ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี

 

 

                                                                  จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี  

 

 คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ท.ป. 123/2545

เรื่อง    กำหนดจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร

                                       ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 และข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการ ตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรจึงกำหนดจรรยาบรรณของ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ดังต่อไปนี้ 
 
    ข้อ 1 ให้ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.99/2544 เรื่อง กำหนดมรรยาท การปฏิบัติงาน การรายงาน และบทลงโทษสำหรับผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 
 
    ข้อ 2 จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี 

        2.1 ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต 

          2.1.1 ไม่รับตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่ตนขาดความเป็นอิสระ 
          2.1.2 ไม่รับตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่ตนขาดความเป็นกลางโดยมีผลประโยชน์หรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้น หรือโดยมีเหตุอื่นที่อาจจะก่อให้เกิดความลำเอียงและส่งผลให้มีการละเว้นการเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริง 
          2.1.3 ปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีด้วยความเที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต 
          2.1.4 ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงินที่ตนลงลายมือชื่อรับรองไว้ในรายงาน ซึ่งอาจทำให้เกิดการหลงผิดและอาจเสียหายแก่ กิจการที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีนั้น หรือแก่กรมสรรพากร หรือแก่บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง 
          2.1.5 ไม่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย ออก หรือใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 
          2.1.6 ไม่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงบัญชีหรือการทำเอกสารประกอบการลงบัญชี ซึ่งเป็นเหตุให้กิจการที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีนั้นมิต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลงกว่าที่ควรเสีย 
          2.1.7 ไม่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของกิจการใด ซึ่งมีเหตุผลเชื่อได้ว่ามีข้อมูลที่ผิดหรือบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงและมีการละเว้นหรือปิดบังข้อมูลที่จำเป็นต้องยื่นต่อกรมสรรพากร 
          2.1.8 ไม่รับรองบัญชีที่ตนเป็นผู้จัดทำขึ้นเอง หรือช่วยเหลือ หรือเป็น ผู้จัดทำบัญชีชุดอื่นขึ้น เพื่อเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร 

        2.2 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน 

          2.2.1 ต้องปฏิบัติงานด้วยความรู้ความสามารถของวิชาชีพ 
          2.2.2 ไม่ตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติงานได้ และไม่ทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกินกว่า 300 รายต่อปี 
          2.2.3 ไม่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานของกิจการที่ตนมิได้ปฏิบัติงานตรวจสอบหรือควบคุมการปฏิบัติงานตรวจสอบ 
          2.2.4 สอดส่องใช้ความรู้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไป 
          2.2.5 ไม่ยินยอมให้ผู้อื่นอ้างว่าตนเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีใน กิจการใดโดยตนมิได้ปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี 

        2.3 จรรยาบรรณต่อผู้เสียภาษี 

          2.3.1 ไม่เปิดเผยความลับกิจการของผู้เสียภาษีหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องโดยนำออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือให้ทราบโดยวิธีใดสำหรับกิจการที่ตนได้รู้มาในหน้าที่จากการตรวจสอบและรับรองบัญชีอันเป็นเหตุให้กิจการนั้นได้รับความเสียหาย เว้นแต่การกระทำนั้นเป็นการกระทำตามหน้าที่ทางวิชาชีพหรือตามกฎหมาย 
          2.3.2 ไม่ละทิ้งการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีที่รับไว้แล้วโดยไม่มีเหตุอันสมควร 

        2.4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมอาชีพ 

          2.4.1 ไม่แย่งงานตรวจสอบและรับรองบัญชีจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอื่น 
          2.4.2 ไม่ทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกินกว่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้มอบหมายนั้น 

        2.5 จรรยาบรรณทั่วไป 

         2.5.1 ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายอื่น 
         2.5.2 ไม่โฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยประการใด ๆ ซึ่งการประกอบวิชาชีพอันแสดงให้เห็นว่าจะช่วยเหลือให้เสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริง 
         2.5.3 ไม่ให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ เพื่อเป็นการ จูงใจให้บุคคลอื่นแนะนำหรือจัดหางานตรวจสอบและรับรองบัญชีมาให้ตนทำ 
         2.5.4 ไม่เรียกหรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์จากบุคคลใดในเมื่อบุคคลนั้นได้รับงานเพราะการแนะนำหรือการจัดหางานของตน 
         2.5.5 ไม่กำหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนโดยถือเอาอัตราสูงต่ำตามยอดเงินหรือของมูลค่าทรัพย์สินใดที่ตนตรวจสอบและรับรองบัญชี หรือมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเป็นเกณฑ์ 
 
    ข้อ 3  คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคำสั่งนี้เป็นต้นไป 

                                                                
สั่ง ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545

 
 
                                ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล 
                              (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล) 
                                อธิบดีกรมสรรพากร

 




รวมบทความบัญชี

จ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชี หรือทำบัญชีเองดี
นักบัญชี กับความนิยมเรียน "เอ็มบีเอ"
ลดภาระ เพิ่มประสิทธิภาพงาน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี
กรมสรรพากรเตือน ขอให้ผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
ทันสมัยในงานบัญชี !!!
ทัศนคติของ SMEs ที่มีต่อสำนักงานบัญชี
ปัญหาและทางออก กรณีนักบัญชี เปลี่ยนงานบ่อย
นักบัญชีมืออาชีพ (Professional Accountant)
การตรวจสอบและรับรองบัญชี
รายรับ-รายจ่าย ของธุรกิจ ต้องผ่านธนาคาร
สถานะทางการเงิน 10 ประการของธุรกิจ
ทำไมต้องรู้เรื่องบัญชี
ทำบัญชีรับจ่ายช่วยให้ครอบครัวเป็นสุข
สัญญาณเตือนภัยในงบการเงิน
Tax Knowledge : ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ข้อมูลบัญชีจำเป็นต่อเจ้าของกิจการอย่างไร
นักบัญชี..เพื่อนซี้..ยันป้าย
อาชีพอิสระนักบัญชี
มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย
รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน
รายจ่ายในการดำเนินกิจการ
การวางแผนภาษี เงินประกันและเงินมัดจำ สำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้าง
เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
สภาวิชาชีพบัญชีค้านกฎหมายหุ้น ให้ผู้สอบบัญชีจับผิดผู้บริหารขี้โกง
ดันมาตรฐานบัญชีไทยเทียบสากล สร้างหน้าตาตลาดทุนไทยไม่ขี้เหร่
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆจากการส่งเสริมการขาย
มาเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันเถอะ article
หลักการของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 article
การเรียนสาขาบัญชีในไทยเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด article