บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ในบรรดาเงินเก็บที่เป็นประโยชน์ทั้งในส่วนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้าง และในส่วนที่เป็นลูกจ้าง ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : กล่าวคือ ในส่วนของลูกจ้างที่จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีสิทธินำเงินดังกล่าวมาถือเป็นค่าลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่เกิน 10,000 บาท อีกไม่เกิน 290,000 บาทต่อปี สำหรับนายจ้างมีสิทธินำเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาถือเป็นรายจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามมาตรา 65 ตรี (2) แห่งประมวลรัษฎากร จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้ ปุจฉา มีข้อกำหนดเบื้องต้นเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไร วิสัชนา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ.2533) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยให้ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.32 เป็นต้นไป "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" หมายความว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 ประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสม เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้ และผลประโยชน์จากเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตาย หรือออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล และให้นายทะเบียนประกาศการจดทะเบียนกองทุนในราชกิจจานุเบกษา "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายเป็นการตอบแทนโดยวิธีใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด แต่ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่นายจ้างหักไว้ หรือจ่ายเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการทำงาน "นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และไม่ว่าการตกลงนั้นจะมีสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ "ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ไม่ว่าจะมีสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินที่บริษัทจ่ายสมทบเข้ากองทุนที่จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสิทธิอย่างไร วิสัชนา ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน โดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้าง และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แต่ข้อบังคับนั้นจะต้องกำหนดให้หักค่าจ้างเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละสามแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้าง และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราเงินสะสมของลูกจ้าง แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม ลูกจ้าง และนายจ้างอาจตกลงกันให้จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดดังกล่าว โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ได้ เงินที่บริษัทจ่ายสมทบเข้ากองทุนให้ถือเป็นรายจ่ายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายเท่ากับเงินที่บริษัทได้จ่ายสมทบตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนหรือตามอัตราที่กำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนภายในสามวันทำการนับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้าง และต้องจ่ายเข้ากองทุนในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับที่มีการจ่ายค่าจ้าง ในกรณีที่บริษัทมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนหรือตามอัตราที่กำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายในสามวันทำการนับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้าง เงินที่บริษัทจ่ายสมทบนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้นเป็นต้นไป ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย แต่ถ้าบริษัทได้แก้ไขการปฏิบัติให้ถูกต้อง และได้จ่ายเงินเพิ่มให้แก่กองทุนในระหว่างเวลาที่ส่งล่าช้าตามอัตราที่กำหนด ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว อธิบดีกรมสรรพากร จะอนุมัติให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่แก้ไขให้ถูกต้องนั้น หรือจะอนุมัติให้ถือเป็นรายจ่ายย้อนหลังไปถึงรอบระยะเวลาบัญชีที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องก็ได้ ในกรณีที่บริษัทได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน และถือเป็นรายจ่ายไปแล้วถ้าบริษัทได้เงินกลับคืนมาจากกองทุนด้วยประการใดๆ เงินที่ได้กลับคืนมานั้นให้ถือเป็นรายได้ของบริษัทในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้กลับคืนมา ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 5 ธันวาคม 2550 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |