ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



โรคปวดศีรษะจากความเครียด

 

                          โรคปวดศีรษะจากความเครียด

 

               


เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ มักจะมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องนานเป็นวันๆ จนถึงเป็นสัปดาห์ หรือเป็นแรมเดือน โดยจะปวดพอรำคาญ หรือทำให้รู้สึกไม่สุขสบาย และจะปวดอย่างคงที่ ไม่แรงขึ้นกว่าวันแรกๆ ที่ปวด จัดว่าเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่จะเป็นๆ หาย ๆ เรื้อรัง


ชื่อภาษาไทย โรคปวดศีรษะจากความเครียด โรคปวดศีรษะแบบตึงเครียด


ชื่อภาษาอังกฤษ Tension-type headache (TTH), Tension headache, Muscle contraction headache, Psychogenic headache


สาเหตุ

อาการปวดศีรษะของผู้ป่วยโรคนี้เป็นผลมาจากมีการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและใบหน้าซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุและกลไกของการเกิดโรคอย่างแน่ชัด สันนิษฐานว่าเกิดจากมีสิ่งเร้ากระตุ้นที่กล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณรอบกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทขึ้นตรงประสาทส่วนกลาง (อาจเป็นบางส่วนของไขสันหลัง หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ที่เลี้ยงบริเวณศีรษะและใบหน้า) แล้วส่งผลกลับมาที่กล้ามเนื้อรอบกะโหลกศีรษะ ทำให้เกิดการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อดังกล่าว รวมทั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี (เช่น เอนดอร์ฟินซีโรโทนิน) ในเนื้อเยื่อดังกล่าว ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ


ส่วนใหญ่ มักพบว่ามีสาเหตุกระตุ้น ได้แก่ ความเครียด หิวข้าวหรือกินข้าวผิดเวลา อดนอน ตาล้าตาเพลีย(จากใช้สายตามากเกินไป)


นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีโรควิตกกังวลซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์ หรือการปรับตัว บางครั้งอาจพบร่วมกับโรคปวดศีรษะไมเกรน


อาการ

ลักษณะเฉพาะของโรคนี้คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตื้อๆ หนักๆ ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะ หรือท้ายทอยทั้ง 2 ข้าง หรือทั่วศีรษะ หรือปวดรอบศีรษะคล้ายเข็มขัดรัด ต่อเนื่องกันนานครั้งละ 30 นาทีถึง 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มักจะปวดนานเกิน 24 ชั่วโมง บางคนอาจปวดนานติดต่อกันทุกวันเป็นสัปดาห์ๆ หรือเป็นแรมเดือนโดยที่อาการปวดจะเป็นอย่างคงที่ ไม่ปวดรุนแรงขึ้นจากวันแรกๆ ที่เริ่มเป็น ส่วนมากจะเป็นการปวดตื้อๆ หนักๆ พอรำคาญหรือรู้สึกไม่สุขสบาย ส่วนมากที่อาจปวดรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวัน


ผู้ป่วยจะไม่มีไข้ ไม่เป็นหวัด ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือตาพร่าตาลาย และไม่ปวดมากขึ้นเมื่อถูกแสง เสียง กลิ่น หรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย


อาการปวดศีรษะอาจเริ่มเป็นตั้งแต่หลังตื่นนอนหรือในช่วงเช้าๆ บางคนอาจเริ่มปวดตอนบ่ายๆ เย็นๆ หรือหลังจากได้คร่ำเคร่งกับงานมากหรือขณะหิวข้าว หรือมีเรื่องคิดมาก วิตกกังวล มีอารมณ์ซึมเศร้าหรือนอนไม่หลับ


การแยกโรค


อาการปวดศีรษะที่เป็นต่อเนื่องกันเป็นวันๆ ขึ้นไปควรแยกออกจากสาเหตุอื่น เช่น


1. ไมเกรน

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตุบๆ ที่ขมับข้างเดียว (ส่วนน้อยเป็นพร้อมกัน 2 ข้าง) คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า นาน 4-72 ชั่วโมง มันจะเป็นๆ หายๆ ทุกครั้งที่มีอาการกำเริบ มักจะเกิดจากสิ่งกระตุ้น เช่น แสง เสียง กลิ่น อดนอน อดข้าว อากาศร้อนหรือเย็นจัด อาหารบางชนิด เหล้า ผงชูรส โดยมากจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะจากความเครียดร่วมด้วย


2. เนื้องอกสมอง

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดทั่วศีรษะ ปวดมากเวลาตื่นนอนตอนเช้า พอสายๆ ก็ทุเลาไป ไม่ปวดต่อเนื่องทั้งวันอาการดังกล่าว จะเป็นแรงขึ้นทุกวันจนผู้ป่วยต้องสะดุ้ง ตื่นตอนเช้ามืดเพราะรู้สึกปวด และจะปวดนานขึ้นทุกวันจนในที่สุดจะปวดตลอดเวลา ซึ่งกินยาแก้ปวดไม่ทุเลา ในระยะต่อมาอาจมีอาการอาเจียน เดินเซ เห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง ชัก ความจำเสื่อม บุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากเดิม


3.โรคทางสมองอื่นๆ

เช่น เลือดออกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงและอาเจียน ตั้งแต่วันแรกๆ ที่ปวด บางคนอาจมีไข้สูง ซึม ชัก ร่วมด้วย


4.ต้อหินชนิดเฉียบพลัน

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตาและศีรษะข้างเดียวอย่างรุนแรงและฉับพลันทันที ตาพร่ามัว แสบตาข้างที่ปวดจะมีสิ่งรบกวน ตาแดงๆ ตรงบริเวณตาขาว (รอบๆ ตาดำ) อาการปวดจะเป็นต่อเนื่องเป็นวันๆ ซึ่งกินยาแก้ปวดก็ไม่ทุเลา


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้จากลักษณะอาการ และประวัติเกี่ยวกับความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ การคร่ำเคร่งกับงาน


นอกจากมีอาการไม่ชัดเจนและสงสัยเป็นโรคเกี่ยวกับสมอง จึงจะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์


ผู้ป่วยและญาติจึงควรบอกเล่าประวัติ และอาการเจ็บป่วยอย่างละเอียด เช่น ปัญหาครอบครัว (สามีมีภรรยาน้อย เล่นการพนัน การทะเลาะกัน) ปัญหาการงาน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้องและไม่หลงไปส่งตรวจพิเศษให้สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น


การดูแลตนเอง

เมื่อมีอาการปวดศีรษะเพียงเล็กน้อย ควรกินยาพาราเซตามอลบรรเทา 1-2 เม็ด นั่งพักนอนพัก ใช้นิ้วบีบนวด

ควรไปปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้


• มีอาการปวดรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง

• มีอาการปวดมากตอนเช้ามืด จนสะดุ้งตื่น หรือปวดแรงขึ้นและนานขึ้นทุกวัน

• มีอาการเดินเซ แขนขาอ่อนแรง หรือชักกระตุก

• มีอาการตาพร่ามัว และตาแดงร่วมด้วย

• มีอาการปวดศีรษะหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ

• ดูแลตนเอง 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น

• มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะรักษาตนเอง

การรักษา

แพทย์จะให้การรักษาโดยให้ยาบรรเทาปวดร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อหรือยากล่อมประสาท


ถ้าพบว่ามีโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้าร่วมด้วย ก็จะให้การรักษาภาวะเหล่านี้ไปพร้อมกัน และอาจให้การรักษาด้วยวิธีอื่นร่วมไปด้วย เช่น กายภาพบำบัด เทคนิคการผ่อนคลาย การทำจิตบำบัด การกระตุ้นประสาทด้วยไฟฟ้า การฝังเข็ม เป็นต้น


ในรายที่มีอาการกำเริบมากกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้งและแต่ละครั้งปวดนานมากกว่า 3-4 ชั่วโมง หรือปวดรุนแรง หรือต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยมาก แพทย์อาจให้ผู้ป่วยกินยาป้องกัน เช่น อะมิทริปไทลีน หรือฟลูออกซีทีนทุกวันติดต่อกันนาน 1-3 เดือน


ภาวะแทรกซ้อน

โรคนี้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงแต่อย่างใด นอกจากทำให้วิตกกังวล ไม่สุขสบาย และอาจสิ้นเปลืองเงินทองและเวลาในการแสวงหาบริการ ซึ่งผู้ป่วยและญาติมักคิดว่าเป็นโรคร้ายแรง จึงย้ายโรงพยาบาลที่รักษาไปเรื่อยๆ


การดำเนินโรค

อาการปวดแต่ละครั้งจะเป็นนานเป็นชั่วโมงๆ จนเป็นสัปดาห์ หรือแรมเดือน เมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มักจะทุเลาไปได้ แต่เมื่อขาดการรักษา และมีสิ่งกระตุ้นก็อาจกำเริบได้อีก จึงมักจะเป็นๆ หายๆ ได้บ่อย


การป้องกัน

ผู้ป่วยควรป้องกันไม่ให้กำเริบโดยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่าปล่อยให้หิว อย่าคร่ำเคร่งกับงานมากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้สายตาจนเมื่อยล้า ออกกำลังเป็นประจำ หาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่างๆ ถ้าจำเป็นควรกินยาป้องกันตามที่แพทย์แนะนำ


ความชุก

โรคนี้พบได้บ่อย คือประมาณร้อยละ 80-90 ของผู้ที่ปวดศีรษะจะมีสาเหตุจากโรคนี้


พบได้ในคนทุกวัย เริ่มเป็นครั้งแรกตั้งแต่วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว (มีโอกาสน้อยมาก ที่จะมีอาการครั้งแรกหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว) และพบมีอาการกำเริบบ่อยในช่วงอายุ 20-50 ปี


พบว่าผู้หญิงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายประมาณ 1.5-2 เท่า

 

โดย : นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ข้อมูลจาก นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 28 ฉบับที่ 336 เมษายน 2550

ที่มา : กรมสุขภาพจิต 




รวมบทความสาระน่ารู้

7 เหตุผลที่คุณ(อาจจะ)ไม่ต้องมีสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่
จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก
สุดยอด Super Car ที่ใครๆ อยากได้
สาเหตุที่ทำให้คนไม่รู้สึกว่าจะต้องซื้อแท็บเล็ตอีกต่อไปแล้ว
ไทยจะมี ตึกสูงติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก
'อีโบลา' โรคระบาดแห่งศตวรรษที่ 21
โรคซึมเศร้า...ภัยร้ายใกล้ตัว
เรียนเป็น 10 ปี ทำไมถึงพูดภาษาอังกฤษให้ดีไม่ได้
ปวดหัวไมเกรน...สาเหตุ และวิธีการรักษาทำได้อย่างไรบ้าง
ดินแดนเหมือนฝันที่ต้องไปสักครั้งก่อนตาย
ของขวัญนั้นสำคัญไฉน
สารคดี ประสาทเขาพระวิหาร
วิธีดาวน์โหลดคลิปจาก Youtube ความละเอียด 1080 p ฟรี
รวมคลิป 10 ปีใน 4 นาที บินชมทิวทัศน์ดาวอังคาร
โจร E- Banking
แรงบันดาลใจ พลังแห่งการสร้างสรรค์ - สตีฟ จ็อบส์
วิธียื่นขอกู้เงินซื้อบ้านให้ 'ผ่าน'
มหาตมะ คานธี ( Mahatama Gandhi ) มหาบุรุษผู้สร้างแรงบันดาลใจให้นักต่อสู้ทั่วโลก
ภัย ! Internet Banking สวมรอยแล้วโอนเงิน
กูเกิลเปิดตัว 'Chromecast' เปลี่ยนทีวีบ้านๆ ให้เป็นสมาร์ททีวี ในราคา 1,000 กว่าบาท
HIV ตรวจพบควบคุมได้
แรงบันดาลใจจากคนรักสัตว์
ฟอร์บส์จัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ปี 56 - 'เจ้าสัวซีพี' ซิวที่ 1
ประเทศเมียนมาร์ ความเปลี่ยนแปลงหลังเปิดประเทศ
รู้ทันสัญญาณอันตราย! “หลอดเลือดสมองอุดตัน” ศึกษาวิธีป้องกันก่อนสาย
แอปเปิลเปิดตัว iOS 7 เปลี่ยนโฉม iOS ครั้งใหญ่ที่สุด
แอปเปิลเตรียมผลิต 'ไอโฟน' จอใหญ่ขึ้น-มีหลายสี
มือถือ แท็บแล็ต ค่าย Android ดีหรือไม่ดีอย่างไร มาฟังกูรูวิจารณ์
รวมเรื่องราวเปิดโลกวันหยุดต่างๆ รอบโลก
รถไฟความเร็วสูง ก้าวสู่ระบบการเดินทางสายหลักแห่งอนาคต
ข้อควรรู้ เพื่อห่างไกลจากแฮกเกอร์
Malaysia - รู้จักมาเลเซียในหลากหลายแง่มุม
จัดอันดับงานที่ดีและแย่ที่สุดในสหรัฐฯประจำปี 2556
สายด่วนช่วยเหลือสังคม ศูนย์ช่วยเหลือสังคม เพื่อให้การช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการ
รับอาสาสมัครบุกเบิกไป 'ดาวอังคาร' แต่ไปแล้วไม่ได้กลับมา
Titanic - รำลึกครบรอบ 101 ปี เรือไททานิกล่ม
Sakura Festival เทศกาลชมดอกซากุระประจำปีของญี่ปุ่น
South Africa กว่า 20 ปีของการสิ้นสุดลัทธิเหยียดผิว
อุบัติเหตุแบบไทยๆ
โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ผู้นำสหภาพโซเวียตผู้ยิ่งใหญ่
Oscars สุดยอดรางวัลเกียรติยศของนักแสดงและผู้ผลิตภาพยนตร์
บัณฑิตครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ล้นตลาดแล้ว
ย้อนรอยเหตุการณ์สำคัญปี 2012
สุดยอดนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2555
อาชีพนักศึกษาจบใหม่ที่ได้เงินเดือนสูงสุด-ต่ำสุด
รีวิว iPad Mini
เปิดเส้นทางสู่ทำเนียบขาว
ระวัง ! ใช้ Wi-Fi ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ อาจเสี่ยงโดน Hack ข้อมูล
เรื่องราว ประวัติ แง่มุม ที่น่าสนใจของ Bill Gates เจ้าพ่อ Microsoft
จะเกิดอะไรกับ มือถือและแท็บเล็ต เมื่อ "3 G" ฉลุยใช้งาน
กินเจ - วัฒนธรรมการกินมังสวิรัติแบบต่างๆ
'เติ้งเสี่ยวผิง' บิดาแห่งประเทศจีนยุคใหม่
วิถีชีวิต ชาวนิวยอร์ก
ชายหาดที่สวยที่สุดในโลก
บัตรประจำตัวประชาชน บัตรคู่กายคนไทย มีความสำคัญอย่างไร
ย้อนอดีตสงครามมหาเอเซียบูรพา
"ด้านมืดสังคมออนไลน์" ใส่ร้าย อาชญากรรม ฉ้อโกง
หลากหลายเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Google Search
ธุรกิจผลิต Application
'นาซา' เดินหน้าแกะรอยสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
บัณฑิตปริญญาตรี ตกงาน 1 ใน 3
100 เคล็ดลับน่ารู้คู่บ้าน
กำเนิดกีฬาโอลิมปิก
วีดีโอ...ประวัติศาสตร์อเมริกา
คลิปวีดีโอแกะกล่อง แท็บเล็ต ป.1 มีหน้าตาเป็นอย่างไร
ประวัติรถไฟโดยสารของโลก
แนวโน้มอาชีพอินเทรนด์ ปี 2555
"ฮีทสโตรก" ภัยร้าย หน้าร้อน
เชื่อหรือไม่ เมืองไทยคนจนลดลง
นิตยสารฟอร์บส์จัดอันดับประเทศที่รวยที่สุดในโลก
ประเทศไทยจะมีช่องฟรีทีวีระบบดิจิตอล 50 ช่อง
ทิศทางเศรษฐกิจไทยหลังน้ำท่วม
เรือนจำที่ดีที่สุดในโลกที่นอร์เวย์
Doctor Me หมอประจำบ้าน เว็บไซต์ที่จะให้ทุกคนสามารถดูแลสุขภาพในช่วงน้ำท่วมได้ด้วยตัวเอง
5 อันดับที่พักพิงชั่วคราวสุดเจ๋ง
คลิปวีดีโอ ภาพถ่ายล่าสุดของโลกจากสถานีอวกาศนานาชาติ
รู้ สู้ ! Flood - วีดีโอ Infographic สร้างสรรค์ ที่เข้าใจง่าย ให้ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นเรื่องน้ำท่วมที่ประชาชนควรรู้
ชีวิตที่ยังจมน้ำของชาวบ้านบางบัวทอง
หนังแอ็คชั่นที่ดีที่สุดของชาวอเมริกัน
เปิดข้อเสนอระยะสั้น-กลาง- ยาว แก้ปัญหาน้ำท่วม
รวบรวมเรื่องของน้ำท่วม - การจัดการน้ำ - หลากหลายความเชื่อเรื่องน้ำท่วมโลก
คำแนะนำสำหรับผู้ใช้รถยนต์ช่วงน้ำท่วม
วางกระสอบทรายป้องกันน้ำท่วมให้ถูกวิธี
10 ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
การจากไปของ " STEVE JOBS"
เสี่ยงหรือไม่ ลงทุนในทองคำ
มหาวิทยาลัยของไทย จุฬาฯ - มหิดล ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
เจาะลึกความเป็น Apple ในมุมมองที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
19 ปี วัดพระบาทน้ำพุ ภาพสะท้อนสถานการณ์โรคเอดส์ในไทย
เริ่มลดการคุ้มครองเงินฝากแล้ว
แนะนำ App Android ที่น่าสนใจ ( หน้า 2 )
แนะนำ App ในมือถือ Android ที่น่าสนใจ
กฎหมายต้านทารุณสัตว์ ฉบับแรกของไทย
รถยนต์ควบคุมด้วยความคิดคันแรกของโลก
เปิดผลงานวิจัยสำรวจการเกิดสึนามิในประเทศไทย
124 ปี เชษฐบุรุษประชาธิปไตย “พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา”
'มีอะไรบ้างใน iPad2'
ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์อากาศในประเทศไทย ยังแปรแปรวนต่อจนถึงเดือนพฤษภาคม 2554
คนญี่ปุ่นกับเหตุุการณ์ธรณีพิบัติและสึนามิ