บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆจากการส่งเสริมการขาย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆจากการส่งเสริมการขาย
กรมสรรพากรได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.118/2545 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 เพื่อให้การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามข้อ 12/2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เป็นไปโดยถูกต้องครบถ้วน ไขปัญหาภาษีจึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้ ปุจฉา หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายกำหนดไว้อย่างไร วิสัชนา การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขพอสรุปได้ดังนี้ 1.ผู้ขายสินค้าต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น 2.ต้องเป็นเงินอุดหนุน เงินสนับสนุน เงินช่วยเหลือ เงินส่วนลด หรือเงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่ผู้ขายสินค้า ซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้แทนจำหน่าย ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ เช่น ผู้ขายปลีกหรือขายส่งสินค้า หรือผู้แทนจำหน่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะคำนวณจากฐานการซื้อขายหรือคำนวณจากฐานอื่นใด เพื่อให้มีผลต่อการขาย การลดต้นทุน หรือลดรายจ่าย ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย 3.ต้องเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ จากการส่งเสริมการขายที่ผู้ขายสินค้าได้ให้แก่ผู้ซื้อดังกล่าวภายหลังการขาย 4.มูลค่ารางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ จากการส่งเสริมการขายที่อยู่ในข่ายที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องมีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดจากข้อกำหนดที่ตกลงกันเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากสัญญาระยะยาวก็ตาม 5.ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ปุจฉา ขอตัวอย่างการจ่ายรางวัล ส่วนลดจากการส่งเสริมการขายที่เป็นรูปธรรม วิสัชนา กรมสรรพากรได้ยกตัวอย่างการจ่ายรางวัล ส่วนลดจากการส่งเสริมการขายที่อยู่ในข่ายต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้ 1.เพื่อเป็นการส่งเสริมการขายบริษัท ก จำกัด ผู้ขายสินค้าจะแนบคูปองติดกับตัวสินค้าเป็นส่วนลดเงินสด เมื่อลูกค้านำสินค้าพร้อมคูปองมาชำระเงิน บริษัทผู้แทนจำหน่ายจะให้ส่วนลดเงินสดตามราคาคูปองนั้น และได้รับเงินชดเชยส่วนลดเงินสดตามคูปองนั้น คืนจากบริษัทผู้ขาย เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 2.บริษัท ข จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้าอุปโภคบริโภค ได้ขายสินค้าให้แก่บริษัทค้าปลีกที่เป็นร้านค้าสะดวกซื้อ โดยมีข้อตกลงว่าบริษัทร้านค้าสะดวกซื้อ ต้องขายสินค้าของบริษัท ข จำกัด เท่านั้นไม่ สามารถนำสินค้าจากแหล่งอื่นมาขายได้ โดยบริษัท ข จำกัด ต้องจ่ายค่าสิทธิประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า และจ่ายค่าธรรมเนียมสินค้าแรกเข้า (Entrance fee) ให้แก่บริษัทร้านค้าสะดวกซื้อ เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 3.บริษัท ค จำกัด ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าธรรมเนียมธนาคารในการรับรองตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายซื้อจากบริษัท ค จำกัด ให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายทั้งหมด เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 4.บริษัท ง จำกัด ยกเลิกคลังสินค้าทั่วประเทศ และใช้สำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับบริษัทผู้แทนจำหน่าย เป็นผลให้บริษัทผู้แทนจำหน่ายจะต้องจ่ายค่าโทรศัพท์เพิ่มขึ้น บริษัท ง จำกัด จึงจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าโทรศัพท์ ในส่วนที่เกินจากค่าโทรศัพท์ในเขตพื้นที่เดียวกัน ให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 5.บริษัท จ จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยส่งสินค้าถึงบริษัทผู้แทนจำหน่าย ต่อมามีข้อตกลงว่า หากบริษัทผู้แทนจำหน่ายขนสินค้าที่ซื้อด้วยตนเอง บริษัท จ จำกัด จะจ่ายเงินช่วยเหลือค่าขนส่ง หรือจะลดราคาสินค้าให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 6.บริษัท ฉ จำกัด ประกอบกิจการขายกระเบื้องและเครื่องสุขภัณฑ์ จ่ายเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้างให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย ที่นำสินค้าที่ซื้อไปจัดแสดงหรือติดตั้งให้เห็นสภาพการใช้งานจริง เช่น ปูกระเบื้อง และติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์เพื่อจัดแสดงเป็นห้องน้ำเงินดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 7.บริษัท ช จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้า ได้จ่ายเงินช่วยเหลือค่าเดินทางและค่าที่พักให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายที่เข้าร่วมสัมมนา เพื่อแนะนำสินค้าใหม่หรือเพิ่มความรู้ความเข้าใจในสินค้าของบริษัท โดยมิได้เรียกเก็บค่าสัมมนาจากบริษัทผู้แทนจำหน่าย เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 8.บริษัท ซ จำกัด ประกอบกิจการขายยางรถยนต์ จ่ายส่วนลดภายหลัง (Rebate) ขายได้ตามเป้าที่กำหนด ให้บริษัทผู้แทนจำหน่าย โดยจ่ายในลักษณะเป็นใบลดหนี้ (Credit Note) เพื่อให้บริษัทผู้แทนจำหน่ายนำมาชำระหนี้ค่าซื้อยางรถยนต์ในคราวต่อไป เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 9.บริษัท ฌ จำกัด เป็นผู้นำเข้ายาจากต่างประเทศ ตกลงให้ส่วนลดแก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายในอัตรา 35% ของราคาสินค้า ให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย โดยรวบรวมยอดส่วนลดในแต่ละเดือนตามใบแจ้ง หนี้ เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 10.บริษัท ญ จำกัด ประกอบกิจการขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จ่ายเงินค่าอุดหนุน (Subsidize) มูลค่า 500 บาท ต่อ 1 เครื่อง ให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายที่สามารถขายสินค้ารุ่นเก่าออกจากสต็อกได้ เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เรื่อง : สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
|
จ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชี หรือทำบัญชีเองดี นักบัญชี กับความนิยมเรียน "เอ็มบีเอ" ลดภาระ เพิ่มประสิทธิภาพงาน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี กรมสรรพากรเตือน ขอให้ผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน ทันสมัยในงานบัญชี !!! ทัศนคติของ SMEs ที่มีต่อสำนักงานบัญชี ปัญหาและทางออก กรณีนักบัญชี เปลี่ยนงานบ่อย นักบัญชีมืออาชีพ (Professional Accountant) การตรวจสอบและรับรองบัญชี รายรับ-รายจ่าย ของธุรกิจ ต้องผ่านธนาคาร สถานะทางการเงิน 10 ประการของธุรกิจ ทำไมต้องรู้เรื่องบัญชี ทำบัญชีรับจ่ายช่วยให้ครอบครัวเป็นสุข สัญญาณเตือนภัยในงบการเงิน Tax Knowledge : ขายสินค้าต่ำกว่าทุน ข้อมูลบัญชีจำเป็นต่อเจ้าของกิจการอย่างไร นักบัญชี..เพื่อนซี้..ยันป้าย อาชีพอิสระนักบัญชี มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน รายจ่ายในการดำเนินกิจการ การวางแผนภาษี เงินประกันและเงินมัดจำ สำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้าง เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ สภาวิชาชีพบัญชีค้านกฎหมายหุ้น ให้ผู้สอบบัญชีจับผิดผู้บริหารขี้โกง ดันมาตรฐานบัญชีไทยเทียบสากล สร้างหน้าตาตลาดทุนไทยไม่ขี้เหร่ อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี มาเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันเถอะ หลักการของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 การเรียนสาขาบัญชีในไทยเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด |