บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ภาษีเงินได้เกี่ยวกับรางวัล
ภาษีเงินได้เกี่ยวกับรางวัล
ขอนำปัญหาภาษีเงินได้เกี่ยวกับเงินรางวัลมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปุจฉา ในการรับพนักงานเข้าทำงานนั้น บริษัทฯ ได้มีข้อกำหนดในการเข้าทำงานกับบริษัทฯ โดยให้พนักงานต้องมีหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร หรือนำเงินสดมาฝากค้ำประกันการทำงานกับบริษัทฯ ตามจำนวนเงินที่บริษัทฯ กำหนด ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า เงินที่พนักงานนำมาค้ำประกัน พนักงานควรจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินประกันดังกล่าว บริษัทฯ จึงได้นำเงินดังกล่าวไปซื้อสลากออมสินหรือสลาก ธ.ก.ส. โดยซื้อในนามของบริษัทฯ และแยกสลากของพนักงานแต่ละคน เมื่อสลากของพนักงานแต่ละคนถูกรางวัล บริษัทฯ ก็จะนำเงินรางวัลนั้นมาจ่ายคืนให้กับพนักงานที่ถูกรางวัลทั้งจำนวน บริษัทฯ จึงขอทราบว่า 1. เงินรางวัลดังกล่าว บริษัทฯ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือไม่ 2. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินรางวัลคืนให้พนักงาน พนักงานที่ได้รับเงินรางวัลจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือไม่ วิสัชนา เกี่ยวกับเรื่องนี้กรมสรรพากรได้มีแนวตอบข้อหารือตามหนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/5713 ลงวันที่ 8 มิ.ย. 2550 ดังนี้ 1. กรณีบริษัทฯ กำหนดให้พนักงานต้องนำหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร หรือเงินสดมาเป็นประกันการเข้าทำงานตามจำนวนที่กำหนด โดยบริษัทฯ ต้องคืนให้พนักงานเมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้าง เงินค้ำประกันดังกล่าวไม่ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการ บริษัทฯ ต้องนำมาบันทึกบัญชีเป็นเจ้าหนี้ แต่เมื่อบริษัทฯ นำเงินค้ำประกันดังกล่าวไปซื้อสลากออมสิน หรือสลาก ธ.ก.ส. ในนามของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสลากดังกล่าว ตามมาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ถูกรางวัลจากสลากดังกล่าว บริษัทฯ ต้องนำรายได้ที่ได้รับไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทฯ ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ มีสิทธินำเงินรางวัลที่จ่ายให้พนักงาน มาถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีบริษัทฯ นำเงินรางวัลที่ได้รับจ่ายให้พนักงาน เงินที่พนักงานได้รับเข้าลักษณะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานต้องนำเงินที่ได้รับไปรวมคำนวณในการยื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากรด้วย ปุจฉา บริษัทฯ เป็นศูนย์การค้า ได้จัดรายการชิงโชคให้แก่ลูกค้าเมื่อซื้อสินค้าจากศูนย์การค้า รางวัลคือบ้านพร้อมที่ดิน 1 หลัง มูลค่า 2,000,000 บาท ศูนย์การค้าจะรับบ้านจากบริษัท A โดยต่างมีผลตอบแทนคือ บริษัท A ให้บ้านพร้อมที่ดินศูนย์การค้าให้พื้นที่โชว์ ขายบ้านเป็นเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนพ.ค. 2540 ถึงมิ.ย. 2541 โดยบริษัทฯ บันทึกบัญชีเป็นรายได้รับล่วงหน้าไว้ ตามมูลค่าบ้านพร้อมที่ดิน เมื่อบริษัท A ใช้พื้นที่จริง ศูนย์การค้าจะออกใบเสร็จรับเงินตามมูลค่าของ พื้นที่โชว์ เช่น ครั้งที่ 1 มูลค่า 200,000 - บาท ศูนย์การค้าจะออกใบเสร็จรับเงิน 200,000 - บาท ต่อมานางสาว ก เป็นผู้ได้รับรางวัลศูนย์การค้าได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่ารางวัลสองล้านบาท และ นำส่งกรมสรรพากร บริษัท A ได้ใช้พื้นที่ศูนย์การค้า 4 ครั้ง เป็นเงิน 800,000 บาท แต่บริษัท A ไม่สามารถโอนบ้านพร้อมที่ดินให้นางสาว ก ได้ เนื่องจากมีปัญหาการเงินกับธนาคาร (NPL) ศูนย์การค้าได้ทำการตกลงกับ นางสาว ก เปลี่ยนของรางวัลเป็นรถยนต์ 1 คัน ศูนย์การค้าได้เจรจาตกลงกับบริษัท B ขอรางวัลรถยนต์ 1 คัน มูลค่า 900,000 บาท โดยมีผลตอบแทนเช่นเดียวกับบริษัท A คือ ให้ใช้พื้นที่โชว์และขายรถจำนวน 6 ครั้งภายใน 6 เดือน มูลค่า 900,000 บาท ศูนย์การค้าหารือว่า ศูนย์การค้าต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กับ นางสาว ก ในอัตราร้อยละ 5 มูลค่า 900,000 บาท อีกครั้งหรือไม่ และในกรณีที่ นางสาว ก ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ครั้งแรก สามารถขอคืนภาษีได้หรือไม่ วิสัชนา เกี่ยวกับเรื่องนี้กรมสรรพากรได้มีแนวตอบข้อหารือตามหนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0811/8385 ลงวันที่ 28 ส.ค. 2544 ว่า การที่ศูนย์การค้าไม่สามารถมอบที่ดินและบ้านให้แก่ลูกค้าตาม ที่ได้จัดรายการชิงโชค เพราะเหตุที่บริษัท A ไม่สามารถส่งมอบที่ดินและบ้านให้ศูนย์การค้า แต่ศูนย์การค้าได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าของที่ดินและบ้านและนำส่งกรมสรรพากรแล้ว ในกรณีดังกล่าว ศูนย์การค้าไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด เนื่องจากการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จะหักเมื่อศูนย์การค้าได้จ่ายรางวัลให้แก่ลูกค้า ดังนั้น นางสาว ก ต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตามเมื่อศูนย์การค้าได้เปลี่ยนมูลค่าของรางวัลเป็นรถยนต์ให้ นางสาว ก แทนที่ดินและบ้านศูนย์การค้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ตามนัยข้อ 9(1) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ลงวันที่ 26 ก.ย. 2528 ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 24 ตุลาคม 2550
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |