บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามที่รัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 467) พ.ศ. 2550 ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คงเหลือ 20% หรือ 25% ของกำไรสุทธิ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เพื่อจูงใจให้บริษัทนำหลักทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ MAI อันเป็นการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนเพื่อขยายกิจการ และส่งเสริมธรรมาภิบาลของบริษัท รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในตลาดทุนซึ่งจะทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัว โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไป จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้ ปุจฉา เคยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทจดทะเบียนมาก่อนหน้าหรือไม่ อย่างไร วิสัชนา ในรัฐบาลที่ผ่านมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 387) พ.ศ. 2544 ดังนี้ 1. ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิลงเหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 200 ล้านบาท เป็นเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 6 กันยายน 2544 ทั้งนี้ เฉพาะบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อนวันที่ 6 กันยายน 2544 2. ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ เป็นเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่บริษัทที่มีหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2544 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ทั้งนี้ บริษัทที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 2. จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของกฎหมาย (1) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียน ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับหลัก ทรัพย์จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ MAI (2) ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกเหนือจากกรณีตาม (1) บริษัทจดทะเบียนดังกล่าว จะทยอยหมดสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลไปในแต่ละปีหลังจากที่ครบ 5 รอบระยะเวลาบัญชีถัดจากปีที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งปีสุดท้ายก็คือปี 2553 ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายใหม่อย่างไร วิสัชนา ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 467) พ.ศ. 2550 กำหนดให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่บริษัทที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของกฎหมาย และคงจัดเก็บในอัตราดัง ต่อไปนี้เป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่บริษัทที่นั้นมีหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยยื่นคำขอจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550 ถึง 31 ธันวาคม 2550 และได้รับการจดทะเบียนหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 1. ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ MAI 2. ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกเหนือจากกรณีตาม 1. บริษัทที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าว นอกจากการยื่นคำขอในกำหนดเวลาแล้ว จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 1. ไม่เคยมีหลักทรัพย์จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนการจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2. ไม่เป็นบริษัทที่ควบเข้ากันกับบริษัทที่เคยมีหลักทรัพย์จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนจากบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้ ก่อนการจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3. ไม่รับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนจากบริษัทที่เคยมีหลักทรัพย์จดทะเบียนกับตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดระยะเวลาที่บริษัทได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ หากมีการรับโอนกิจการดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทนั้นหมดสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่มีการรับโอนกิจการ 4. ไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 3(1) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 460) พ.ศ. 2549 ตลอดระยะเวลาที่บริษัทได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ ในสัปดาห์นี้ขอนำประเด็นการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 467) พ.ศ.2550 โดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทดังกล่าวจาก 30% ของกำไรสุทธิคงเหลือ 20% หรือ 25% ของกำไรสุทธิ เพื่อจูงใจให้บริษัทนำหลักทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ MAI อันเป็นการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนเพื่อขยายกิจการ และส่งเสริมธรรมาภิบาลของบริษัท รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในตลาดทุนซึ่งจะทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัว โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ต.ค.50 เป็นต้นไป มาปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ ปุจฉา บริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.50 ถึง 31 ธ.ค.50 และได้รับการจดทะเบียนหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 51 ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร วิสัชนา ให้บริษัทดังกล่าวได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้ 1. ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใน "ตลาดหลักทรัพย์ MAI" คำว่า "MAI" ย่อมาจาก MARKET FOR ALTERNATIVE INVESTMENT หรือตลาดหลักทรัพย์ทางเลือกใหม่ของการลงทุน ซึ่งบริษัทที่จะนำหลักทรัพย์เข้ามาจดทะเบียนในตลาดประเภทนี้ต้องมีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่ถึง 300 ล้านบาท 2. ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คำว่า "SET" ย่อมาจาก STOCK EXCHANGE OF THAILAND หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งบริษัทที่จะนำหลักทรัพย์เข้ามาจดทะเบียนในตลาดประเภทนี้ต้องมีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 300 ล้านบาท ขึ้นไป ปุจฉา บริษัทที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอย่างไรบ้าง วิสัชนา บริษัทที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในกรณีดังกล่าวจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เคยมีหลักทรัพย์จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนการจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) ไม่เป็นบริษัทที่ควบเข้ากันกับบริษัทที่เคยมีหลักทรัพย์จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือรับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนจากบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้ ก่อนการจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3) ไม่รับโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนจากบริษัทที่เคยมีหลักทรัพย์จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดระยะเวลาที่บริษัทได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ หากมีการรับโอนกิจการดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทนั้นหมดสิทธิที่จะได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่มีการรับโอนกิจการ (4) ไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเดิมเปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี(5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวนร้อยละยี่สิบห้าของเงินที่ได้จ่ายไปนั้น โดยการดำเนินการดังกล่าวต้องเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักของกิจการ และจัดทำเป็นโครงการที่มีมูลค่าตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป โดยต้องจ่ายภายในห้ารอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.49 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 156) ตามมาตรา 3(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 460) พ.ศ.2549 ตลอดระยะเวลาที่บริษัทได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ดังนี้ (5) ไม่เคยได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 387) พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 421) พ.ศ. 2547 ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 7 พฤศจิกายน และ 14 พฤศจิกายน 2550 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |