บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) นั้น ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะกับบริษัทที่เข้าจดทะเบียนเท่านั้น ผู้ถือหุ้นของบริษัทก็จะได้รับประโยชน์ด้วย ประโยชน์ของการเป็นบริษัทจดทะเบียน : ต่อบริษัท ประการที่ 1 แหล่งเงินทุนระยะยาวที่ปราศจากภาระดอกเบี้ย การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ช่วยให้บริษัทสามารถระดมเงินทุนจากประชาชนทั่วไปได้โดยตรง เพื่อนำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือขยายธุรกิจของบริษัทได้โดยไม่มีภาระที่ต้องชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตามงวดเวลาที่กำหนดเหมือนการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ทำให้บริษัทมีความยืดหยุ่นในการบริหารเงินมากขึ้น ประการที่ 2 เพิ่มช่องทางระดมทุนเพื่อช่วยในการบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สามารถระดมทุนเพิ่มเติมเมื่อมีความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้นได้ โดยการออกตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน เช่น หุ้นสามัญเพิ่มทุน หุ้นกู้ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ เป็นต้น ช่วยให้บริษัทสามารถจัดโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทได้ ประการที่ 3 เสริมสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท การเป็นบริษัทจดทะเบียนจะช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีในการบริหารงานและมาตรฐานการดำเนินงานของบริษัทมากขึ้น ผ่านกลไกการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนสนใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทมากขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างความเชื่อถือให้แก่ลูกค้า คู่ค้า ทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย ประการที่ 4 สร้างความภักดี และผลตอบแทนที่ดีให้แก่พนักงาน พนักงานของบริษัทนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ จะช่วยสร้างความภักดีและความภูมิใจให้แก่พนักงาน มีความทุ่มเทความสามารถอย่างเต็มที่ในการสร้างความก้าวหน้าให้แก่บริษัท การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นช่องทางหนึ่งที่บริษัทสามารถเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของบริษัทได้ ผ่านโครงการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัท (Employee Stock Option Program หรือ ESOP) ประการที่ 5 สร้างความรับผิดชอบและการบริหารงานแบบมืออาชีพ การที่บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร และความเคลื่อนไหวต่างๆ ผ่านช่องทางและระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของตลาดหลักทรัพย์ ช่วยทำให้บริษัทเป็นที่รู้จักของผู้ลงทุนมากขึ้น ช่วยสร้างความสนใจของผู้ลงทุนในบริษัทมากขึ้นและกระตุ้นให้ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนมีความรับผิดชอบในการบริหารงานมากขึ้นด้วย ประการที่ 6 การดำรงอยู่ของธุรกิจในระยะยาว การเป็นบริษัทจดทะเบียนจะช่วยให้บริษัทที่มีการบริหารงานแบบธุรกิจครอบครัวก้าวเข้าสู่การบริหารงานแบบมืออาชีพมากขึ้น มีผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพเข้ามาร่วมบริหารกิจการ และเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวของเจ้าของกิจการที่มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตหรือมีความถนัดที่แตกต่างกันไปสามารถเลือกประกอบอาชีพที่ต้องการโดยยังคงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทและได้รับผลตอบแทนจากการถือหุ้นอยู่เช่นเดิม
ประโยชน์ของการเป็นบริษัทจดทะเบียน : ต่อผู้ถือหุ้น ประการที่ 1 เพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ถือหุ้น การเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ช่วยให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทมีศูนย์กลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ที่ถือไว้เป็นเงินสดได้ง่ายและสะดวก ซึ่งจะช่วยให้เกิดสภาพคล่องให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ ประการที่ 2 ลดภาระค้ำประกันของผู้ถือหุ้นและกรรมการ การเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนจะช่วยให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทจะต้องปรับปรุงให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์กำหนด นอกจากนี้การเป็นบริษัทจดทะเบียนและเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้หลักทรัพย์ของบริษัทมีราคาอ้างอิง และมีสภาพคล่อง เป็นหลักทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถนำไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้ หรือเพื่อใช้ลดการค้ำประกันการกู้ยืมเงินที่ทำไว้ก่อนการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ประการที่ 3 ได้รับยกเว้นภาษีกำไรจากการขายหุ้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำกำไรที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คุณสมบัติของการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มุ่งมั่นสรรหาและคัดเลือกบริษัทที่มีศักยภาพเข้าจดทะเบียนเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน โดยบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนได้ ต้องเป็นบริษัทที่มีประวัติการดำเนินงานมาพอสมควร โดยมีผลกำไรที่ผ่านมาชัดเจน พร้อมกระจายการถือหุ้นให้สาธารณชน และที่สำคัญต้องมีบรรษัทภิบาลที่ดี มีความโปร่งใสและเชื่อถือได้ โดยคุณสมบัติของบริษัทจดทะเบียน มีดังนี้ ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน ทุนชำระแล้วและส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่น้อยกว่า 300 ราย ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 20% ของทุนชำระแล้ว การบริหารจัดการโปร่งใสมีมาตรฐาน มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 3 ท่าน และมีระบบการควบคุมภายในที่สร้างความเชื่อมั่นได้ว่า ระบบบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้
ค่าใช้จ่ายในการระดมทุน ค่าใช้จ่ายในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ประกอบด้วย ค่าใช้จ่าย 2 ส่วน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ครั้งแรก (IPO One-Time Expenses) และ ค่าใช้จ่ายประจำปี (Recurring Expenses) ค่าใช้จ่ายในการเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ครั้งแรก เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระหว่างการเตรียมบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ อาทิ ค่าสอบบัญชี ค่าบริการที่ปรึกษาทางการเงิน ค่ารับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriting Fee) ค่าประชาสัมพันธ์และหนังสือชี้ชวน ค่าธรรมเนียม ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบ และค่าใช้จ่ายจดทะเบียนเพิ่มทุน เป็นต้น ส่วนค่าใช้จ่ายประจำปี เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่ ค่าสอบบัญชี ค่าธรรมเนียมนายทะเบียนหลักทรัพย์ ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบ ค่าธรรมเนียมรายปี ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เป็นต้น อัตราค่าใช้จ่ายมีดังนี้ 1. เตรียมพร้อมเข้าจดทะเบียน ที่ปรึกษาทางการเงิน ค่าธรรมเนียมที่ปรึกษาทางการเงิน ขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความพร้อมของบริษัท โดยมีอัตราขั้นต่ำประมาณ 1 ล้านบาท และมีวิธีการชำระค่าบริการหลายวิธี เช่น คิดเป็นราคาเหมาจ่าย สำนักงาน ก.ล.ต. ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาต: 50,000 บาท
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ: 25,000 บาท นายทะเบียน ค่าธรรมเนียมรายปีในการเป็นนายทะเบียนคิดอัตราค่าธรรมเนียมที่ลดลงตามจำนวนทุนชำระที่เพิ่มขึ้น โดยคำนวณตามทุนชำระทุก 1 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท
3. เสนอขายหุ้น ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย ค่าธรรมเนียมรับประกัน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ประมาณ 3 % ของมูลค่าการระดมทุน 4. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ -ผู้สอบบัญชี ประมาณ 300,000 1,000,000 บาท อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : ก้าวแรกสู่การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์...คลิก (pdf)(1.15 MB)
ที่มาของข้อมูล : ตลาดหลักทรัพย์ MAI |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |