั้งบริษัทในเครือเดียวกันหลายบริษัท โดยอาจแยกตามประเภทธุรกิจ แยกตามพื้นที่แยกตามประเภทสินค้า ฯลฯ ถือเป็นเรื่องปกติในวงการค้า ซึ่งเป็นด้วยหลายเหตุผล เช่น มีผู้ถือหุ้น/ผู้ร่วมทุน (Strategic Partners) ที่ชำนาญในบางแขนง บางสินค้า จึงจำเป็นต้องแยกหน่วยธุรกิจออกไป เป็น Profit center นอกจากนั้นการแยกเป็นหลายบริษัท จะมีข้อบวกคือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการบริหารงานอย่างใกล้ชิด เป็นต้น แต่ในแง่มุมภาษี กรณีที่มีการแยกเป็นบริษัทในเครือจำนวนมากและมีรายการค้าระหว่างกัน ทำให้เกิดประเด็นภาษีต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ราคาซื้อขายต้องเป็นตามราคาตลาด และปัญหา Transfer Pricing เป็นต้น ซึ่งมักเกิดข้อโต้แย้งและหาข้อยุติได้ยากกับเจ้าพนักงานสรรพากร 6.2 ปัญหา (1) การให้ความช่วยเหลือต่อกัน ทั้งในแง่ของพนักงาน เงินกู้ยืม การยืมสินค้า เป็นต้น จะต้องมีการคำนวณราคาค่าสินค้า/ค่าบริการหรือค่าตอบแทนระหว่างกันตามราคาตลาด เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (มาตรา 65 ทวิ (4)) หรือกรณีมีการคิดราคา/ค่าตอบแทน ระหว่างกันในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ก็เป็นประเด็นที่ต้องชี้แจงกับเจ้าพนักงานให้เกิดข้อยุติเช่นกัน (2) หากเจ้าพนักงานฯ ตั้งประเด็นว่าเป็นนิติกรรมอำพราง (คือไม่มีระบบการค้าเกิดขึ้นอย่างแท้จริง) กรณีนี้ก็จะทำให้บริษัทผู้ซื้อต้อง ถูกตัดเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่งประมวลรัษฎากร (รายจ่ายที่กำหนดขึ้นโดยไม่มีการจ่ายจริง) และต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า พร้อมเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน (3) กรณีมีธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศกับบริษัทในเครือมักเกิดประเด็นโต้แย้งจากเจ้าพนักงาน เกี่ยวกับการตั้งราคาโอน Transfer Pricing ซึ่งกรมสรรพากรได้วางแนวปฏิบัติไว้ใน คำสั่งที่ ป.113/2545 6.3 วิธีแก้ไข (1) การตั้งบริษัทในเครือ ถือเป็นข้อลบทางภาษีอากรหลายประการ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการขยายบริษัทจำนวนมาก หรืออาจใช้วิธีการควบกิจการ (Merger) ก็เป็นอีกทางออกหนึ่งที่ไม่มีภาระภาษี ใด ๆ (2) กรณีของ Transfer Pricing ควรเลือกวิธีแก้ปัญหาโดยการทำข้อตกลงการตั้งราคาซื้อขายระหว่างกันของบริษัทในเครือ (Advance Pricing Arrangement) กับกรมสรรพากรจึงจะเกิดข้อยุติอย่างสมบูรณ์ 7. ตัดค่าเสื่อมราคาก่อนสร้างทรัพย์สินเสร็จ 7.1 แนวคิด/หลักการ กฎหมายภาษีได้วางหลักเกณฑ์การหักค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ โดยยึดตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 (ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์) โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 65 ทวิ (2) และ พ.ร.ฎ# 145 (พ.ศ. 2527) ซึ่งมีสาระสำคัญที่มาตรา 3 และมาตรา 4 โดย - มาตรา 3 (พ.ร.ฎ. # 145) ระบุให้บริษัทมีสิทธิเลือกวิธีการหักค่าเสื่อมราคาตามหลักการบัญชี ที่รับรองทั่วไป ให้เหมาะสมกับกรณี เช่น กรณีวิธีเส้นตรง วิธีผลบวกจำนวนปี วิธีอัตราเร่ง เป็นต้น โดยต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ การจะเปลี่ยนวิธีบัญชีดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร - มาตรา 4 (พ.ร.ฎ. # 145) ได้แบ่งแยกทรัพย์สินออกเป็น 5 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะหัก ค่าเสื่อมราคาเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ เช่น อาคาร (20 ปี) สังหาริมทรัพย์ (5 ปี) เป็นต้น ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป สินทรัพย์ต่าง ๆ จะเริ่มตัดค่าเสื่อมราคาเมื่อพร้อมใช้งาน (Ready for it intended use) 7.2 ปัญหา ห้างสรรพสินค้า มีการก่อสร้างอาคาร 10 ชั้น มูลค่า 200 ล้านบาท โดยเริ่มเปิดใช้เฉพาะชั้นล่าง ส่วนชั้น 2 - 10 อยู่ระหว่างตกแต่งไม่แล้วเสร็จ ดังนั้นห้างสรรพสินค้าจึงเริ่มตัดค่าเสื่อมราคาชั้น 1 โดยคิดมูลค่าทรัพย์สินตามสัดส่วนคือ 20 ล้านบาท กรณีดังกล่าว ถือเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายภาษี เพราะอาคารสร้างเสร็จเพียงบางส่วน จึงยังไม่ถือว่ามีความพร้อมใช้งาน ตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น 7.3 วิธีแก้ไข ทำได้หลายวิธี เช่น - แยกสัญญาก่อสร้างออกเป็นส่วน ๆ เช่น สัญญาฉบับที่ 1 เป็นการว่าจ้างก่อสร้างอาคารชั้น 1 ส่วนสัญญาฉบับที่ 2 เป็นการว่าจ้างก่อสร้างอาคารชั้น 2 - 10 - แก้ไขสัญญา และ ลงนามรับมอบอาคารชั้นที่ 1 8. ทรัพย์สินมูลค่าต่ำกว่า 2,000 บาท จะถือเป็นรายจ่ายทันที 8.1 แนวคิด/หลักการ ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ได้ยึดหลักสาระสำคัญ (Materiality Principle) โดยอนุโลมให้บริษัทมีสิทธิเลือกหักเป็นรายจ่ายได้สำหรับทรัพย์สินที่มีมูลค่าน้อย (ไม่เป็นสาระสำคัญต่อความถูกต้องตามสมควรของงบการเงิน) เช่น บริษัทกำหนดนโยบายบัญชีว่า ทรัพย์สินมูลค่าต่ำกว่า 500 บาท หรือ 1,000 หรือ 2,000 บาท จะตัดเป็นรายจ่ายทันที เป็นต้น แต่ตามหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.ฎ. # 145 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใด อนุโลมให้ปฏิบัติดังกล่าว ดังนั้น กรณีนี้จึงต้องตัดค่าเสื่อมราคา สำหรับสินทรัพย์ทุกชิ้นไม่ว่าจะมีมูลค่ามากน้อยเพียงใด 8.2 ปัญหา การที่บริษัท กำหนดนโยบายบัญชีให้ตัดเป็นรายจ่ายสำหรับสินทรัพย์มูลค่าต่ำกว่า 2,000 บาท ดังกล่าว จึงขัดแย้งกับกฎหมายภาษี จึงต้องทำการปรับปรุง รายจ่ายดังกล่าว มาเป็น การตัดค่าเสื่อมราคา 5 ปี ซึ่งหากมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม และต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ของภาษีที่ชำระขาด พร้อมเงินเพิ่มอีก 1.5 % ต่อเดือน 8.3 วิธีแก้ไข ในทางปฏิบัติ หากบริษัทมีสินทรัพย์ชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งมีมูลค่าต่ำ ๆ จำนวนมาก หากจะต้องปรับปรุงรายการ เพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 ให้ถูกต้องครบถ้วน อาจต้องเสียเวลาจนไม่คุ้มค่า วิธีแก้ไข อาจทำได้โดยใช้วิธีเฉลี่ย เช่น สินทรัพย์ (มูลค่าน้อย) 1,000 ชิ้น ราคาซื้อรวม 30,000 บาท อาจคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงถัวเฉลี่ย = 30,000 X 20% X 6/12 = 3,000 บาท/ปี เป็นต้น ซึ่งแม้จะเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง 100% แต่ก็เหลือยอด ส่วนต่าง ไม่มากนัก - 108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) - 108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (2) - 108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (4) เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ ที่มา : http://www.bangkokbizweek.com |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |