ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ถ้าวันนี้ ‘สรรพากร’ เข้าตรวจภาษีท่านจะรับมืออย่างไร

                                                                                          

                                                 ถ้าวันนี้ ‘สรรพากร’ เข้าตรวจภาษีท่านจะรับมืออย่างไร

                        

โดนตั้งคำถามแบบนี้ เป็นใครก็ต้อง “นะจังงัง” คือ งง จนตอบไม่ถูก!

เหมือนการตั้งคำถามตามภาษิตโบราณที่ว่า “ถ้าเจอ ‘แขก’ กับ ‘งู’ ท่านจะตีอะไรก่อน?”...ส่วนใหญ่ คงตอบว่าตี ‘แขก’ เป็นแน่แท้

แต่มีคำถามที่เด็ดกว่านั้นก็คือ “ถ้าท่านเจอ ‘งู’ ‘แขก’ และ ‘สรรพากร’ ท่านจะตีอะไรเอ่ย?”..... “!?!”

สรรพากรเมืองไทยเวลาไปที่ไหนๆ มักปลอดภัยไม่น่าเป็นห่วง จะว่าชาวบ้านรัก คงไม่ใช่แน่ แต่ก็ไม่ถึงกับเกลียด...ผิดกับสรรพากรของบางประเทศ เช่น Internal Revenue Services (IRS) ซึ่งหมายถึงกรมสรรพากรของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มักต้องระมัดระวังตัวแจ เพราะชาวบ้านที่นั่นทั้งเกรงและไม่ชอบเอามากๆ เข้าทำนอง “เอ็งอย่าเผลอ เชียวนะ...ฮึ่ม !”

              

ทำไมนะหรือ? ก็เพราะวิธีสืบสวนและตรวจสอบภาษีของอเมริกาสุดแสนจะโหด หิน (จนหินแกรนิตเรียก ‘พี่’ ก็แล้วกัน) พวก IRS จะรื้อดะและสืบแบบโยงใยจนกว่าจะได้ข้อยุติ และข้อมูลที่ตนพอใจ จึงจะปิดสำนวน

ตัวอย่าง Mr.X ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะหลีกเลี่ยงภาษี IRS จะดำเนินการสืบสวน ทั้งทางลับและทางแจ้ง โดยตรวจวิเคราะห์จากแบบแสดงรายการภาษีที่ยื่นไว้ ตรวจสอบจากบัญชีเงินฝากธนาคาร (bank statement) ไต่สวนผู้เกี่ยวข้องทางการค้า/การรับจ่ายเงิน บางกรณีอาจสืบกระทั่งจาก ‘ภรรยาลับ’ ซึ่งเคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับ Mr.X เพื่อหาเบาะแสการฟอกเงิน/รับจ่ายเงิน ผ่านบุคคลที่ 3 ฯลฯ เป็นต้น... Oh! my God... สำหรับบทลงโทษผู้หลีกเลี่ยงภาษีของที่นั่นก็สูงปรี๊ด สูงกว่าทางเมืองไทยเรามาก คือจะโดนทั้งโทษแพ่งและอาญาจนบักโกรก หลาบจำไปชั่ว ลูกหลานเลยทีเดียว !

โชคดีที่ ‘สรรพากร’ บ้านเรา ไม่ใจร้ายขนาดนั้น...เวลาไปไหนมาไหนพวก ‘สรรพากรไทย’ จึงยืดได้อย่างผึ่งผาย มิต้องใส่เสื้อเกราะ ห้อยแค่เหรียญ ‘หลวงพ่อคูณ’ องค์เดียวก็พอแล้ว! (จะเป็นรุ่น ‘กูให้มึงเหนียว’ หรือรุ่น ‘กูเบื่อวัดบ้านไร่’ ฯลฯ ก็ใช้ได้ทั้งนั้นแหละ)


1. มูลเหตุของการตรวจสอบภาษี

คำถามยอดฮิต ที่ผู้เสียภาษีมักถามไถ่อยู่เสมอก็คือ “ตูจะยื่นแบบอย่างไร จึงจะไม่ถูกสรรพากรเพ่งเล็งและหยิบยกขึ้นมาตรวจสอบภาษี?”

ก่อนอื่น คงต้องเล่าถึงที่มา (sources) ของการตรวจสอบภาษีซึ่งมีวิธีการเยอะแยะมากมาย ในที่นี้ขอยกมาฉายเป็นหนังตัวอย่างถึงแนวทางการคัดเลือกรายเพื่อทำการตรวจสอบภาษีสัก 3-4 กรณีพอสังเขป กรรมวิธีก็คล้ายๆ กับการคัดเลือกนางงามเพื่อเข้ารอบ 3 คนสุดท้ายนั่นแหละครับ เพราะในบรรดาผู้เข้าประกวดคือบุคคลธรรมดา (ร่วมล้านราย) และนิติบุคคลกว่า 3 - 400,000 ราย ที่ยื่นแบบนั้น จะมีผู้โชคดีที่ถูกเลือกมาทำการตรวจสอบเพียง น้อยนิด (เพราะกำลังเจ้าหน้าที่มีจำกัด)...ดังนั้น ผู้ที่ได้รับเทียบเชิญ (หมายเรียก) จะไม่ถือเป็นแจ็คพอตได้อย่างไร?... ตัวอย่างวิธีการคัดเลือกที่พอจะแจงได้โดยไม่เสียประโยชน์รัฐ ได้แก่

ก. ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยคัดเลือกออกมา
ข. ข้อมูลจากการสืบสวน/งานสำรวจของสรรพากรพื้นที่
ค. ยื่นขอคืนภาษี...ยิ่งในยุค ‘น้ำมันแพง’ สุดๆ ด้วยแล้ว ถ้าไม่เหนียวจริงๆ ขอเตือนว่า “อย่าเสี่ยงดีกว่า !”
ง. ตรวจสอบผู้ซื้อ-ผู้ขายใบกำกับภาษีปลอม...อันนี้ ผู้เขียนเห็นด้วย 2,000% เข้าทำนอง “ตบมือข้างเดียวย่อมไม่ดัง” หรือ “ถ้าไม่มีผู้ซื้อ (demand) ก็ย่อมไม่มีผู้ขาย”

ฯลฯ

ดังนั้น การจะไม่ถูกสรรพากรเพ่งเล็ง ก็คือต้องคำนวณรายได้ รายจ่าย อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แม้นว่าจะมีผลลัพธ์เป็นขาดทุน (จริงๆ) ก็ไม่มีปัญหาอะไร...แต่ถ้าจะให้ชัวร์ยิ่งขึ้น ก็ให้นำแบบแสดงรายการไปให้เกจิอาจารย์ที่นับถือเสกครอบด้วยมนต์ ‘เรือนมยุรา’ เพื่อให้คนคัดเลือกแบบงงงวย มองไม่เห็นแบบของเรา โอกาสหลุดรอดก็จะยิ่งมีเปอร์เซนต์สูงขึ้นมาอีก !

ผู้เขียนอยากจะเล่าประสบการณ์ ในการออกตรวจภาษีให้ท่านฟังเป็นอุทาหรณ์สักเรื่องหนึ่ง เหตุเกิด ณ ท้องที่กรุงเทพมหานครนี่แหละ เมื่อคณะตรวจปฏิบัติการภาษีมูลค่าเพิ่มชุดหนึ่งได้มีหนังสือนำตัวเพื่อออกตรวจนับสินค้าคงเหลือของบริษัท ABC ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายสีทาบ้านยี่ห้อดังหลายชนิด

อารามที่ตกใจ! หลังจากเชื้อเชิญคณะเจ้าหน้าที่นั่งรอในห้องรับแขก เถ้าแก่ของบริษัทก็รีบรุดออกมาปรึกษากับสมุห์บัญชีว่าจะรับมืออย่างไรดี? สมุห์บัญชีจึงแนะให้ขนสินค้าออกจากบริษัทให้มากที่สุด แล้วจึงค่อยไปเชื้อเชิญคณะเจ้าหน้าที่สรรพากรเข้าตรวจได้ ด้วยบริษัทสำคัญว่า “เมื่อไม่มีสินค้าให้ตรวจนับ ย่อมไม่พบความผิดอะไรเป็นแน่!?”

ผลจากตรวจครั้งนี้ ยุติลงในเวลาอันรวดเร็ว (9.00 - 11.00 น.) เพราะสินค้าที่ตรวจนับได้มีน้อยเต็มทีกระทั่งเวลา 11.05 น. หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ได้ประกาศผลการตรวจสอบพร้อมเงินรางวัลที่จะมอบให้บริษัท ABC ดังนี้...


จำนวนสินค้าตามรายงานสต็อก 1 ล้านชิ้น
หัก จำนวนสินค้าที่ตรวจนับได้ 100 ชิ้น
สินค้าขาดจากรายงาน 9.99 แสนชิ้น


บริษัทฯ ต้องรับผิดเสียภาษีขาย 7%* (จากมูลค่าสินค้าที่นับขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (ถือเป็น ‘ขาย’ ตามมาตรา 77/1 (8) (จ)) เบี้ยปรับ 2 เท่าของยอดภาษีขายดังกล่าว (มาตรา 89 (10)) และต้องโทษอาญา ตามมาตรา 90 (15) คือ ทำรายงานไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย VAT เพราะลงรายการสินค้าจริง ไม่ตรงกับบัญชี จึงต้องระวางโทษปรับอาญาไม่เกิน 2,000 บาท อีกกระทงหนึ่ง

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การแตกตื่น (panic) รังแต่จะนำมาซึ่งผลร้าย หามีประโยชน์อันใดไม่ สำหรับ กลยุทธ์ที่ดีในการรับมือเจ้าพนักงานนั้นท่านควรต้องปฏิบัติตามสโลแกน “ลดความตื่น กลืนจุดอ่อน ผ่อนปัญหา เยี่ยมเจรจา หาผู้รู้ ช่วยกู้ภัย”...แล้วท่านจะสามารถหลีกภัย (ภาษี) ได้แน่นอน !

3. ส่งท้าย

“ในโลกนี้ ไม่มีอะไรแน่นอนเท่ากับความตายและภาษี (...in this world, nothing is certain but death and taxes)”

ผู้ที่หลีกเลี่ยงภาษีได้ ก็คงมีแต่ผู้ที่ไม่มีเงินได้เท่านั้นแหละคุณเอ๋ย?

แต่อย่างไรก็ตาม เราทุกคนก็สามารถประหยัดภาษีได้อย่างถูกกฎหมายเช่นกัน ถ้ารู้วิธี วิธีที่ว่าก็คือ ‘การวางแผนภาษี (tax planning)’ นั่นเอง อาทิ ตามตัวอย่างในหัวข้อก่อน ถ้าบริษัททราบข้อกฎหมายว่า “หากมีสินค้า เกินจากรายงานสินค้าฯ ก็จะมีโทษถูกปรับอาญาเพียง 2,000 บาท ตามมาตรา 90 (14) เท่านั้น”...ก็คงไม่ต้องเสียเวลายกของหนีจนเหนื่อยล้า แถมยังต้องเจ็บช้ำใจอีกต่างหาก

มาถึงจุดนี้ ท่านผู้อ่านคงตระหนักแล้วว่าถ้าเราเป็นผู้ประกอบการที่สุจริตแล้วไซร้ ก็ไม่เห็นจะต้องกลัวอะไรกับการตรวจสอบภาษี และ ‘สรรพากร’ เลย ไม่ว่าเขาจะบุกมาวันนี้ พรุ่งนี้ หรือเมื่อใดก็ตาม...

   ข้อควรปฎิบัติ เมื่อกิจการถูกตรวจสอบภาษี

    5 ร : เมื่อถูกสรรพากร ตรวจสอบประเมินภาษี

  กลยุทธ์ 10 ประการ เมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษี

ที่มา : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์  Tax & Business Magazine




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี