ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ตัดหนี้สูญอย่างไรให้เป็นประโยชน์แก่กิจการ

 

          

 

   การดำเนินธุรกิจในภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว แม้ว่าลูกหนี้โดยส่วนใหญ่ยังจะชำระหนี้เมื่อถึงกำหนด หรือตามที่คาดหมายไว้ แต่ก็มีลูกหนี้บางรายที่ไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ และในทางปฎิบัติก็ไม่อาจจะระบุได้แน่ชัดว่าลูกหนี้รายใดจะไม่ชำระหนี้จนกว่าจะถึงกำหนดชำระหรือได้มีการทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว  ทำให้มูลค่าของลูกหนี้ที่จะแสดงในงบการเงินมีจำนวนสูงกว่าความเป็นจริง ดังนั้นจึงต้องมีการประมาณจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ขึ้นจำนวนหนึ่งกันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และถ้าหากลูกหนี้ใดที่ไม่สามารถเก็บเงินได้กิจการก็ต้องมีการกำหนดนโยบายบัญชีเกี่ยวกับการตัดบัญชีลูกหนี้ให้เป็นหนี้สูญ  ปัญหาที่เกิดขึ้นตามก็คือจะตัดหนี้สูญอย่างไรเพื่อให้กรมสรรพากรยอมรับ และให้กิจการได้รับผลประโยชน์ทางภาษีสูงสุด

   กฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ การจำหน่ายหนี้สูญคือ มาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้ว่า “การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์   วิธีการ  และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่ถ้าได้รับชำระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใดให้นำมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

 หนี้สูญรายใดได้นำมาคำนวณเป็นรายได้แล้ว หากได้รับชำระในภายหลังก็มิให้นำมาคำนวณเป็นรายได้อีก’’

  เงื่อนไขข้อนี้ เป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญที่จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล   โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)  และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้วางหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ไว้ดังนี้

1. หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

 (1)  ต้องเป็นหนี้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ  หรือหนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ  ทั้งนี้ ไม่รวมถึงหนี้ที่ผู้เป็น หรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้  ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ผู้นั้นเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ

    ตัวอย่าง

• บริษัท เอบีซี  จำกัด ได้จำหน่ายสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นเงินเชื่อ และเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระลูกค้าผิดนัดไม่ชำระ ดังนี้ค่าสินค้าที่ลูกค้าไม่ชำระ  บริษัทสามารถตัดเป็นหนี้สูญได้เนื่องจากเป็นหนี้ที่เกิดจากการประกอบกิจการ
• นายเหลือง เป็นกรรมการบริษัท เอบีซี จำกัด ได้ซื้อสินค้าจากบริษัทของตนเป็นเงินเชื่อ และเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระ  นายเหลืองไม่ชำระหนี้  ดังนี้หนี้ค่าสินค้า  บริษัทไม่สามารถจำหน่ายเป็นหนี้สูญได้  แม้ว่าหนี้ดังกล่าวจะเกิดจากการประกอบกิจการก็ตาม

 หากเป็นหนี้อย่างอื่นเช่น พนักงานเก็บเงินของบริษัทได้รับชำระค่าสินค้าจากลูกหนี้ของบริษัทแล้ว พนักงานยักยอกเอาเงินดังกล่าวไป กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นหนี้สูญเนื่องจากลูกหนี้ได้ชำระหนี้แล้ว บริษัทต้องถือเป็นผลเสียหายอันเนื่องจากกิจการ ซึ่งบริษัทสามารถถือเป็นรายจ่ายได้โดยต้องมีหลักฐานประกอบเช่น หลักฐานการดำเนินคดีและคำพิพากษาของศาล

 (2)  ต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความและมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องร้องลูกหนี้ได้

 หนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความ หมายถึง เป็นหนี้ที่ยังไม่ล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดว่าให้ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องบังคับได้ อายุความที่จะใช้ในการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมีอยู่หลายกรณี เช่นอายุความ 6 เดือนใช้สำหรับกรณีผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่า อายุความ 1 ปีใช้สำหรับผู้ซื้อฟ้องผู้ขายในกรณีที่ทรัพย์สินที่ขายชำรุดบกพร่อง  อายุความ 2 ปีใช้สำหรับสัญญาซื้อขาย  อายุความ 3 ปี ใช้สำหรับคดีฟ้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและผู้รับรองตั๋วแลกเงิน อายุความ 5 ปี ใช้สำหรับฟ้องเรียกหนี้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระ และอายุความ 10 ปีใช้สำหรับการฟ้องเรียกหนี้ที่กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เช่น การฟ้องเรียกหนี้เงินกู้

 หลักฐานโดยชัดแจ้ง ต้องเป็นสิ่งที่สามารถยืนยันได้ว่าลูกหนี้เป็นหนี้อยู่จริงและยังไม่ได้ชำระหนี้ เช่นใบรับสินค้าของลูกหนี้แต่ลูกหนี้ยังไม่ได้ชำระค่าสินค้า หรือเช็คของลูกหนี้ที่ธนาคารปฏิเสธการชำระเงิน

2. หลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญ มี 3 กรณี

2.1 ลูกหนี้ที่เป็นหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน  500,000 บาท

 ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน  500,000 บาท ขึ้นไป  ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้


 (1) ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี  โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้ง และไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า 

 (ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือ มีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้
 (ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

  กฎหมายกำหนดว่า “หนี้ของลูกหนี้แต่ละราย” หมายถึงจำนวนหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายเป็นหลัก แม้ว่าลูกหนี้คนเดียวกันเป็นหนี้เจ้าหนี้หลายจำนวนหรือหลายครั้งก็ตาม เช่น บริษัท ก. เป็นหนี้บริษัท ค.  จากการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ 3 ครั้ง โดยชำระเป็นเช็คจำนวน 3 ฉบับ ฉบับละ 200,000 บาท และเมื่อถึงกำหนดเวลาแล้วบริษัท ก. ไม่ชำระหนี้ กรณีดังกล่าวถือว่าบริษัท ค. มีลูกหนี้รายเดียวจำนวนหนี้ 600,000 บาท

 การจำหน่ายหนี้สูญตามข้อ 1 (ก) (ข)  เป็นกรณีไม่จำเป็นต้องฟ้องคดีต่อศาล แต่มีปัญหาว่าจะต้องเข้าทั้ง (ก) และ (ข) หรือไม่ ซึ่งถ้าพิจารณาจากหลักกฎหมายจะพบว่า  กฎหมายไม่ได้ใช้คำว่า “และ” ดังนั้นกรณีดังกล่าวเวลาพิจารณาจึงสามารถแยกออกจากกันได้   โดยกรณี (ก) ใช้สำหรับลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาเนื่องจากบุคคลธรรมดาเท่านั้นที่ตายหรือสาบสูญได้ และกรณี (ข) ใช้กับลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเนื่องจากบุคคลธรรมดาก็สามารถเลิกกิจการได้และนิติบุคคลจะมีเฉพาะการเลิกกิจการเท่านั้น    นอกจากนี้คำว่า “เป็นคนสาบสูญ” นั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 ส่วนคำว่า “มีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป”  แม้จะไม่มีคำสั่งศาลให้เป็นคนสาบสูญหากแต่มีหลักฐานเช่นลูกหนี้โดยสารไปกับเรือที่อับปางหรือเครื่องบินที่ตก และไม่มีใครพบลูกหนี้แม้แต่ซากศพลักษณะเช่นนี้ก็เข้าข่ายมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป
  
 (2) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง และในกรณีนั้น ๆ  ได้มีคำบังคับหรือคำสั่งของศาลแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้

    หลักฐานที่จะใช้ในการจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ในคดีแพ่ง   กรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่าจะต้องเป็นหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ดำเนินการบังคับคดีถึงที่สุดแล้วและลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้มาประกอบการตัดหนี้สูญ เช่นหนังสือยืนยันจากกรมบังคับคดี หรือสำเนาการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี (กค 0802/1241 ลงวันที่  21 มกราคม 2535) แต่ถ้าเป็นเพียงรายงานของเจ้าหนี้ในการติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้และคำบังคับของศาลที่ให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามคำพิพากษามาเป็นหลักฐานในการจำหน่ายหนี้สูญนั้นยังไม่เพียงพอในการจำหน่ายหนี้สูญตามกฎหมาย (กค 0802/18041 ลงวันที่ 15 กันยายน 2536)

 การจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ของลูกหนี้ในประเทศหรือต่างประเทศจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ดังนั้นเจ้าหนี้ไม่สามารถใช้คำพิพากษา คำบังคับ หรือคำสั่งของศาลต่างประเทศเป็นหลักฐานในการจำหน่ายหนี้สูญได้ (กค 0706/4678 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2547)   นอกจากนี้กรณีที่บริษัทมีการปลดหนี้ให้กับลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล  หนี้ที่บริษัทได้ปลดให้ลูกหนี้ไม่สามารถตัดเป็นหนี้สูญได้(กค 0706/12674 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2546)

 (3) ได้ดำเนินการฟ้องในคดีล้มละลาย หรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้ โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น  หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย  และได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว

  การประนอมหนี้ หมายถึง การที่ลูกหนี้ขอทำความตกลงกับเจ้าหนี้ หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โดยลูกหนี้จะชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้แต่เพียงบางส่วน 

  เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับประนอมหนี้ ผู้ฟ้องคดีล้มละลายหรือโจทก์ย่อมมีสิทธิจำหน่ายหนี้ที่นำมาฟ้องคดีล้มละลายออกจากบัญชีลูกหนี้ได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นได้  และกรณีที่เจ้าหนี้ไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองแต่มีเจ้าหนี้รายอื่นเป็นผู้ฟ้องและเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว รวมถึงกรณีที่ลูกหนี้ประนอมหนี้ไม่สำเร็จ ศาลก็จะมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายซึ่งหากเป็นในกรณีนี้จะต้องมีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกก่อนจึงจะจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งแรกได้  ดังนั้นเฉพาะส่วนของหนี้ที่ไม่ได้รับชำระเท่านั้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิจำหน่ายเป็นหนี้สูญได้

 หากเป็นกรณีที่มีลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกันถูกดำเนินคดีล้มละลาย การจำหน่ายหนี้สูญจะกระทำได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ร่วมทุกคนและผู้ค้ำประกันเป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งแรกของลูกหนี้ร่วมทุกคนรวมทั้งผู้ค้ำประกันด้วย (กค 0802/374 ลงวันที่ 7 มกราคม 2537)


 ตัวอย่าง 

• บริษัทได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ดังกล่าวถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละละลาย และได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นครั้งแรกไปแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้บริษัทจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่ต้องรออายุความ 10 ปี แต่อย่างใด  (กค.0802/12799 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2537)
 
2.2  ลูกหนี้ที่เป็นหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน  500,000 บาท

 ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน  500,000 บาท  ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้

 (1)  ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี  โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้ง และไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า 

   (ก)  ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือ มีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ได้
   (ข)  ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

 การจำหน่ายหนี้สูญตามข้อ 2.2 (1) จะมีหลักเกณฑ์เดียวกับการจำหน่ายหนี้สูญตามข้อ 2.1 (1)

 (2)  ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่ง และศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำขอนั้นแล้ว

 กฎหมายกำหนดเพียงแต่ให้ศาลมีคำสั่งรับฟ้องคดีที่เจ้าหนี้ฟ้องหรือยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้   เจ้าหนี้ก็สามารถจำหน่ายหนี้สูญได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น(รอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลรับฟ้องเท่านั้น) ได้เลยโดยไม่ต้องรอผลแห่งคดีว่าจะออกมาในรูปใด

 (3)  ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลาย และศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคำขอรับชำระหนี้นั้นแล้ว


 กฎหมายกำหนดให้สามารถจำหน่ายเป็นหนี้สูญได้ทันทีในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องในคดีล้มละลายหรือมีคำสั่งรับคำขอรับชำระหนี้ โดยไม่ต้องรอให้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งแรกแต่อย่างไร

 การจำหน่ายหนี้สูญตามกรณี 2.1 หรือ 2.2 กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องมีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้เป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

 2.3 ลูกหนี้ที่เป็นหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน  100,000 บาท

 การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนดังกล่าว ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาทให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2.1 หรือ ข้อ  2.2  ถ้าปรากฎว่าได้มีหลักฐานติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้ และหากจะฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ

 สำหรับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท การจำหน่ายหนี้สูญก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับการจำหน่ายหนี้สูญของบริษัทที่มีหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท

 ปัญหาในการจำหน่ายหนี้สูญในกรณีนี้ คือเรื่องหลักฐานการติดตามทวงถามหนี้ กับเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ กรมสรรพากรได้เคยตอบข้อหารือดังนี้ คือ ต้องมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามลูกหนี้ของทนายความและใบตอบรับของกรมไปรษณีย์โทรเลข และรายงานการติดตามและสืบทรัพย์ของลูกหนี้โดยมีผู้ใหญ่บ้านหรือเพื่อนบ้านข้างเคียงลงชื่อรับรอง ถือว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้และหากจะฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ (กค 0802/14905 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2537 และ (กค 0802/14906 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2537) และหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ยังไม่ได้รับชำระหนี้ และกรรมการบริษัทมีหลักฐานเชื่อถือได้จากทนายความหรือนักกฎหมายของบริษัทเห็นว่าหากฟ้องลูกหนี้จะเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ (กค 0811/14069 ลงวันที่ 23 กันยายน 2541) เช่นลูกหนี้อยู่ต่างจังหวัด มีการค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูง เช่นค่าส่งหมายเรียก ค่าสำเนาคำฟ้อง ค่าทนายความในการดำเนินคดีและค่าใช้จ่ายอื่นเกี่ยวกับการบังคับคดี  เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวครบถ้วนแล้วจึงจะจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้

 ตัวอย่าง

• บริษัทมีหนี้ของลูกหนี้ชาวต่างประเทศจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท บริษัทได้พยายามติดตามหาลูกหนี้แต่ไม่พบจึงไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจ และได้ตรวจสอบไปที่แผนกทะเบียนและสถิติกองตรวจคนเข้าเมืองปรากฎว่าลูกหนี้ได้เดินทางออกนอกประเทศแล้วเมื่อบริษัทมีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้บริษัทสามารถจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีของบริษัทได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องลูกหนี้ (กค.0802/05023 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2535)

 การจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กิจการจะต้องดำเนินการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญไว้ มิใช่ว่าพอลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ก็จำหน่ายหนี้สูญได้ทันที โดยกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้แบ่งแยกลักษณะของลูกหนี้ที่จะตัดจำหน่ายออกจากบัญชีลูกหนี้อยู่ 3 กรณีด้วยกันซึ่งแต่ละกรณีก็จะมีข้อกำหนดของกฎหมายที่แตกต่างกันไป หากกิจการปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดก็จะส่งผลให้กิจการต้องมีการปรับปรุงกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรเสียใหม่นั่นหมายถึงกิจการอาจจะต้องเสียภาษีอากรหรือเงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น

บทความโดย : อาจารย์กิตติชัย ถาวรธรรมฤทธิ์ ภาควิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยสยาม




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี