บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net

ปัญหาค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
ปัญหาค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
ขอนำประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยที่ได้มีการปรับอัตราจาก 50,000 บาทต่อปี เป็น 100,000 บาทต่อปี มาปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้ ครับ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปุจฉา การขอกู้เงินเพิ่มขึ้น โดยประสงค์จะนำเงินกู้ไปใช้ในการซ่อมแซม หรือต่อเติมบ้าน หรือเพื่อซื้อรถยนต์ ผู้กู้ยืมจะนำดอกเบี้ยดังกล่าวไปหักเป็นค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่อย่างไร วิสัชนา ไม่ได้ครับ เพราะเจตนารมณ์ที่ได้มีการกำหนดให้ผู้เงินได้นำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามมาตรา 47(1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ก็เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้เฉพาะผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเท่านั้น ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมไปถึงการกู้ยืมเงิน เพื่อการต่อเติม ซ่อมแซมอาคาร หรือซื้อส่วนอื่นของอาคารของผู้ที่มีที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว จึงนำดอกเบี้ยนั้นมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ได้ ปุจฉา การแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้คืออะไร วิสัชนา การแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ คือ การที่เจ้าหนี้คนหนึ่งโอนสิทธิเรียกร้องในการรับชำระหนี้ของตนไปให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่ง โดยลูกหนี้ได้รับคำบอกกล่าวการแปลงหนี้นั้น หรือลูกหนี้ได้ตกลงยินยอมรับการแปลงหนี้นั้นเป็นหนังสือแล้ว ปุจฉา เดิมผู้มีเงินได้กู้ยืมเงินสวัสดิการประเภทที่อยู่อาศัยกับบริษัทนายจ้างคนหนึ่ง แต่ในปัจจุบันได้โอนมาเป็นพนักงานของบริษัทนายจ้างอีกคนหนึ่ง บริษัทนายจ้างเดิมกับผู้มีเงินได้ ได้ทำสัญญาเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ให้บริษัทนายจ้างคนใหม่เป็นเจ้าหนี้แทน โดยไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง แต่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้รับจำนองเป็นบริษัทนายจ้างคนใหม่ กรณีดังกล่าว ผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้กู้ยืมจะนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไปหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่อย่างไร วิสัชนา กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัว เจ้าหนี้ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของผู้มีเงินได้จึงยังคงหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 47(1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ปุจฉา การทำรีไฟแนนซิ่ง (REFINANCING) หรือการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ใหม่ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่แหล่งเงินกู้รายเก่าระหว่างผู้ให้กู้ ต้องใช้แหล่งเงินกู้ใดได้บ้าง วิสัชนา การดำเนินการดังกล่าวต้องใช้แหล่งเงินกู้ดังต่อไปนี้ (1) แหล่งเงินกู้เฉพาะ ประกอบด้วย (ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ข) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ (ค) นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวเข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (ก) หรือ (ข) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง (2) แหล่งเงินกู้ทั่วไป ประกอบด้วย (ก) ธนาคาร (ข) บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ค) บริษัทประกันชีวิต (ง) สหกรณ์ (จ) นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง (ฉ) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย และ (ช) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ยืมดังกล่าว ให้นำมาหักลดหย่อนทั้งกรณีกู้ยืมตามปกติทั่วไป และกรณีที่มีการแปลงหนี้ใหม่ ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ดังกล่าว และการทำรีไฟแนนซิ่ง (REFINANCING) หรือการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ใหม่ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่แหล่งเงินกู้รายเก่าระหว่างผู้ให้กู้ดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการทำรีไฟแนนซิ่ง (REFINANCING) เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยหรือห้องชุดที่จะนำมาหักลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีเงินได้นั้น ต้องเป็นดอกเบี้ย เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระหนี้เดิมเท่านั้น ปุจฉา การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่ดินพร้อมบ้านที่มีชื่อผู้กู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว และการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่ดินพร้อมบ้าน หรือบ้านที่ต้องปรับปรุงก่อนอยู่อาศัย ผู้กู้ยืมจะนำดอกเบี้ยดังกล่าวไปหักเป็นค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่อย่างไร วิสัชนา การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่ดินพร้อมบ้านที่มีชื่อผู้กู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว มิใช่เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัยตามมาตรา 47(1) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร จึงนำดอกเบี้ยนั้นมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ได้ สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่ดินพร้อมบ้าน หรือบ้านที่ต้องปรับปรุงก่อนอยู่อาศัย เป็นการกู้ยืมเพื่อซื้ออาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดินอยู่อาศัยตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร จึงนำดอกเบี้ยนั้น มาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้
ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย (2)
ขอนำประเด็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ปุจฉา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย วิสัชนา ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคล สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัยว่า ให้เป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมมาขอหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงิน วิสัชนา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมมาขอหักลดหย่อนในการคำนวณภาษี 1. เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ผู้มีเงินได้จ่ายให้แก่แหล่งเงินกู้ดังต่อไปนี้ (1) แหล่งเงินกู้เฉพาะ ประกอบด้วย (ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ข) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลัก (ค) นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลง (2) แหล่งเงินกู้ทั่วไป ประกอบด้วย (ก) ธนาคาร (ข) บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ยืมดังกล่าว ให้นำมาหักลดหย่อนทั้งกรณีกู้ยืมตาม 2. เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน 3. ต้องจำนองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดินเป็นประกันการกู้ 4. ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดดังกล่าว เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ใช้สิทธิหักลด 5. กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดดังกล่าว เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ใช้ 6. ให้ผู้มีเงินได้ได้สิทธิหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่ 7. ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่า ได้มีการจ่ายดอกเบี้ย ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |