ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร

 

 

                                                         กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร

 

นับตั้งแต่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา เกิดประโยชน์จากความคุ้มครองตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติดังกล่าวพอสมควร ในการที่จะได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนจากความเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ หรือแม้แต่การสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ ระยะเวลาผ่านมาสิบปีเศษ ทางราชการได้มีการปรับปรุงเงื่อนไขและจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ให้มีอัตราที่สูงขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจปัจจุบัน เช่น กรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2546 สำหรับกรณีเสียชีวิต , กรณีเสียชีวิตภายหลังจากการรักษาพยาบาล , กรณีสุญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ ก็ได้มีการปรับแก้จำนวนเงินที่ชดใช้ใหม่

               

แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้ประสบภัยอีกหลายคนที่มิได้รับการชดใช้ หรือไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันหรือเจ้าของรถได้ เช่น กรณีชนแล้วหนี แต่ผู้ประสบภัยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี เนื่องจากไม่ทราบว่าตนสามารถเรียกร้องเอาจาก "กองทุนทดแทนประสบภัยจากรถ" ได้ ซึ่งกองทุนนี้ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แต่ก่อนที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถและการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ เรามาทบทวนสาระหลักๆ ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กันก่อน

ค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น กรณีบาดเจ็บเป็นค่ารักษาพยาบาล ในกรณีเสียชีวิตเป็นค่าปลงศพ โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย / ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอ โดยมีจำนวนเงิน ดังนี้

กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้จำนวน 35,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ
กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าปลงศพจำนวน 35,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) รวมๆแล้วจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท

ค่าเสียหายส่วนเกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นค่าเสียหายที่บริษัทจะชดใช้ให้ภายหลังจากที่มีการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้ว โดยบริษัทที่รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายผิด ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย / ทายาทผู้ประสบภัย เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัย / ทายาทได้รับแล้ว เป็นดังนี้

กรณีบาดเจ็บ เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ตามความเป็นจริง ไม่เกิน 50,000 บาท
กรณีเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ จำนวน 100,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) ไม่ว่าจะมีการรักษาพยาบาลหรือไม่
 

ความคุ้มครองกรณีอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี

กรณีผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายผิดเอง หรือไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่ประสบภัย ดังนี้ ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ขับขี่จะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้น กล่าวคือ หากบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 15,000 บาท หรือเสียชีวิตจะได้รับค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท หรือเสียชีวิตภายหลังรักษาพยาบาลจะรับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท


กรณีผู้ประสบภัยที่เป็นผู้โดยสาร / บุคคลภายนอกรถ จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายกรณีบาดไม่เกิน 50,000 บาทเจ็บ และกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพอย่างถาวร (ทั้งนี้ ผู้ขับขี่รถที่บริษัทรับประกันภัยไว้ต้องเป็นฝ่ายรับผิดตามกฎหมาย) 100,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา)

อย่างไรจึงจะได้รับความคุ้มครองในกรณีสูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพ

ผู้ประสบภัยจากรถที่ต้องสูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพอย่างถาวร ที่จะได้รับจำนวนเงินความคุ้มครอง 80,000 บาท ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้

1. ตาบอด
2. หนูหนวก
3. เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
4. สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
5. เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
6. จิตพิการอย่างติดตัว
7. ทุพพลภาพอย่างถาวร

การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย ผู้ประสบภัย / ทายาทต้องยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ความเสียหายเกิดขึ้น โดยยื่นคำร้องต่อบริษัทประกันภัย / บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ฯ หรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยกรณีไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยได้ พร้อมหลักฐาน ดังนี้

1. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาล / สถานพยาบาล
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้มีชื่อในบัตรเป็นผู้ประสบภัย
3. สำเนากรมธรรม์ประกันภัย หรือ เครื่องหมายที่แสดงว่ารถมีประกันภัย
4. สำเนาใบมรณะบัตร กรณีเสียชีวิต
5. สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ
6. สำเนาทะเบียน และสำเนาบัตรประจำตัวของทายาทกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยคืออะไร

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัย หรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัย หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น รถชนแล้วหนี เจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหาย ฯลฯ

การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ

ในการยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ ผู้ประสบภัย / ทายาท จะต้องยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยภายใน 180 วัน นับแต่วันเกิดเหตุ โดยสามารถยื่นคำร้องได้ที่

1.สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย กรมการประกันภัย
2.สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด
3.สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต

หวังว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์และได้รับความเดือดร้อน ผู้ประสบภัยคงจะเข้าใจถึงความสำคัญของ"กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ" และคงจะได้ทราบถึงวิธีการที่จะขอรับประโยชน์จากกองทุนดังกล่าวแล้วนะครับ

บทความโดย : คุณพิทยา  ที่มา : http://www.geocities.com/ruammitra/index.html




รวมบทความกฎหมายน่ารู้

การทวงหนี้
กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่
ไม้ตายจัดการเจ้าหนี้นอกระบบ
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์
ลิขสิทธิ์ Copyright Law
หมิ่นประมาท เหยียดหยาม
กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายแรงงาน
มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย
หมิ่นประมาท
กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้
ทำอย่างไร..เมื่อได้รับ "หมายศาล"
ความยินยอมของคู่สมรส
เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ผู้ต้องหามีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน
อายุความบัตรเครดิต 2 ปี หมายความว่าอย่างไร
เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 2)
หลักประกันตัวในคดีอาญา
ผู้ให้และผู้รับ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 1)
ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง