ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50

 

                                                        10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50

 

            

 

ผู้ใดยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ไปแล้ว ไม่เคยถูกสรรพากรสะกิด นับว่าโชคดียิ่งกว่าถูกหวย ส่วนผู้ที่โชคไม่ดี มักจะถูกเทียบเชิญ (หมายเรียก) ให้ส่งบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบย้อนหลัง ซึ่งมักจะลงเอยด้วยการถูกประเมินภาษีเพิ่มเติม ไม่มากก็น้อย


บางคนอยู่ดีไม่ว่าดี ดันไปยื่นคำร้องขอคืนภาษี กลุ่มนี้เทียบได้กับการไปแงะอ้อยจากปากของช้าง… ผลลัพธ์จะเป็นเช่นไร ท่านผู้อ่านคงหลับตานึกภาพออกกระมัง!


จากสถิติของการตรวจสอบภาษีอากรพบว่า ไม่มีบริษัทใดในประเทศไทย ยื่นเสียภาษีอย่างถูกต้องบริสุทธิ์ผุดผ่อง โดยไม่มีข้อผิดพลาดเลย ไม่ว่าบริษัทนั้นจะมีขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ จนกระทั่งยักษ์ใหญ่ก็ตามที ทั้งนี้เพราะสาเหตุหลายประการ อาทิ ความซับซ้อนของตัวบทกฎหมาย และความไม่สมบูรณ์ของระบบบัญชีและเอกสารในระบบธุรกิจของบ้านเรา ทำให้กิจการที่ดีก็พลอยขาดเอกสารบางส่วนไปด้วย เป็นต้น


อีกเพียง 2 เดือนก็จะเป็นเส้นตายของการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพื่อชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกครั้งหนึ่ง ผู้เขียนจึงขอมอบคาถาสัก 10 ข้อพอสังเขปเพื่อเป็นอุทาหรณ์ และข้อควรระวังก่อนยื่นแบบ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ได้บ้างตามสมควร…

1. ให้กรอกแบบ ภ.ง.ด.50 ตามคำแนะนำท้ายแบบ

ข้อผิดพลาดที่ตรวจพบเนืองๆ มีหลายลักษณะ อาทิ กรอกรายได้ที่ต้องเสียภาษี กับรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีสลับช่องกัน จึงเป็นเหตุให้ถูกออกหมายเรียกก็มี บางรายไม่ใช้แบบติดสติ๊กเกอร์ที่สรรพากรส่งให้ แต่กลับกรอกชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีด้วยมือและผิดพลาด จึงถูกวิเคราะห์ว่ามิได้ยื่นแบบเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ค้นไม่พบ เป็นต้น

2. งบการเงิน (งบดุล งบกำไรขาดทุน) ควรเปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็น

บางรายแสดงรายละเอียดของรายการบัญชีมากเกินไป จึงเปิดช่องให้ถูกวิเคราะห์พบความผิดพลาดได้ง่าย วิธีที่ดีที่สุดคือเปิดเผยข้อมูลเพียงเท่าที่ ก.บช. กำหนดบังคับไว้… เข้าทำนอง “พูดน้อยผิดน้อย พูดมากก็ต้องผิดมากเป็นธรรมดา”

3. หมายเหตุประกอบงบการเงิน ไม่ควรมีการสารภาพบาป

ตัวอย่างของบริษัทรายหนึ่งเปิดเผยว่า ได้มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเพื่อซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่ โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยเริ่มแต่ปี 2537 เป็นเวลา 5 ปี… จากการตรวจสอบ ภ.ง.ด.54 ไม่ปรากฏว่าบริษัทได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 ในอัตรา 15% ของค่าดอกเบี้ยจ่าย แต่อย่างใด!

4. ให้พยายามหลีกเลี่ยง ‘การขอคืนภาษี’

ในบรรดาเหล่าผู้กล้าที่อาจหาญเข้าไปอุ้มลูกเสือ ล้วนเสียชีวิตภายในถ้ำมานับไม่ถ้วน...ดังนั้น ถ้าบัญชีของท่านไม่ดีและถูกต้องจริงๆ แล้วไซร้ ผู้เขียนขอเตือนว่า “อย่าดีกว่า!”

5. ไม่ควรยื่นแบบเพิ่มเติมบ่อยๆ

เพื่อนคนหนึ่งของผู้เขียนเป็นผู้สอบบัญชี จึงเป็นคนละเอียดละออได้แนะนำให้ลูกค้ารายหนึ่งยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติมเดือนละ 3-4 ฉบับอยู่เป็นนิจ ทั้งๆ ที่เป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กๆน้อยๆ (ขอคืนภาษีบ้าง ชำระเพิ่มเติมบ้าง) ก็เลยถูกสรรพากรเรียกตรวจปฏิบัติการภาษีมูลค่าเพิ่มบ่อยๆ และถูกประเมินภาษี จนแทบหมดกำลังใจทำการค้า! … เลยได้ข้อสรุปว่า การยื่นแบบถี่ๆ เช่นนี้ เสมือนมีนางกวักชั้นดีอยู่ในบ้าน (ไว้กวักเรียกสรรพากร) นั่นเอง!

6. อัตรากำไรขั้นต้นต่ำไปมักจะถูกเพ่งเล็ง

ในการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อคัดเลือกรายมาทำการออกหมายเรียกจุดหนึ่งที่ต้องพิจารณาเสมอคือ ‘อัตรากำไรขั้นต้น’ โดยจะเทียบเคียงกับอัตรากำไรปีก่อนๆ ของบริษัทเอง และ/หรือเทียบเคียงกับธุรกิจประเภทเดียวกัน

7. ‘เงินสด’ คงเหลือมากเกินไป บ่งว่าทำบัญชี 2 ชุด

ตามระบบการควบคุมภายใน (internal control) ที่ดี กิจการควรรับจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร โดยมี ‘เงินสดย่อย’ (petty cash) ไว้ใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ดังนั้น งบการเงินของบริษัทใดแสดงเงินสดคงเหลือในมือมากๆ จึงเป็นเครื่องชี้ว่าไม่สุจริต เว้นแต่บางกิจการที่ค้าขายด้วยเงินสด เช่น กิจการร้านอาหาร และร้านค้าปลีก เช่น 7-ELEVEN ฯลฯ ก็พอรับฟังได้

8. บัญชี ‘เจ้าหนี้เงินยืมกรรมการ’ บ่งว่าอาจหลบรายได้

แหล่งที่มาของเงิน (source of fund) ของบริษัทมี 3 แหล่งใหญ่ๆ คือได้มาจากการกู้ยืม การลงทุน/เพิ่มทุนของผู้ถือหุ้น และกำไร (รายได้ท่วมรายจ่าย)


หลายบริษัทรับเงินค่าขายสินค้า แต่ลงบัญชีเป็นเงินกู้ยืมจากกรรมการ บางรายแจ้งว่ากู้มา โดยมีเศษ ทศนิยมก็มี เช่น 310,401.33 บาท เป็นต้น ซึ่งเมื่อไต่สวนแล้ว ล้วนเป็นการแจ้งเท็จ จึงต้องถูกประเมินภาษีเพิ่มเติม 30% ของยอดเงินดังกล่าว พร้อมเบี้ยปรับ 1 เท่าและเงินเพิ่มอีก 1.5%

9. การแจ้งเลิก แจ้งย้าย ก็มักจะถูกตรวจสอบ

เป็นธรรมเนียมของสรรพากรมาแต่โบราณกาล กรณีมีผู้มาแจ้งขอเลิกกิจการหรือขอย้ายข้ามเขต ก็มักจะต้องถูกสรรพากรท้องที่เดิม ทำการตรวจสอบภาษี นัยว่าเป็นการเคลียบัญชีกันก่อนจะจาก แต่บางคนบอกว่าเป็นการเสียเงินเพื่อเซ่นเจ้าที่เจ้าทางเพื่อความเป็นศิริมงคล!

10. ประเด็นที่มีกฎหมายลูกต้องถูกตรวจสอบเสมอ

กรณีดังกล่าวได้แก่ ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน (พ.ร.ฎ. # 145) ค่ารับรอง (กฎกระทรวง # 143) หนี้สูญ (กฎกระทรวง #186) เป็นต้น เพราะหลักเกณฑ์ตามกฎหมายลูก จะแตกต่างจากหลักการบัญชี จึงมักปฏิบัติผิดพลาดกันอยู่เสมอๆ…เรียกว่าจิ้มไปตรงไหน ก็มักจะได้ภาษีเพิ่มเป็นนิจ

การเสียเวลาสอบทานข้อมูลเสียแต่ต้น ก่อนจะยื่นแบบ จะช่วยให้ท่านสบายใจได้ว่าอย่างน้อยก็ไม่มีข้อผิดพลาดใหญ่ๆ ให้ช้ำใจในภายหลัง…เพราะความช้ำใจจากความแตกแยกในสังคมทุกวันนี้ ก็หนักหนาสากรรจ์อยู่แล้ว อย่าให้ต้องช้ำซ้ำสองเพราะ ‘สรรพากร’ อีกเลย สาธุ!

บทความโดย : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์  Tax & Business Magazine




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี