ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้

 

                                                                  ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้  

                                                                       

 

   ความไม่รู้ทั้งหลายในที่นี้ อาจเป็นความไม่รู้กฎหมายหรือไม่รู้ข้อเท็จจริง แต่ถ้าเกิดกรณีว่า ถ้ามีคนตายและเป็นญาติของเขาซึ่งเขาไม่ทราบว่าเขามีอำนาจอย่างไรบ้างในทรัพย์สมบัติผู้ตาย  ดังนี้ เรียกว่าเป็นความไม่รู้ข้อกฎหมาย ซึ่งไม่เป็นข้อแก้ตัวได้เลย โดยมีเหตุผลว่าหากยอมให้มีการแก้ตัวได้แล้ว เมื่อมีคดีขึ้นในศาลก็จำเป็นจะต้องสืบถึงความรู้และไม่รู้ในข้อกฎหมาย ทางปฏิบัตินั้นการสืบให้สิ้นสงสัยเพื่อให้เชื่อทางใดไม่ได้แน่ชัดนัก กับทั้งจะต้องสืบถึงข้อที่เขาควรได้ทราบ หรือสถิติแห่งคนนั้น การพิจารณาคดีเรื่องหนึ่งจะยาวนานเกินสมควรเป็นการยุ่งยากแก่การพิจารณาคดี กฎหมายจึงวางหลักไม่ยอมให้สืบถึงข้อไม่รู้กฎหมายเสียทีเดียว

   ในเชิงอรรถท้ายคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๙/๑๒๙ มีคำอธิบายเกี่ยวกับในข้อนี้เป็นหลักว่า “... ในเรื่องเข้าใจผิดนั้นมีว่า จะยกการเข้าใจกฎหมายผิดมาแก้ตัวไม่ได้ ด้วยเหตุว่า ถ้ายอมให้แก้ตัวได้ด้วยข้อนี้แล้ว ผู้ทำผิดทุกคนคงร้องว่า ตนเข้าใจกฎหมายผิดไป หลุดโทษได้ทุกคนกฎหมายเป็นอันไม่ต้องมีกัน ต่างคนต่างทำอะไรได้ตามชอบใจ... จะยกการเข้าใจกฎหมายผิดมาแก้ตัวไม่ได้เป็นสุภาษิตกฎหมายโรมันมาแล้ว”

    อย่างไรก็ตาม มีกรณีที่หากไม่ยอมรับฟังความไม่รู้กฎหมายแล้ว ก็อาจจะเป็นการไม่ยุติธรรมจนเกินไป มาตรา ๖๔ แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงยอมให้มีการแก้ตัวได้บ้าง เมื่อพิจารณา สภาพแห่งความผิด หมายความว่า กรณีที่เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม (mala prohibita) มิใช่ความผิดในตัวเอง (mala in se) พฤติการณ์ หมายถึง กรณีเฉพาะตัวผู้กระทำความผิด เช่น คนต่างด้าวเพิ่งเดินทางเข้ามาในประเทศ ผู้ที่อยู่ห่างไกลมากไม่สามารถทราบถึงกฎหมายที่ประกาศใช้ใหม่ เมื่อพิจารณาถึงสภาพความผิดและพฤติการณ์แล้ว ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐาน และเมื่อมีการแสดงพยานหลักฐานแล้ว ถ้าศาลเชื่อความไม่รู้กฎหมายศาลอาจลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดก็ได้ หรือไม่ลดโทษก็ได้ แต่ศาลจะไม่ลงโทษเลยไม่ได้

โดย : เกียรติขจร  วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ๑  ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา




รวมบทความกฎหมายน่ารู้

การทวงหนี้
กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่
ไม้ตายจัดการเจ้าหนี้นอกระบบ
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์
ลิขสิทธิ์ Copyright Law
หมิ่นประมาท เหยียดหยาม
กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายแรงงาน
มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย
หมิ่นประมาท
กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้
ทำอย่างไร..เมื่อได้รับ "หมายศาล"
ความยินยอมของคู่สมรส
เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร
ผู้ต้องหามีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน
อายุความบัตรเครดิต 2 ปี หมายความว่าอย่างไร
เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 2)
หลักประกันตัวในคดีอาญา
ผู้ให้และผู้รับ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 1)
ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง