บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ความยินยอมของคู่สมรส
ความยินยอมของคู่สมรส สิ่งใดบ้างที่ถือว่าเป็นสินสมรส กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 บัญญัติ ว่า "สินสมรส" ได้แก่ ทรัพย์สิน 1.ที่คู่สมรสได้มา ระหว่างสมรส 2.ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรม หรือ หนังสือยกให้ระบุว่า เป็นสินสมรส 3. ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ถ้าเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือไม่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส คงจะเข้าใจแล้วนะครับว่าสินสมรสคืออะไร นอกจากนี้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังได้กำหนดวิธีจัดการสินสมรสไว้ในมาตรา 1476 อีกว่า สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนในกรณีที่จะกล่าวต่อไป มิฉะนั้นอาจถูกอีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องร้องต่อศาลให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ในภายหลัง คือ 1. ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ 2. ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพัน ในอสังหาริมทรัพย์ 3. ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี 4. ให้กู้ยืมเงิน 5. ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือ ตามหน้าที่ธรรมจรรยา 6. ประนีประนอมยอมความ 7. มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย 8. นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล การจัดการสินสมรสนอกจากที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง จะเห็นได้ว่า กฎหมายมิได้ปิดทางเสียทีเดียวยังมีกิจการอีกมากมายที่สามีหรือภริยาสามารถ ทำได้โดยลำพังตนเอง เช่น ถ้าเป็นเรื่องการให้เช่า อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เกิน 3 ปี หรือ การไปทำสัญญาค้ำประกัน การเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ธรรมดาที่จำเป็นในโลกยุคปัจจุบัน เช่น เครื่องเสียง ตู้เย็น โทรทัศน์ เป็นต้น แต่ถ้าเกิดกรณีที่ฝ่ายสามีหรือภริยาประพฤติผิดแผกไปจากนี้ล่ะครับ เช่น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปจัดการสินสมรสที่กฎหมายบังคับให้ต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส อีกฝ่ายก่อนโดยไปทำนิติกรรมแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง จึงเห็นได้ว่าเกิดความไม่เป็นธรรมต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ที่มิได้รู้เห็นด้วยที่ต้องมารับกรรมผูกพันรับผิดชอบร่วมกัน กฎหมายจึงได้ให้ทางออกแก่คู่สมรสฝ่ายที่ไม่ได้รู้เห็นด้วย ตาม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 โดยฝ่ายนั้นมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลภายใน1ปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุ แต่มิให้ฟ้องถ้าเกิน10 ปีแล้ว เพื่อให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมที่ตนมิได้รู้เห็นยินยอมนั้นได้ แต่มีข้อยกเว้นที่ห้ามฟ้อง คือ ฝ่ายที่มิได้รู้เห็นได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว คือยอมรับนิติกรรมนั้น หรือถ้าในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมนั้น บุคคลภายนอกได้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
อย่างไรก็ตาม ในเมื่อตกลงร่วมชีวิตกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การจะกระทำสิ่งใดต้องแสดงความจริงใจเปิดเผย ต้องให้คู่สมรสของตนได้ร่วมรับรู้ด้วย จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง บทความโดย : คุณพิทยา ลำยอง ที่มา : http://www.geocities.com/ruammitra |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |