ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



สรรพากรลดภาษีคนดีฉลอง 80 พรรษา

 

                                                                   สรรพากรลดภาษีคนดีฉลอง 80 พรรษา

 

นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง เปิดเผยถึงกรณี ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในหลักการของมาตรการภาษีที่เอื้อต่อการให้และการอาสาช่วย เหลือสังคมหรือภาษีสังคม ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอ และ ครม.ได้มอบให้กระทรวงการคลังรับไปดำเนินการต่อว่า มีบางประเด็นไม่ค่อยลงตัวจึงได้ไปหารือกับกรมสรรพากรอีกครั้ง เพื่อกระตุ้นให้คนที่มีเงิน มีทองเหลือใช้มาทำบุญมากขึ้น โดยนำรายได้ปัจจุบัน และอนาคตมาบริจาคได้อย่างกว้างขวาง เหมือนกับต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ และยุโรป 

“กรมสรรพากรในฐานะที่เป็นผู้จัดเก็บภาษีก็ได้ไปหามาตรการอุดช่องโหว่ในการหลบเลี่ยงภาษี กำกับดูแลให้มีความรัดกุม เพราะที่ผ่านมา มีคนนำเงินไปบริจาคกับวัดแล้วให้ออกใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งวัดให้ผู้บริจาคเขียนในใบอนุโมทนาบัตรเองว่า จะบริจาคเท่าไร บางครั้งบริจาคน้อย แต่ เขียนจำนวนเงินในใบอนุโมทนาบัตรมากเพื่อนำมาลดหย่อนภาษี ซึ่งต่อไปนี้ การทำบุญหรือบริจาคต้องมีสำเนาหรือหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ หากตรวจแล้วไม่เจอก็ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ จึงเห็นว่าควรตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบ กำกับดูแล โดยส่วนตัวแล้วจะเข้าไปดูด้วย”

นายสมหมายกล่าวว่า มติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ต.ค. ถือว่าได้ให้ความเห็นชอบในหลักการเรื่องภาษีสังคมแล้ว แต่เนื่องจากมีรายละเอียดมากต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบ กำหนดกรอบกำกับดูแล กรมสรรพากรเองก็ต้องเข้ามาดูแลเรื่องการปิดช่องโหว่รวมทั้งเรื่องการลดหย่อนภาษี ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการเสร็จภายในสิ้นเดือน พ.ย. หรืออย่างช้า กลางเดือน ธ.ค. ซึ่งถือเป็นงานสุดท้ายของตน เพื่อให้เสร็จ ทันก่อนการเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา 

ส่วนเรื่อง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน, พ.ร.บ.  ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะดำเนินการให้ทันภายในวันที่ 22 ธ.ค.นี้ ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป  เรื่อง พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากนั้นอยากพูดให้ทุกคนเข้าใจ เพราะลาว ฟิลิปปินส์ ประกาศใช้ไปนานแล้ว อินโดนีเซียก็มี หรือว่าต้องรอให้พม่ามีแล้วไทย ค่อยประกาศใช้

นายสมหมายกล่าวว่า ส่วนกรณีของโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณหมอชิตเก่านั้นไม่ได้ถือว่าเป็นงบผูกพัน แต่เป็นโครงการที่มีปัญหาก็ต้องแก้ปัญหาต่อไป ส่วนเรื่องการจำหน่ายสลากพิเศษ 3 ตัวและ 2 ตัว หรือหวยบนดินนั้น ไม่ได้ถือเป็นการ ผูกพันงบประมาณ แต่เป็นโครงการที่มีปัญหาจึงต้อง ได้รับการแก้ไขตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ และต้องเอาเข้า ครม.เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนทุกคน 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายละเอียดของมาตรการ ภาษีสังคมที่ ครม.อนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 22 ต.ค. ประกอบด้วย

1. การให้องค์การเอกชนได้รับการประกาศเป็นองค์การสถานสาธารณกุศล เพื่อยกเว้นภาษีเพิ่มมากขึ้น โดยปรับลดระยะเวลาการตรวจหลักฐานงบดุลและบัญชีรายได้ รายจ่ายจาก 3 ปี ลดลงเหลือ 1-2 ปี

2. การยกเว้นภาษีเงินได้กรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่องค์การเอกชนที่ได้รับการประกาศเป็นองค์การสถานสาธารณกุศล

3. การลดอัตราภาษีแก่มูลนิธิ สมาคม จาก 10% เหลือ 5%

4. การกำหนดรายชื่อสถานพักฟื้น บำบัดและฟื้นฟูเด็ก คนชรา ผู้พิการของเอกชนและของราชการเป็นองค์การสถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษาเพื่อให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี

5. เพิ่มรายการลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการกุศลสา-ธารณะแก่บริษัท ห้างร้าน หรือนิติบุคคลเพื่อให้มีรายการบริจาคเพิ่มมากขึ้น

6. ยกเว้นภาษีเงินได้ ของรายได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัท ห้างร้าน อนุญาตให้ลูกจ้างลาไปปฏิบัติงานอาสาสมัคร โดยให้ ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจำนวน 50% ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการอนุญาตให้ลูกจ้างลาไปปฏิบัติงานอาสาสมัคร 

7. ขยายร้อยละของการนำเงินบริจาคไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 10% เป็น 20% และ

8. ลดหย่อนภาษีแก่ผู้เลี้ยงดูคนพิการ กำหนดรายการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมสำหรับบุคคลธรรมดาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูคนพิการคนละ 30,000 บาท โดยคนพิการต้องเป็นผู้ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากมาตรการทั้งหมด 8 ข้อข้างต้น กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ เพียงข้อเดียวคือ ข้อที่ 8 เพราะเห็นว่าการดูแลคนพิการมีภาระและค่าใช้จ่ายจำนวนมาก นอกจากนี้หลักฐาน เช่น บัตรประจำตัวคนพิการ ถือเป็น บัตรที่มีการรองรับจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ กรมสรรพากรจึงเห็นด้วยกับข้อนี้เพียงข้อเดียว

ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ  25 ต.ค.2550 




ข่าว/ เรื่องบอกกล่าว

ร่วมบริจาค ช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม
การล่มสลายของเลแมน บราเดอร์สและเอไอจี
อ่านข่าวเด่น...ของวันนี้
ครม.คลอดแพ็กเกจภาษีชุดใหญ่
มนุษย์เงินเดือนอดลดหย่อนภาษีเพิ่ม
กรมสรรพากร เร่งตรวจสอบและเอาผิดกับผู้ทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือขอคืนภาษีเป็นเท็จ
ความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพ์ ที่ทุกคนควรทราบ
วิกฤตการณ์เงินบาทแข็ง
10 ปีวิกฤติเศรษฐกิจ ตอนเศรษฐกิจไทย จะเกิดวิกฤติรอบ 2 หรือไม่
สรรพากรไล่บี้ภาษีคณะบุคคล
ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เปิดตัวแล้ว
ผงะ! รายได้รัฐปีนี้เหือดแห้ง
ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ