ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้

       

                                                                               กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้

 

                      

  ในช่วงภาวะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ ทำให้นายจ้างหลายต่อหลายราย  มีปัญหาเรื่องค่าจ้างแรงงาน มีการเลิกจ้างลูกจ้างเป็นจำนวนมาก โดยนายจ้างใช้วิธีการแตกต่างกัน เช่น บีบให้ออกจากงาน ย้ายแผนก ย้ายที่ทำงาน ลดเบี้ยเลี้ยง โอที ยัดข้อหา หรือประเมินผลงานทำงานว่าไม่มีประสิทธิภาพ

   ยุบฝ่าย หรือยุบกิจการหรือนำเทคโนโลยีมาใช้แทน ทนายคลายทุกข์จึงขอนำตัวบทกฎหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาที่น่าสนใจ การที่เป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและลูกจ้าง โดยขอนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจเป็นข้อ ๆ ดังนี้คือ

    1.ลูกจ้างซึ่งทำงานก่อสร้างหรือใช้แรงงานกับผู้รับเหมาช่วง ถึงกำหนดใช้จ่าย ผู้รับเหมาช่วงอ้างว่าผู้รับเหมาชั้นต้นไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง กรณีนี้ลูกจ้างสามารถเรียกเงินจากผู้รับเหมาช่วง ผู้รับเหมาหลักและเจ้าของโครงการได้ ตามมาตรา 5

    2.การเลิกจ้างทำได้ 3 กรณี

       - สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา เมื่อสิ้นสุดระยะเวลา

       - ลูกจ้างกระทำความผิดตามมาตรา 119 และ ปพพ.มาตรา 583

       - การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน

    3.การเลิกจ้างต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้น จะเลิกจ้างด้วยวาจาไม่ได้ มาตรา 17 และต้องบอกเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง

    4.การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ถ้าลูกจ้างกระทำความผิด หรือหย่อนประสิทธิภาพ เลิกจ้างได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ถ้าลูกจ้างมิได้กระทำความผิด ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 17 วรรค 2 และ 4

    5.การทดลองงานจะถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา จะต้องระบุให้ชัดเจนว่า ทดลองงานจนถึงวันที่เท่าใด ถ้าระบุว่าทดลองงานไม่เกิน 120 วัน ถือว่าเป็นการจ้างโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้นเมื่อจะเลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ยกเลิกกระทำความผิด

    6.การร้องขอความเป็นธรรมต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน ให้ลูกจ้างยื่นคำร้องในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่ลูกจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ ตามมาตรา 123

       พนักงานตรวจแรงงานต้องมีคำสั่งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง และถ้าลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชย ต้องมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันที่นายจ้างทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง มาตรา 124

    7.นายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานให้ฟ้องศาลแรงงานได้ภายใน 30 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง ถ้าไม่ฟ้องศาลภายในกำหนดให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด ในกรณีนายจ้างฟ้องศาลต้องนำเงินค่าจ้างหรือค่าชดเชยไปวางต่อศาลก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ มาตรา 125

    8.ค่าชดเชยลูกจ้างจะเรียกได้มากหรือน้อยเป็นไปตามมาตรา 118 แต่ถ้าลูกจ้างทำผิดนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119

ที่มา : รายการทนายคลายทุกข์  สถานีโทรทัศน์ไททีวี 2  http://www.decha.com




รวมบทความกฎหมายน่ารู้

การทวงหนี้
กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่
ไม้ตายจัดการเจ้าหนี้นอกระบบ
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์
ลิขสิทธิ์ Copyright Law
หมิ่นประมาท เหยียดหยาม
กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายแรงงาน
มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย
หมิ่นประมาท
ทำอย่างไร..เมื่อได้รับ "หมายศาล"
ความยินยอมของคู่สมรส
เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร
ผู้ต้องหามีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน
อายุความบัตรเครดิต 2 ปี หมายความว่าอย่างไร
เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 2)
หลักประกันตัวในคดีอาญา
ผู้ให้และผู้รับ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 1)
ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง