บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ไอเอ็มเอฟ ความหมายและบทบาทในไทย
ไอเอ็มเอฟ ความหมายและบทบาทในไทย
IMF ย่อมาจากอะไร หมายความว่าอะไร เริ่มมีบทบาทกับประเทศไทยเมื่อไร อย่างไร
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งไอเอ็มเอฟคือ จัดการและควบคุมระบบการเงินของโลก และช่วยเหลือประเทศที่เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ โดยไอเอ็มเอฟจะประสานการทำงานกับกระทรวงการคลัง และแบงก์ชาติของแต่ละประเทศ ซึ่งขณะนี้ไอเอ็มเอฟมีสมาชิกกว่า 181 ประเทศ มีเงินทุนพื้นฐาน 2 แสนล้านดอลลาร์ ไอเอ็มเอฟให้เงินกู้ครั้งแรกแก่ประเทศอังกฤษในปี 2499 ส่วนประเทศไทยขอกู้เงินจากไอเอ็มเอฟครั้งแรกเมื่อปี 2527 สมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี วงเงิน 300 ล้านดอลลาร์ เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ มาครั้งล่าสุดนี้ ในปี 2540 ไทย โดยรัฐบาลสมัยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกฯ ขอกู้เงินจากไอเอ็มเอฟภายใต้โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สูงถึง 17,000 ล้านดอลลาร์ มากกว่าเมื่อครั้ง 2527 ถึง 57 เท่า เงื่อนไขที่ไทยต้องปฏิบัติตามกรอบการฟื้นฟูของไอเอ็มเอฟในครั้งนี้ก็คือ ต้องรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2540-2541 ที่ระดับ 2.5-3.5 รักษาระดับเงินเฟ้อที่ระดับร้อยละ 7-8 รักษาเงินทุนสำรองในประเทศไว้ที่ 23,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2540 และ 24,500 ล้าน ในปี 2541 ฯลฯ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เข้มงวดมาก ถ้าเราทำไม่ได้ก็จะไม่ได้รับเงินกู้ ดังนั้นคนในประเทศจะต้องช่วยกันมากๆ ไม่ใช่เลิกซื้อของ แต่ต้องเลือกซื้อของที่ผลิตในไทย ไม่ฟุ้งเฟ้อ
ที่มา : รู้ไปหมด โดย น้าชาติ ประชาชี่น http://203.151.206.93/youth/youth.php |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |