บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

รอบระยะเวลาบัญชีกรณีเลิกกิจการ
รอบระยะเวลาบัญชีกรณีเลิกกิจการ
มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีเลิกกิจการ ซึ่งกรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้แล้ว จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้ครับ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปุจฉา กรณีบริษัทจดทะเบียนเลิกต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว เดิมคาดว่าจะยื่นงบการเงินและแบบ ภ.ง.ด.50 ได้ทันภายในกำหนดเวลา 150 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก ซึ่งต่อมาปรากฏว่าบริษัทไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีภายในกำหนดเวลา 150 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก จะต้องดำเนินการอย่างไร และมีความผิดต้องรับโทษหรือไม่ วิสัชนา กรณีที่บริษัทเลิกกิจการ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีให้ถือวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยให้ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการมีหน้าที่และความรับผิดร่วมกันในการยื่นรายการและเสียภาษีภายในกำหนดเวลา 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก) ถ้าผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการยังคงมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีต่อกรมสรรพากร บริษัทต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร และต้องระวางโทษปรับอาญาไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่ยื่นรายการภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่บริษัทเลิกกัน ให้ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการมีหน้าที่ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบการเลิกของบริษัทนั้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานประเมินอาจสั่งให้บริษัทเสียเงินภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของจำนวนภาษีที่ต้องเสีย และเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีให้ถือวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 72 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากเจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกวันที่ 24 กรกฎาคม 25XX ก็ต้องถือวันที่ 24 กรกฎาคม 25XX เป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และบริษัทมีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงิน ณ วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก (24 กรกฎาคม 25XX) และยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีภายในกำหนดเวลา 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติหลังจากจดทะเบียนเลิกกิจการอย่างไร วิสัชนา กรณีที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกบริษัทและบริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษี ภายใน 150 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกแล้ว แม้ว่าบริษัทจะได้เลิกกันแล้วแต่การชำระบัญชียังไม่เสร็จสิ้น ให้ถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ตามมาตรา 1249 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น บริษัทจึงยังมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 พร้อมงบการเงินต่อไปจนกว่าจะได้จดทะเบียนการชำระบัญชีแล้วเสร็จโดยมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก) และหากบริษัทได้ชำระภาษีไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว บริษัทไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใด อนึ่ง เมื่อบริษัทชำระบัญชีแล้วเสร็จ บริษัทจะมีหนังสือแจ้งสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่ว่าบริษัทชำระบัญชีแล้วเสร็จก็ได้ ปุจฉา ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการจะต้องจัดทำงบกำไรขาดทุนทางภาษีอากรขึ้นมา โดยใช้ราคาสินทรัพย์ที่มีอยู่ทุกประเภทตามราคาตลาด ตามมาตรา 74(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นรายได้ และยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมนำส่งภาษี (ถ้ามี) ใช่หรือไม่ ทำให้งบกำไรขาดทุน ทางภาษีอากรจะเป็น งบกำไรขาดทุนตามที่ปรากฏใน ภ.ง.ด.50 เท่านั้น ซึ่งจะไม่ตรงกับงบกำไร ขาดทุนตามที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรอง เนื่องจากงบกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองนั้นสินทรัพย์ต่างๆ ที่มีอยู่ ณ วันเลิกยังไม่มีการจำหน่ายออกไปจริง ความเข้าใจดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ และกรณีบริษัทเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สินทรัพย์ที่มีอยู่ทุกประเภทต้องตีราคาตามราคาตลาดและนำมาคำนวณเสียภาษี มูลค่าเพิ่มถูกต้องหรือไม่ วิสัชนา กรณีที่บริษัทเลิกกิจการ ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ ทรัพย์สินที่คงเหลืออยู่ให้ใช้ราคาตลาดตามมาตรา 74 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณีที่บริษัทเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่บริษัทมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ตามมาตรา 77/1(8)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการ ตามมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร โดยมูลค่าของฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาดในวันเลิกประกอบกิจการ ตามมาตรา 79/3(5) แห่งประมวลรัษฎากร แนวทางตามที่ได้ปุจฉา - วิสัชนา ดังกล่าวข้างต้น ประยุกต์จากหนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/587 ลงวันที่ 20 มกราคม 2546
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 9 มกราคม พ.ศ. 2551 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |