ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



หมิ่นประมาท

 

                                                                                           หมิ่นประมาท

 

โบราณว่า "ก่อนพูด...เราเป็นนายของคำพูด แต่ถ้าพูดออกไปแล้ว...คำพูดเป็นนายเรา" ถ้าพูดดีก็ดีไป แต่ถ้าพูดไม่ดีโอกาสเดือดร้อนมีมากทีเดียว

การทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กฎหมายถือว่าเป็นการละเมิด ในทางแพ่งผู้ที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด และถ้าหากการทำละเมิดนั้นเข้าองค์ประกอบของความผิดทางอาญาด้วย ผู้ทำละเมิดยังจะต้องรับผิดและรับโทษในทางอาญาอีกด้วย

การหมิ่นประมาทผู้อื่นย่อมทำให้ผู้อื่นนั้นได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง จึงเป็นการละเมิดในทางแพ่งเสมอ ไม่ว่าผู้หมิ่นประมาทจะทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม แต่อาจเป็นความผิดในทางอาญาด้วย ถ้าผู้กระทำได้ทำโดยเจตนา เพราะการทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงโดยไม่เจตนาไม่เป็นความผิดในทางอาญา เช่น การกล่าวข้อความหรือแพร่ข่าวอันเป็นเท็จ โดยผู้กระทำไม่มีเจตนาจนเกิดความเสียหาย แก่ชื่อเสียงของคนอื่น

ผู้กระทำจะต้องชดใช้ค่าเสียหายใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้มิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง ส่วนจะเป็นความผิดทางอาญาด้วยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้กระทำเป็นสำคัญ ถ้าทำโดยเจตนาย่อมเป็นความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาทด้วย

นอกจากความผิด " ฐานหมิ่นประมาท " แล้ว ยังมีความผิดอีกฐานหนึ่งที่มักจะได้ยินกันเสมอๆ คือ "การดูหมิ่นซึ่งหน้า"

หมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 โดยทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง โดยกฎหมายอาญา มาตรา 326 บัญญัติว่า ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนการดูหมิ่น คือ บุคคลอื่นซึ่งทำการด่าทอหรือเหยียดหยามผู้นั้นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ความแตกต่างระหว่างดูหมิ่นกับหมิ่นประมาท มีดังนี้

1. ดูหมิ่นซึ่งหน้า เป็นการดูหมิ่นผู้ที่ถูกดูหมิ่น และกระทำต่อหน้า ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีบุคคลที่สามอยู่ด้วย หากมีการดูหมิ่นซึ่งหน้าแล้วถือเป็นความผิดสำเร็จทันที แต่หมิ่นประมาทนั้นจะต้องเป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ถ้าไม่มีบุคคลที่สามมารับรู้การกระทำอันเป็นการหมิ่นประมาทนั้นก็ถือว่าไม่ครบองค์ประกอบความผิด ผู้กระทำจะไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

2. ดูหมิ่นซึ่งหน้า คำด่าที่เป็นคำหยาบที่เป็นการเหยียดหยาม คำหยาบคายไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท เนื่องจากไม่เป็นการลดคุณค่าทางสังคมของผู้ถูกหมิ่นประมาทลงมา เช่น คำหยาบ" ไอ้เหี้ย ... ไอ้สัตว์ " เป็นต้น ไม่ว่าจะหยาบอย่างไร ก็เป็นเพียงคำหยาบคายเท่านั้น แต่คำสุภาพบางคำเป็นหมิ่นประมาท เช่น พูดกับคนอื่นว่าเจ้าพนักงานคนนี้รับเงินใต้โต๊ะจึงจะทำงานให้ จะเห็นว่าไม่มีคำหยาบคายเลย แต่ทำให้เจ้าพนักงานคนนั้นถูกมองว่าเป็นคนทุจริต เช่นนี้เป็นความผิดสำเร็จแล้ว

3. ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นแม้กระทำต่อผู้ตาย แต่ก็ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทต่อบิดา มารดา บุตร หรือภรรยาของผู้ตายด้วย ในส่วนนี้ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าไม่อาจมีได้ เนื่องจากผู้ตายได้ตายไปแล้ว การไปด่าผู้ตายโดยที่ไม่มีบุคคลที่สามอยู่ด้วยนั้นไม่เป็นความผิดฐานนี้ กฎหมายอาญามาตรา 327 กำหนดว่าผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สาม และการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นกัน

4. ความผิดฐานหมิ่นประมาทมีโทษบทหนัก คือ หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ทำให้ข้อความที่หมิ่นประมาทนั้นกระจายสู่บุคคลที่สามในลักษณะเป็นวงกว้าง ความผิดจะหนักขึ้น แต่ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าไม่มีบทหนัก กฎหมายอาญามาตรา 328 กำหนดว่าถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าโดยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

ช่วงนี้คนที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิงหันมาเป็นนักเขียนออกหนังสือกันมาก ไม่ว่าจะเป็นหนังสือชีวิตตนเอง บทเขียนต่างๆ ที่ปรากฏในหนังสืออาจจะมีการพาดพิงไปถึงบุคคลที่สามได้ แต่การพาดพิงถ้าเป็นไปในทางที่เสียหายถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องจริง หรืออาจจะจริงบางส่วนก็ตาม เช่น เขียนไปว่าคนนี้เป็นเมียน้อยคนนั้น คนนั้นเป็นเมียน้อยคนนี้ หรือว่าคนนี้นิสัยไม่ดีขี้โกง ซึ่งการเขียนแบบนี้อาจจะทำให้คนที่อ่านรู้สึกเกลียดชังบุคคลที่โดนพาดพิงถึงได้ หนังสือที่ตีพิมพ์ออกไปนั้นออกวางจำหน่ายทั่วประเทศ ถ้าผู้เสียหายไปเปิดอ่านเจอที่ใด เขาสามารถแจ้งความได้ที่โรงพักที่พบเห็นข้อความนั้นได้ทันที

เทคโนโลยียุคนี้ก้าวหน้ามากทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือถ่ายรูปได้ กล้องดิจิตอล กล้องวิดีโอ การติดกล้องแอบถ่าย ภาพหวิวผู้อื่นไม่ว่าจะเก็บไว้ดูเองหรือจำหน่ายจ่ายแจก มีความผิดทางแพ่งข้อหาละเมิดสิทธิ จงใจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย และหากมีการก๊อบปี้ขายก็เป็นการทำการค้าหรือช่วยให้แพร่หลายสิ่งของลามก จะผิดทางอาญาด้วย โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ยังเป็นความผิดได้อีกข้อหาหนึ่งคือ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

แต่ในเรื่องหมิ่นประมาท กฎหมายอาญามาตรา 330 กำหนดว่า ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อหาที่ว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อหาที่ว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

ดังนั้น ถ้าผู้กระทำผิดพิสูจน์ได้ว่าเรื่องราวที่กล่าวมาแล้วเป็นความจริง ผู้นั้นมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ แต่ก็มีข้อห้ามอีกว่าห้ามพิสูจน์หากข้อความที่ถูกหาว่าเป็นการหมิ่นประมาทนั้น เป็นการใส่ความเรื่องส่วนตัวและการพิสูจน์ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เช่นนี้ไม่ต้องพิสูจน์ถึงแม้จะเป็นเรื่องจริงก็ตาม เพราะถึงมีการพิสูจน์ออกมาว่าเป็นเรื่องจริงก็เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทอยู่ดี

ความผิดฐานหมิ่นประมาท มีทั้งเหตุยกเว้นความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

1.เพื่อความชอบธรรมป้องกันตนเองหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม หรือ
2.ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติตามหน้าที่ หรือ
3.ติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
4.ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม

ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งถ้าเป็น 4 กรณีนี้จะไม่ถือเป็นความผิดเลย

ทุกวันนี้นักข่าวที่เสนอข่าวด้วยความคิดเห็นสุจริตด้วยความเป็นธรรมก็ใช้เงื่อนไขนี้ป้องกันตัวเอง แต่ไม่ใช่จะเสนอข่าวได้ทุกอย่างโดยมีมาตรานี้ป้องกัน ต้องดูเป็นกรณีๆ ไป

แต่การดูหมิ่นซึ่งหน้า ไม่มีเหตุยกเว้นความผิด เพราะฉะนั้นไม่ต้องพิสูจน์ว่าข้อความนั้นจริงหรือไม่ หรือว่าเป็นประโยชน์หรือไม่ ถ้าเป็นดูหมิ่นซึ่งหน้าแล้วถือว่าเป็นความผิดเลยไม่ต้องมาพิสูจน์กันอีก

5. การดูหมิ่นซึ่งหน้าเป็นความผิดลหุโทษซึ่งมีโทษเบากว่าคือ โทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการหมิ่นประมาทโทษจะมากกว่า แต่การพยายามกระทำความผิดลหุโทษไม่เป็นความผิด

อย่างไรก็ตาม ความผิดในเรื่องของการหมิ่นประมาทนี้ เป็นความผิดอันยอมความได้ ทางที่ดีเวลาจะพูดจากับใคร หรือจะขีดเขียนข้อความอะไรลงไป อย่ามัวแต่คิดจะเอามันเข้าว่าเพื่อเพิ่มยอดขาย ควรจะตระหนักและคำนึงถึงความเสียหายของบุคคลอื่นด้วยนะครับ อย่าถือว่ากฎหมายเปิดช่องให้ยอมความกันได้แล้วจะรอดตัว เพราะถ้าผู้เสียหายเขาไม่ยอมความขึ้นมา โอกาสติดคุกก็ยังมีนะครับ

เรียบเรียงโดย : คุณพิทยา ลำยอง   9 ต.ค 49 

ที่มา : http://www.geocities.com/ruammitra




รวมบทความกฎหมายน่ารู้

การทวงหนี้
กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่
ไม้ตายจัดการเจ้าหนี้นอกระบบ
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์
ลิขสิทธิ์ Copyright Law
หมิ่นประมาท เหยียดหยาม
กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายแรงงาน
มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย
กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้
ทำอย่างไร..เมื่อได้รับ "หมายศาล"
ความยินยอมของคู่สมรส
เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร
ผู้ต้องหามีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน
อายุความบัตรเครดิต 2 ปี หมายความว่าอย่างไร
เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 2)
หลักประกันตัวในคดีอาญา
ผู้ให้และผู้รับ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 1)
ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง